ลูกเป็นหวัดบ่อย เสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรค

โรคหูติดเชื้อ หรือ โรคหูอักเสบในเด็ก” ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นโรคไกลตัวนะคะ แต่จริงๆ แล้ว โรคนี้ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด เพราะลูกของผู้เขียนก็เคยเป็นมาแล้วครั้งนึง วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำเรื่องราวเกี่ยวกับโรคนี้มาฝาก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เฝ้าระวังกันค่ะ

ทำไมลูกเป็นหวัดบ่อย

ไม่ใช่หวัด แต่เป็นภูมิแพ้

เพราะอาการหวัดกับอาการภูมิแพ้จะคล้ายกัน เช่น มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล ทำให้คุณแม่เข้าผิดว่าลูกเป็นหวัดบ่อย แต่ความจริงคือ ลูกเป็นภูมิแพ้ ซึ่งอาจเกิดได้จากสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ฝุ่นละออง เกสร ควัน หรือมลพิษต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคไซนัสอักเสบ หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบได้

กรรมพันธุ์

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ หากร่างกายของคุณพ่อคุณแม่แข็งแรง ลูกก็จะแข็งแรงด้วย แต่หากคนใดคนหนึ่งเป็นภูมิแพ้ ลูกก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับการถ่ายทอดมาได้เช่นกัน

ผ่าคลอด ลูกจะไม่แข็งแรง

เพราะการผ่าคลอดจะทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากช่องคลอดของคุณแม่ในระหว่างการคลอด เนื่องจากระหว่างการคลอดทารกจะกลืนเอาเมือกบริเวณช่องคลอดซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอด ทารกก็จะได้รับเชื้อดี ๆ เข้าสู่ร่างกาย

ปัจจุบันแม่ ๆ ไม่นิยมคลอดธรรมชาติ แต่ผ่าคลอดกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ลูกไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากช่องคลอดของแม่ในระหว่างที่คลอดออกมา เพราะระหว่างคลอดทารกจะกลืนเมือกจากช่องคลอดซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอด ก็จะทำให้ลูกน้อยได้รับเชื้อดี ๆ เข้าไปในร่างกาย มีผลต่อภูมิคุ้มกันของลูก ทำให้ทารกมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย
ข้อมูลอ้างอิง gedgoodlife.com

ติดจากเด็กคนอื่น เมื่อถึงวัยเข้าเรียน

โดยเฉพาะในช่วงแรกของระดับชั้นอนุบาล จะป่วยบ่อยหน่อย เพราะภูมิคุ้มกันของเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย

ต้องเป็นหวัดบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

เมื่อลูกเริ่มเข้าเรียนโดยเฉพาะในระดับชั้นอนุบาล การป่วยหรือการเป็นหวัดเฉลี่ยอยู่ที่ 8 – 10 ครั้งต่อปี และจะป่วยน้อยลงเมื่อโตขึ้น

จากผลการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เด็กที่เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาลมักจะเป็นหวัดเฉลี่ย 8-10 ครั้งต่อปี ซึ่งความถี่ของการเป็นหวัดนี้จะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเด็กโตขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง synphaet.co.th

จากการเก็บสถิติ

ก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บสถิติในเด็กที่มีอาการป่วยเป็นโรคหูติดเชื้อ หรือ โรคหูอักเสบในเด็ก พบว่า

“3 ใน 4 ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบหรือเทียบเท่า ต้องเคยมีอาการหูติดเชื้อมาอย่างน้อย 1 ครั้ง”

ด้วยเหตุผลที่ว่า…

  • ท่อในหูของเด็กเล็กสั้นกว่าเด็กโตหรือของผู้ใหญ่
  • ภูมิคุ้มกันของเด็กเล็กจะลดน้อยลงเมื่ออยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น ทำให้เชื้อโรคที่มีอยู่ตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย อาทิ ห้างสรรพสินค้า หรือ โรงเรียน เป็นต้น
  • เกิดจากเด็กเล็กมีอาการภูมิแพ้

สาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

  1. โรคนี้มักจะเกิดกับเด็กเล็กที่เป็นหวัด เจ็บคอ และมีอาการของไซนัสอักเสบ
  2. มีของเหลวขังอยู่รอบเยื่อแก้วหู ทำให้หูชั้นกลางเกิดการบวมหรืออักเสบ ซึ่งของเหลวที่ว่านี้คือ เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในหู
  3. แบคทีเรียนี้จะเดินทางจากมือเข้าสู่หูก็ด้วยการสัมผัส หรือทางปาก
  4. ต่อมอะดินอยด์ ซึ่งมีเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางปากก่อนจะมาถึงหูชั้นในอ่อนแอ จึงทำให้หูติดเชื้อได้ง่าย

อาการของโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

ในเด็กเล็กที่มีอาการรุนแรง จะแสดงออกทันทีเมื่อเค้าเจ็บหู ให้คุณแม่ลองสังเกตอาการของลูกดูนะคะ ว่าเข้าข่ายตามนี้หรือไม่ ทั้งนี้ อาการดังกล่าวจะไม่ได้เกิดเป็นลำดับนะคะ บางข้อลูกอาจมี หรือไม่มีก็ได้ค่ะ

  • ทานข้าวได้น้อย เพราะเวลาเคี้ยวลูกจะเจ็บหู
  • เอียงหัวไปข้างหนึ่ง
  • เอามือป้องหูเพื่อบรรเทาความเจ็บ
  • นอนไม่หลับ
  • งอแง ร้องไห้บ่อย
  • มีไข้
  • มีของเหลวไหลออกมาจากหู
  • ไม่ได้ยินเสียง หรือได้ยินไม่ค่อยชัดเจน

การรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

สำหรับการรักษาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ติดเชื้อขั้นเบา และ ติดเชื้อขั้นรุนแรง ไปดูกันทีละข้อเลยค่ะ

ติดเชื้อขั้นเบา

ขั้นนี้หมายถึง ยังไม่มีน้ำไหลออกมาจากหู ไม่มีไข้ ไม่ได้ร้องไห้งอแงตลอดเวลา หรือเพิ่งเป็นไม่กี่วัน แล้วคุณแม่พบเร็ว
หากเป็นขั้นนี้สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาแก้ปวด และโปะถุงน้ำร้อนหรือผ้าอุ่นๆ หรืออาจใช้ยาหยอดหูควบคู่กันไปได้ค่ะ

ติดเชื้อขั้นรุนแรง

หมายถึง กว่าจะพบอาการก็เป็นมากกว่า 2 วัน คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งคุณหมออาจสั่งยาฆ่าเชื้อให้ ซึ่งจำเป็นต้องทานให้หมดตามที่คุณหมอสั่ง ไม่อย่างนั้นลูกอาจกลับมาเป็นได้อีก ซึ่งอาจรุนแรงกว่าเดิม

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

ในเด็กเล็กเวลาที่ไม่สบายบ่อย ๆ ก็มักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้กันได้ แต่เรามีวิธีป้องกัน ดังนี้ค่ะ

  1. ให้ลูกอยู่ห่างไกลจากควันบุหรี่ ซึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาเป็นระยะว่า เด็กที่ได้รับควันบุหรี่เป็นประจำมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหูติดเชื้อมากกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการสูบบุหรี่และการรมควันบุหรี่ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย
  2. ให้ลูกหลีกเลี่ยงเด็กที่เป็นหวัดหรือเป็นไซนัสอักเสบ ถึงแม้ว่าไซนัสอักเสบจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่การเป็นหวัดในเด็กเล็กนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสน้ำมูก หรือละอองน้ำลายจากการไอ หรือจาม แล้วไปจับของเล่นที่เล่นร่วมกับเด็กอื่นๆ ต่อ
  3. พาลูกไปฉีดยาป้องกันโรคต่าง ๆ ตามที่คุณหมอนัด เพราะการป่วยน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อลูกมากเท่านั้นที่สำคัญโอกาสในการที่จะเป็นหูติดเชื้อก็น้อยลงด้วย
  4. สอนลูกให้หมั่นล้างมืออยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคติดมือและเข้าสู่ร่างกายทางปาก ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างด้วยนะคะ
  5. พยายามสอนลูกและเตือนลูกเสมอว่าไม่เอาของเล่นหรือของตกพื้นเข้าปาก แรกๆ เค้าอาจจะยังไม่ได้ทำตามเราทันที แต่อย่างน้อย เราก็ต้องสร้างความคุ้นเคยและบอกให้เค้ารู้ว่า การเอาของเล่นหรือเอาของตกพื้นเข้าปากนั้น จะทำให้เค้าไม่สบาย

แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเล็กอายุยังไม่ถึง 3 ขวบ หรือต่ำกว่า3 ขวบ ยังไม่ค่อยมีความระมัดระวังในเรื่องการรักษาความสะอาดหรือการหลีกเลี่ยงละอองน้ำลายจากคนที่เป็นหวัดซักเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ สอนให้เค้ารักษาความสะอาด ทำบ่อย ๆ ให้เค้าเห็น สอนเค้าให้ทำ และให้ความรู้กับเค้าเรื่องสาเหตุของการเป็นหวัด และโรคหูติดเชื้อ ที่สำคัญ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกเวลาที่เค้าไม่สบาย จะได้รักษาได้อย่างรวดเร็วและถูกทางค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP