โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคที่คุณแม่จะต้องทำความรู้จักไว้ เพื่อเป็นความรู้ และสร้างความเข้าใจในโรคนี้ เพื่อการเตรียมตัวป้องกันและรับมือได้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้โรคนี้ยังถือว่าเป็นโรคติดต่อได้อีกด้วย ลักษณะจะคล้ายคลึงกับโรคมือเท้าปาก เนื่องจากว่าทั้งสองโรคนี้ เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันนั่นเอง วันนี้เรามาดูกันค่ะว่าโรคเฮอร์แปงไจน่า คืออะไร? จะมีอาการอะไรที่บ่งชี้และมีอาการที่แตกต่างจากโรคอื่น ๆ อย่างไรบ้าง?
สารบัญ
สาเหตุโรคเฮอร์แปงไจน่า
จากที่กล่าวข้างต้น ว่าโรคนี้มีเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับโรคมือเท้าปาก นั่นก็คือกลุ่มไวรัสที่มีชื่อว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus Infection) โดยจะถูกแบ่งแยกออกเป็น เชื้อไวรัสอย่าง เอนเทอโรไวรัส 71 ไวรัสคอกซากี และ ไวรัสกลุ่ม A ที่มักจะเป็นไวรัสที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วย ซึ่งเป็นโรคไวรัสที่สามารถพบได้บ่อยอีกด้วย
เนื่องจากว่าโรคนี้ สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้จากทางอากาศ ผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือทางน้ำ และพาหะที่สามารถนำโรคนี้มาสู่คนได้ นั่นก็คือ ของเล่น ผ้าขนหนู รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ คุณแม่จึงควรระมัดระวังสิ่งของเครื่องใช้ของเด็กในความดูแลเป็นพิเศษ ยิ่งเด็กในวัยที่ต้องเข้าเรียน พบปะผู้คนเป็นจำนวนมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
อาการ โรคเฮอร์แปงไจน่า
อาการของโรคมักจะแสดงออกหลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อภายในสองวัน โดยมักจะแสดงอาการ ดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน โดยมีอุณหภูมิของร่างกายระหว่าง 5-40 องศาสเซลเซียส
- มีอาการปวดท้อง ปวดหัว และปวดบริเวณลำคอ
- ต่อมน้ำเหลืองในคอมีอาการบวมโต
- มีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย ทานได้น้อย เนื่องจากอาการเจ็บคอในขณะกลืนอาหาร
- สำหรับเด็กทารก มักจะพบเจออาการน้ำลายไหลยืด (เนื่องจากเจ็บคอ) รวมถึงอาเจียน
- มีตุ่มแดงบริเวณลำคอ แผลเปื่อยที่มีลักษณะของขอบสีแดง และมีความเจ็บปวดร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรคของแพทย์
หากลูกมีความเสี่ยง คุณแม่สามารถสังเกตอาการต่าง ๆ ได้ หากเข้าพบแพทย์ จะมีการวินิจฉัยเบื้องต้น โดยการสอบถามอาการที่เกี่ยวข้อง การตรวจลำคอและเพดานปาก หากสามารถสังเกตลักษณะของแผลที่มีความเสี่ยงได้ แพทย์จะใช้วิธีในการตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ ที่แม่นยำเพิ่มเติมด้วย ได้แก่
- การตรวจเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกัน
- การตรวจหาเชื้อจากตัวอย่างของเหลว บริเวณโพรงจมูก
- การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ
แนวทางการรักษาโรคเฮอร์แปงไจน่า
การรักษาโรคจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ เพราะโดยปกติแล้วหากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อจากไวรัสเหล่านี้ จะสามารถหายได้เองภายใน 7 วัน เนื่องจากร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันเข้ามาต่อสู้กับเชื้อไวรัสเหล่านี้ ดังนั้น คุณแม่สามารถสบายใจได้ว่าโรคนี้จะไม่ทำอันตรายจนถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยได้
สำหรับการรักษาเบื้องต้น
แพทย์จะมีการแนะนำด้วยกัน 2 ขั้นตอน โดยแบ่งเป็น
การรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น
สำหรับผู้ที่มีอาการไม่มาก หรือสำหรับเด็กที่ไม่สามารถทานยาตามแพทย์สั่งได้ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และต้องเน้นเป็นน้ำเย็นเป็นหลัก เนื่องจากโรคนี้มีอาการไข้สูงร่วมด้วย การดื่มน้ำเย็น จะช่วยทดแทนของเหลวภายในร่างกาย และต้องหลีกเลี่ยงน้ำร้อนด้วยเช่นเดียวกัน
การรักษาด้วยยา
การใช้ยาเพื่อรักษา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกทานยาพาราเซตามอล สำหรับบรรเทาอาการไข้ อาการปวดต่าง ๆ และจะมีการจ่ายยารักษาเฉพาะทาง สำหรับการรักษาแผลบริเวณช่องปากและลำคอร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเฮอร์แปงไจน่า
แม้ว่าโรคนี้ดุจะไม่ค่อยมีความอันตรายมากนัก แต่ก็ยังพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ จึงเป็นภาวะที่คุณแม่ต้องพึงระวังสำหรับวัยเด็ก แม้ว่าจะพบได้น้อยก็ตาม โดยภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ จะได้แก่ โรคเยื่ออหุ้มสมองอักเสบ เกิดขึ้นได้จากการที่เด็กมีการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรคอย่างรุนแรง
การป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า
จากข้อมูลที่เราได้แนะนำไปนั้น ตัวเชื้อโรคเองสามารถแพร่กระจายได้ ดังนั้น คุณแม่จะต้องป้องกันตามวิธีการเหล่านี้ในเบื้องต้น เพื่อเป็นการปกป้องเด็กในความดูแลให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสเหล่านี้ ได้แก่
- หมั่นดูแลเรื่องความสะอาดของเด็ก ด้วยการสอนให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
- ดูแลความสะอาด ข้าวของเครื่องใช้ ของเล่น ของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนู ผ้าอ้อม ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการสัมผัสของเหลวของเด็กที่มีอาการติดเชื้อด้วย
- ไม่ควรพาเด็กเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัด ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อจำเป็นต้องพาเด็กไปพบปะผู้คน
เมื่อทำความรู้จักกับโรคเฮอร์แปงไจน่าแล้ว มันจะทำให้คุณแม่สามารถรับมือกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากโรคนี้ มีอาการบ่งชี้ที่ค่อนข้างชัดเจน จึงไม่ต้องกังวลไปว่าจะเกิดอาการร้ายแรงขึ้นกับเด็ก แต่หากไม่แน่ใจ การพาเด็กเข้าพบแพทย์ ก็จะช่วยยืนยันผลและวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่มียาในการต้านเชื้อไวรัสก็ตาม แต่ก็ยังไม่พบรายงานการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรแต่อย่างใด