คนท้องนวดได้ไหม คนท้องนวดฝ่าเท้าได้ไหม?

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

เรื่องอาการปวดเมื่อยตามร่างกายกับคุณแม่ท้องเป็นของคู่กันจริงๆ ค่ะผู้เขียนผ่านมาแล้วเข้าใจดี 555 เพราะยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่ก็ยิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และส่วนที่ทำหน้าที่แบกรับโดยตรงคือส่วนหลังซึ่งก็ทำให้ส่วนอื่นพากันปวดเมื่อยตามไปด้วยโดยเฉพาะเท้า “การนวดฝ่าเท้าหรือการกดจุดฝ่าเท้า” จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณแม่ท้องต้องการมากถึงมากที่สุด แต่….คำถามคือ

“แม่ท้องจะนวดฝ่าเท้าหรือกดจุด เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้หรือไม่?”

คนท้องนวดฝ่าเท้าหรือกดจุดฝ่าเท้าได้หรือไม่

เท้า” เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่รับบทหนัก ย้ำ! บทหนักจริงๆ ค่ะ เพราะคุณแม่ต้องยืน ต้องเดินพร้อมกับต้องแบกน้ำหนักของลูกไว้ ด้วยความที่ลูกโตขึ้นทุกวัน ท้องก็ใหญ่ทุกวัน น้ำหนักก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกวันเช่นกัน ดังนั้น พอหมดวันคุณแม่ก็จะรู้สึกปวดเมื่อยเท้าเอามากๆ
ซึ่งหนึ่งในหลายๆ ทางออกที่คุณแม่จะนึกถึงเพื่อบรรเทาความปวดเมื่อย นั่นก็คือ “การนวดกดจุดฝ่าเท้าหรือการฝังเข็ม

ในความเชื่อของคนโบราณ

ห้ามไม่ให้คุณแม่ท้องทำการนวดฝ่าเท้า กดจุดฝ่าเท้า หรือแม้กระทั่งการฝังเข็ม แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาและยังไม่มีคำอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันว่าทำได้หรือไม่

ตามศาสตร์แพทย์จีน

ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “การนวดกดจุดฝ่าเท้า” นั้น นับเป็นการกระตุ้นลมปราณได้เช่นเดียวกับ “การฝังเข็ม” เพราะการฝังเข็มจะมีตำแหน่งของการฝังตามจุดต่างๆ ที่สามารถไปกระตุ้นการคลอดได้ โดยทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัวเป็นอันตรายต่อเด็ก สามารถทำให้ “คลอดก่อนกำหนด” หรือ “แท้ง” ได้

เพราะ “ฝ่าเท้า” นับเป็นที่รวมของเส้นประสาทมากมายที่เชื่อมเข้ากับทุกส่วนของร่างกาย เป็นจุดรวมลมปราณของอวัยวะต่างๆ รวมถึงมดลูก ดังนั้น จึงควรเลี่ยงการนวดกดจุดหรือการฝังเข็มทั้งที่ฝ่าเท้าและร่างกายขณะท้องก่อนนะคะ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรก
ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็ยังไม่เคยมีกรณีที่ออกมายืนยันชัดเจนว่าการฝังเข็มตามศาสตร์ของแพทย์แผนจีนนั้นจะส่งผลให้คลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง แต่ทางที่ดี ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่านะคะ หากคุณแม่เมื่อยมากๆ ลองมาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุกันก่อนนะคะ

สาเหตุที่ทำให้ปวดเมื่อยฝ่าเท้า

รองเท้าไม่เหมาะสม

เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าท้อง ควรเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม เพราะลูกจะเติบโตมากขึ้นทุกวัน ดังนั้น รองเท้าสำหรับคนท้องที่ควรเป็นแบบไม่มีส้น และมีพื้นยางกันลื่น พื้นรองเท้าไม่ควรแข็งหรือนิ่มเกินไป เพราะเวลาที่คุณแม่ลงน้ำหนักจากการเดินก็จะทำให้คุณแม่ยิ่งปวดเท้ามากขึ้นค่ะ

มีอาชีพที่ต้องยืนนานๆ

หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรแจ้งหัวหน้างานทราบกำลังตั้งท้อง และขอเปลี่ยนหน้าที่ชั่วคราวเป็นงานที่นั่งโต๊ะแทน เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยเท้าได้ค่ะ

เดิน หรือนั่งหลังค่อมเป็นเวลานาน

คุณแม่ท้องบางท่านยังต้องเดินทางไปทำงานอยู่ เพราะฉะนั้น ในหนึ่งวันหากคุณแม่ต้องเดินหรือนั่งหลังค่อมทำงานเป็นเวลานาน ๆ จนเกิดความเคยชิน (ตั้งแต่ยังไม่ท้อง) แบบนี้ก็สามารถทำให้ปวดเมื่อยฝ่าเท้าได้ค่ะ

วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยฝ่าเท้าสำหรับคนท้อง

หากคุณแม่ลองแก้ที่ต้นเหตุแล้ว แต่ก็ยังปวดเมื่อยอยู่ดี ลองใช้วิธีนี้ดูนะคะ

แช่เท้าในน้ำอุ่น

ให้คุณพ่อช่วยเตรียมน้ำอุ่นในกะละมัง จากนั้นใส่เกลือเม็ดหยาบลงไป คนจนเกลือละลายดี คุณแม่มีหน้าที่แค่นั่งเก้าอี้ที่สบายพอดีตัว ถ้าปรับเอนได้ก็จะดีมากเลยค่ะ นำเท้าทั้งสองข้างแช่ในน้ำอุ่น ประมาณซัก 30 นาที เท่านี้ก็ทำให้คุณแม่ได้ผ่อนคลาย สบายตัวแล้วล่ะค่ะ

วานคุณพ่อช่วยบีบนวดเบาๆ

คนท้องอาจมีอารมณ์แปรปรวนจากฮอร์โมนอยู่แล้วเป็นทุน มิหนำซ้ำต้องแบกท้องที่หนักอีกตั้ง 9 เดือน แถมปวดเมื่อยฝ่าเท้าไปอีก ดังนั้น ไม่แปลกค่ะที่อาจมีอารมณ์หงุดหงิดกันบ้าง แต่คุณพ่อสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยฝ่าเท้าและร่างกายได้โดย บีบนวดคอ บ่า ไหล่ ขา แขน และเท้าเบาๆ เอาแค่ให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายเท่านั้นนะคะ ไม่ต้องแรงแบบที่ร้านนวดนะคะ

ยกเท้าขึ้นสูงเล็กน้อย

หากคุณแม่เริ่มรู้สึกว่ามีอาการปวดขา ให้นวดบริเวณน่องเบา ๆ แล้วค่อย ๆ เหยียดขาออกไป โดยพยายามหลีกเลี่ยงการเหยียดปลายเท้า เพราะอาจยิ่งทำให้เกิดอาการตะคริวได้

ลุกขึ้นยืน

ให้คุณแม่ลุกขึ้นยืนบนพื้นราบแข็ง จากนั้นค่อย ๆ ยกขาขึ้นไปด้านหน้า เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อส่วนน่อง ทำซ้ำช้า ๆ นะคะ จนกว่าอาการปวดเมื่อยจะทุเลาลง

เนื่องฝ่าเท้าเป็นจุดศูนย์รวมของระบบประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้น หากคุณแม่เมื่อยมาก ๆ จริง ๆ แนะนำเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุดนะคะ ทีนี้ในส่วนของหัวล่ะ “คนท้องนวดได้ไหม คนท้องนวดหัวได้ไหม” (Another article) ไปนวดหน้าเสริมสวย หรือนวดเพื่อผ่อนคลายได้หรือเปล่า ด้วยหลักการแล้วคุณแม่ก็ควรเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุดเช่นกันนะคะ


ท้องมา 5 เดือน หน้าเยินมาก มีแต่สิว? คนท้องนวดหัว นวดหน้าได้ไหม? คนท้องจะนวดได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน และมีอีกหลายอย่างที่ต้องเลี่ยงเช่นกัน อยากรู้ คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP