เข้าใจลูกอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่คำพูดของลูก

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ หลายคนทราบกันดีว่า บางครอบครัวเลี้ยงลูกเอง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นคนเลี้ยงลูกเองก็จะได้คลุกคลีอยู่กับลูกตลอดทั้งวัน เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็จะคิดว่า “เราเข้าใจลูกดี แค่อ้าปากก็รู้แล้วว่าต้องการอะไร” แต่…ความจริงแล้ว สิ่งนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดก็ได้นะคะ ยกตัวอย่าง
ในเย็นวันหนึ่งโน้ตกินข้าวน้อย เพราะว่ายังไม่หิวเท่าไหร่ พอตกตอนกลางคืนก่อนนอน ดันหิวมือสั่น

แม่โน้ต

หม่ะม้าหิวมือสั่นเลย กินขนมซักชิ้นดีกว่า

(โน้ตเดินหยิบไปชิ้นหนึ่ง แล้วกลับไปนั่งเพื่อเตรียมกิน)

น้องมิน

เอาอีกชิ้นได้ไหม?

(เดินมาหยิบอีกชิ้นหนึ่ง แต่เขาเพิ่งกินนมอิ่มไป เราก็คิดว่าเขาจะกินแล้วกลัวจะอิ่มเกิน)

แม่โน้ต

หนูจะกินด้วยหรือลูก

น้องมิน

หนูเอามาให้หม่ะม้า

(พร้อมกับยื่นขนมในมือให้)

แม่โน้ต

“………….”

น้องมิน

หนูกลัวหม่ะม้าไม่อิ่ม หม่ะม้ากินน้ำตามเยอะ ๆ ด้วยนะ เดี๋ยวฟันผุ

เด็กที่ยังอยู่ในวัยปฐมวัยคิดได้ขนาดนี้เลยหรือ? รู้สึกว่าลูกเราขึ้นเยอะเลย จากเดิมเราคิดว่าเขาจะกินตามเรา แต่ผิดถนัด

ผู้ใหญ่คิดอะไรอยู่

เพราะจากประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกที่คุณพ่อคุณแม่มีมาก่อนหน้านี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่เคยชินกับ “การคาดเดาเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น” หรือไม่ก็ “ตัดสินจากประสบการณ์ที่ผ่านมา” และคุณพ่อคุณแม่ก็จะ “สรุปทุกอย่างจากเพียงคำพูดไม่กี่คำ

ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ และหลายคนก็เป็นเช่นนั้น (หมายรวมถึงคนทั่วไปก็มีลักษณะเช่นนี้ได้) เมื่อหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาในชีวิตมากมายหลายด้าน เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่เราคิดว่าไม่จำเป็น หรือเสียเวลา สมองเราก็จะประมวลผล และตอบสนองต่อสิ่งนั้นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ทำให้รายละเอียดของหลายสิ่งหลายอย่างนั้นตกหล่นหรือบิดเบือนไปจากใจความสำคัญที่ลูกต้องการจะสื่อสาร

ทำอย่างไรให้เข้า (ไปใน) ใจลูกได้มากขึ้น

เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีลูก ก็มีหลายสิ่งหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในโลกของลูก และทำความเข้าใจในสาระสำคัญที่ลูกต้องการสื่อสาร จนบางครั้ง (หรืออาจจะทุกครั้งด้วยก็ได้) ผู้ใหญ่อย่างเราต้องวางข้อมูลที่เคยผ่านมาลง เปิดใจ รับรู้ และทำความเข้าใจกับสถานการณ์ตรงหน้าให้มากขึ้น โดยเริ่มจาก

ควรพูดให้ช้าลง อย่ารีบร้อนด่วนตัดสิน

ในหลาย ๆ ครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าคำพูดของคุณพ่อคุณแม่ไปทำร้ายจิตใจลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่า “เราน่าจะฟังลูกให้จบเสียก่อน” หรือ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้เอง แม่ก็คิดว่าลูกจะ…เสียอีก” อะไรประมาณนี้เป็นต้น

ในทางเดียวกันนี้ ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนมักคิดและเข้าใจว่าเด็กก็คือ “ผู้ใหญ่ย่อส่วน” ดังนั้น ความคาดหวังในตัวเด็กจึงเกิดขึ้น หวังให้เด็ก…คิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว และพูดเร็ว แต่เราอาจหลงลืมไปว่า “เด็กแต่ละคน แต่ละวัย มีพัฒนาการต่างกัน ความสามารถต่างกัน

ผู้ใหญ่ต่างหากที่ควรปรับตัวลงไปหาเด็ก ไม่ใช่เพราะว่าเราแก่กว่า เรามีประสบการณ์มากกว่า ต้องให้เด็กปรับเข้าหา อย่างนี้เป็นความคิดที่ดูจะไม่ถูกต้องนัก การที่ผู้ใหญ่ต้องปรับเข้าหาเด็กก็เพราะว่า เรามีความสามารถมากกว่าเด็ก ซึ่งการปรับตัวเข้าเด็กทำได้โดย

“รอ รอให้ลูกพูดหรือทำให้เสร็จ”

แล้วผู้ใหญ่อย่างเราก็จะได้เรียนรู้ว่า “ลูกไม่ได้ช้าไป แต่ผู้ใหญ่อย่างเราต่างหากที่เร็วเกินไปจนเคยชิน

สิ่งที่ลูก อาจไม่ได้หมายถึงสิ่งที่ลูกคิดเสมอไป

เพราะเด็กยังมีคลังศัพท์ในหัวไม่มากนัก ดังนั้น การที่จะให้เขาสื่อสารกับเราบางทีก็อาจมีบางความหมายที่ไม่ได้ตรงกับสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร เช่น

ลูก

วันนี้หนูไม่มีการบ้านนะ

หมายถึง เขาทำการบ้านเสร็จมาแล้วจากที่โรงเรียน เพราะฉะนั้นไม่ต้องมีอะไรมาทำต่อที่บ้าน เป็นต้น

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกต้องการสื่อสารอะไรจริง ๆ?

ปรับตัวของคุณพ่อคุณแม่ช้าลง ตั้งใจฟังลูกให้มากขึ้น ฟังอย่างตั้งใจ และให้คิดถึงบริบทก่อนหน้าที่ลูกประสบมา
ถ้าไม่แน่ใจหรือไม่เข้าใจ ให้ถามลูกกลับไป เช่น “หนูหมายถึงเรื่องไหนคะ?” หรือ “แบบนี้ใช่ไหมลูก?

มองให้เห็นเจตตนาดีของลูก

ให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจกว้างเอาไว้ก่อน อย่างเพิ่งด่วนสรุปหรือด่วนตัดสิน เพราะเรื่องบางอย่างที่ลูกยังเล่าแบบคลุมเครือ เราก็อย่าเพิ่งพูดออกไป เพราะคำพูดที่ในด้านลบเมื่อพูดออกไปแล้ว แต่มันไม่เป็นตามที่ลูกตั้งใจจะสื่อสาร รังแต่จะสร้างความเสียใจให้ทุกฝ่ายนะคะ

“…หรือแม้แต่ลูกทำผิดจริง แต่การพูดไม่ดี พูดในแง่ลบก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร การสอนลูกด้วยเหตุผลที่ถูกต้องต่างหาก เป็นเรื่องสำคัญ”

อย่าลืมให้เวลากับลูกให้มาก ปรับตัวเองให้ช้าลง ฟังลูกพูดให้จบ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะพบว่า ความเข้าใจอย่างจริงใจทำให้เรารักกันมากขึ้น ครอบครัวอบอุ่นขึ้นค่ะ

อ้างอิง
เมริษา ยอดมณฑป เจ้าของ แฟนเพจตามใจนักจิตวิทยา

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP