โรคดึงผม ลูกชอบดึงผมตัวเอง สะท้อนผลกระทบที่สั่งสมมาจากจิตใจ

โรค

พฤติกรรมแปลก ๆ ที่คนเราแสดงออกนั้นส่วนใหญ่แล้วมีผลมาจากจิตใจ “การดึงผม” ก็เช่นกัน การดึงผมสามารถเกิดได้แบบทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ดูเผิน ๆ อาจเป็นพฤติกรรมที่ปกติ แต่ความจริงแล้วสิ่งนื้คือความผิดปกติที่เรียกว่า “โรคดึงผม” ห๊ะ…เรียกว่าเป็นโรคเลยหรอ จะใช่หรือจะมั่ว วันนี้แม่โน้ตมีข้อมูลจากคุณหมอมาฝากค่ะ

โรคดึงผม (Trichotillomania) คืออะไร?

โรคดึงผม หรือ Trichotillomania เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมักจะมีพฤติกรรมถอนผมหรือขนของตัวเองแบบซ้ำ ๆ จนทำให้ผมแหว่งหรือหัวล้านเป็นหย่อม ๆ โรคนี้มักพบได้ในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย เพียงแต่การดึงผมนี้ไม่ได้หมายความว่านั่งดึงทั้งวันนะคะ เพียงแต่ว่างเมื่อไหร่ก็จะดึง ทั้งที่แบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำเป็นพัก ๆ แต่ทำเรื่อย ๆ

ลักษณะการดึงผม

ลักษณะการดึงผม แบ่งออกได้เป็น 2 ข้อ

ดึงผมโดยไม่รู้ตัว

กรณีนี้จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ แบบไม่ได้ตั้งใจ แต่เรียกว่าถ้ามือว่างเมื่อไหร่ เผลอ ๆ ก็จะดึงทุกที

ดึงขณะที่รู้ตัว

สำหรับกรณีนี้คือ ผู้ป่วยตั้งใจดึงแบบเอาจริงเอาจัง ใจจดใจจ่อกับการดึงผมตัวเองเป็นอย่างมาก ซึ่งขณะที่ดึงนั้นก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีความสุข ผ่อนคลาย เพลิดเพลิน และหายเครียด

โรคดึงผมในเด็ก

โรคดึงผมสามารถเกิดได้ทั้งกับผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งถ้าผู้ใหญ่ หากดึงผมตัวเองจนกระทั่งหัวล้านเป็นหย่อม ๆ จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจเกิดอาการซึมเศร้าหรืออาการหัวล้านส่งผลให้ผู้ป่วยเครียดกว่าเดิม

โรคดึงผมในเด็กมักพบมากในวัยที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น หรือช่วงวัยรุ่น ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการนี้ก็จะยังเป็นอยู่ต่อไป ก็จะดึงผมตัวเองอยู่เรื่อย ๆ ทั้งนี้จากการตรวจสอบ โรคดึงผมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ข้อ คือ ความเครียด ความวิตกกังวล รวมไปถึงช่วงที่มีประจำเดือน เป็นต้น
นอกจากนี้ สมาคมจิตแพทย์ ได้ระบุว่า พฤติกรรมที่เด็กดึงผมของตัวเองนั้น ถือเป็นพฤติกรรมที่มีปัญหาด้านอารมณ์แอบแฝงอยู่ เด็กที่มีอาการหรือพฤติกรรมเช่นนี้ โดยมากแล้วจะเป็นเด็กที่…

  • พูดน้อย ไม่ค่อยพูด
  • มีความอดทน
  • ไม่ค่อยแสดงออกเท่าไหร่
  • แก้ปัญหาเองไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา

และอีกหนึ่งส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจหรือเป็นบ่อเกิดในการเกิดโรคดึงผมเลยก็คือ “ความเครียด และความวิตกกังวลใจที่มีอยู่ในจิตใจของลูก” ข้อนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุให้เจอโดยเร็ว พร้อมกับควรยอมรับในการเลี้ยงดูของเรานะคะ ทบทวนดูว่าที่ผ่านมาเราได้กดดันอะไรลูกไปหรือเปล่า ไม่ได้ให้ลูกมีส่วนร่วมหรือตัดสินใจอะไรหรือเปล่า (เอาเรื่องเล็กที่เป็นเรื่องของเขาเองก็ได้ค่ะ) ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นอะไรหรือไม่ และอีกหลาย ๆ เรื่อง ลองค่อย ๆ ทบทวนกันดูนะคะ เพราะยิ่งคุณพ่อคุณแม่รู้สาเหตุได้เร็ว ก็จะแก้ไขได้เร็ว และลูกก็จะกลับมาเป็นเด็กที่ร่าเริงสดใสอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการให้เป็นค่ะ

วิธีปรับพฤติกรรมลูกชอบดึงผม

พฤติกรรมลูกชอบดึงผม สามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ดังนี้

  • ชวนลูกทำกิจกรรมค่ะ เช่น วาดภาพระบายสี เล่นน้ำในอ่างยางที่บ้าน ทำสวน ปลูกต้นไม้ ฯลฯ
  • ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว ชวนลูกเล่นเกมหรือของเล่น หรือจะออกไปเดินห้างใกล้ ๆ บ้านก็ได้ค่ะ
  • ชักชวนลูกให้พูดคุยกัน และเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟัง และให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ
  • พยายามเลี้ยงลูกเชิงบวก สะท้อนพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ด้วยการที่ไม่ดุด่า ตำหนิ หรือว่ากล่าวลูก หากลูกกระทำผิด ควรอธิบายให้ลูกฟังว่าที่ทำผิดคือจุดไหน และควรทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่เสมอนะคะ ว่าเขามีพฤติกรรมที่ดึงผมหรือไม่ ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าลูกมีอาการมาก แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำทันทีนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง อ.พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP