หจิงหรือไม่? ลูกน้อยท้องเสีย เพราะยืดตัว

โรค
JESSIE MUM

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเจอปัญหา เวลาที่ลูกน้อยท้องเสีย หรือถ่ายเหลวบ่อยครั้ง แล้วมีคนเฒ่าคนแก่ในบ้านพูดกันว่า ไม่ต้องกังวลไป “เด็กท้องเสีย เพราะกำลังยืดตัว” และด้วยคำพูดแต่โบราณที่ที่พูดต่อๆ กันมา ทำให้คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ เกิดความเคลือบแคลงใจ จนอาจทำให้รู้สึกสับสน ว่าการที่ลูกท้องเสียนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ เพราะยืดตัวจริงหรือไม่ สำหรับเรื่องนี้ เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ

ถ่ายแบบไหนถึงเรียกว่าท้องเสีย

การสังเกตว่าลูกท้องเสียหรือไม่นั้น ให้ดูว่าเจ้าหนูถ่ายอุจาระเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกเลือดปนหรือไม่ เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้น แสดงว่าเด็กมีอาการท้องเสีย และบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาเจียน แต่ถ้าหากมีการถ่ายเหลวเพียงครั้งเดียว คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งกังวลมากไปค่ะ

ลูกท้องเสียเพราะยืดตัวจริงหรือไม่

การที่เด็กทารกท้องเสีย แล้วมองว่านั่นคือการยืดตัว นั่นหมายถึง ผู้ใหญ่มีความเข้าใจว่า เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กวัยนี้ที่กำลังเปลี่ยนแปลงพัฒนาการ แล้วสามารถหายได้เอง หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการบอกคุณแม่ว่าอย่ากังวลมากไป เดี๋ยวลูกจะหายเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นเด็กวัยขวบปีแรกจะมีพัฒนาการต่างๆ ไปอย่างรวดเร็ว เช่น จากนอนหงาย ไปนอนคว่ำ นั่ง คลาน ยืน เดิน ซึ่งพัฒนาการเหล่านั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องท้องเสียเลย ดังนั้น ความเชื่อดังกล่าว จึงอาจสรุปได้ว่า ไม่เป็นความจริง

สาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กท้องเสีย

ในเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 1 ปี ที่มีอาการท้องเสีย ส่วนใหญ่พบจากได้จากการที่มีเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเข้าไปทางปาก จากการกินอาหารหรือดื่มนมที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือการหยิบจับของเล่นเข้าปาก หรือแม้กระทั่งเวลาคลาน เวลาเล่น มือเด็กไปโดนสิ่งสกปรกแล้วเอามาหยิบของเข้าปาก ก็เป็นสาเหตุแห่งการท้องเสียได้ทั้งนั้น โรคนี้จึงเป็นปัญหากับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กๆ ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จึงมีโอกาสได้รับเชื้อโรคมากกว่า อีกทั้งยังมีภูมิต้านทานต่ำกว่าผู้ใหญ่

การดูแลรักษาเมื่อพบว่าลูกน้อยท้องเสีย

เมื่อลูกท้องเสีย พ่อแม่สามารถดูแลอาการได้เบื้องต้นคือ การทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว ในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โดยผสม 1 ซอง ต่อน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว หรือถ้าหากไม่มีผงเกลือแร่สำเร็จรูป คุณแม่อาจทำได้เอง โดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา น้ำสะอาด 3 แก้ว ในเด็กเล็กให้ตักป้อนทีละน้อย แต่บ่อยๆ ส่วนในเด็กโต ให้จิบบ่อยๆ ทีละน้อย เด็กทีเริ่มกินข้าวได้แล้ว อาจจะให้เพิ่มอีกหนึ่งมื้อ เป็นอาหารอ่อนๆ เช่น น้ำซุป โจ๊ก ข้าวต้ม

อาหารควรเลี่ยง และการให้นมเมื่อลุกท้องเสีย

หากเด็กมีอาการท้องเสียจากการแพ้อาหารหรือนม ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารนั้น และถ้าจำเป็นแพทย์อาจแนะนำเปลี่ยนนมให้เด็ก ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ จำพวกที่มีรสเปรี้ยว รสเผ็ด และอาหารมันๆ ส่วนคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว สามารถให้นมต่อไปได้ แต่ควรให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นกว่าเดิม ในรายที่เป็นมาก เช่น มีอุจาระเป็นฟอง ผายลมบ่อย ท้องอืด อาจแก้ไขโดยการให้คุณแม่บีบน้ำนมที่กำลังคัดออกไปสัก 20-30 มิลลิลิตร และให้ลูกดูดนมในส่วนหลัง เพราะจะมีไขมันมากกว่านมแม่ในส่วนต้น ทำให้เด็กอิ่มนาน ไม่หิวง่าย ไม่ต้องดูนมบ่อย และระยะเวลาที่ให้นมผ่านจากกระเพาะอาหารลงไปที่ลำไส้ช้าลง ช่วยลดการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เด็กหลับนาน และการถ่ายจะห่างขึ้น

เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที

  1. ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด
  2. อุจจาระมีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว
  3. อุจาระมีกลิ่นเหม็นเน่าเหม็นคาว
  4. มีการไข้สูงหรือชักร่วมด้วย
  5. อาเจียนบ่อย
  6. ท้องอืด
  7. หอบลึก
  8. ไม่ยอมดื่มหรือกินอาหารทุกชนิด รวมทั้งสารละล่ยเกลือแร่
  9. ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย หรือมากกว่า 10 ครั้ง ต่อวัน
  10. เด็กมีอาการเพลีย ซึม แม้ว่าจะดื่มเกลือแร่แล้ว

หากลูกน้อยของคุณมีการการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไปค่ะ ซึ่งจะเห็นแล้วว่า การท้องเสียของเด็กนั้น ไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะนิ่งนอนใจได้เลย หากแต่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยว่า อาการท้องเสียนั้น เกิดจากพฤติกรรม หรืออาหารชนิดใด และแก้ไขให้ถูกจุด ไม่ควรปล่อยให้ลูกท้องเสียบ่อยๆ นะคะ

ที่มา: www.mamaexpert.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP