ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 19 ถึง สัปดาห์ที่ 23

พัฒนาการตั้งครรภ์

มาสัปดาห์ที่ 19 – 23 แล้ว คุณแม่จะได้สัมผัสถึงอาการลูกดิ้นแล้ว ว่าแต่ เริ่มสัปดาห์ไหนนะ ไปดูกันค่ะ

สารบัญ

อายุครรภ์ 19 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

  • คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึง “อาการลูกเริ่มดิ้น
  • น้ำหนักคุณแม่เริ่มมากขึ้นในบางส่วนของร่างกาย เช่น สะโพก ซึ่งมดลูกก็จะเริ่มขยายมากขึ้นจนทำให้เส้นเอ็นที่ยึดมดลูกด้านข้างถูกยึดจนตึง ดังนั้น หากคุณแม่เคลื่อนไหวตัวเร็วเกินไป เช่น ลุก นั่ง หรือเอี้ยวตัว คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บบริเวณด้านข้างได้
  • การเดิน การนอนหลับ คุณแม่ลองหาหมอนหนุนหลัง หรือท้องดูนะคะ จะได้นอนได้สบายมากขึ้นค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 19 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ 13-15 ซม. หนักประมาณ 200 กรัม
  • เส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อต่าง ๆ กำลังเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์
  • สมองส่วนหน้ายังเติบโตไม่เต็มที่ ผิวหนังของลูกเริ่มหนาขึ้นเป็น 4 ชั้น ต่อมไขมันพิเศษเริ่มมีการหลั่งไขมันออกมาเป็นลักษัณะขี้ผึ้ง เรียกว่า ไขมันเคลือบผิว เป็นชั้นป้องกันน้ำสำหรับทารกที่ต้องอยู่ในน้ำคร่ำเป็นเวลานาน แขนขาได้สัดส่วน เริ่มเห็นอวัยวะเพศได้ชัดเจนขึ้น
  • ทารกสามารถดูดนิ้ว ขยับศีรษะ และเคลื่อนไหวไปมาได้ จนบางครั้งคุณแม่ก็อาจรู้ได้เช่นกัน
  • ตาทั้งสองข้างที่ช่วงแรกค่อนไปทางด้านหลัง สัปดาห์นี้ก็จะขยับมาอยู่ที่ด้านหน้า บริเวณใบหน้า
  • เริ่มมีขนอ่อน เส้นผม และหนังศีรษะ แต่จะมีเพียงเล็กน้อย

อาหารบำรุงครรภ์ 19 สัปดาห์

ช่วงนี้คุณแม่ควรเน้นอาหารประเภทที่มีสังกะสีมากขึ้นนะคะ เพราะสังกะสีนอกจากจะช่วยเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วยค่ะ อาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี อาทิ ถั่ว หอยนางรม เมล็ดฟักทอง

แม่โน้ต

หอยนางรมแม้จะมีสังกะสีมาก แต่ก็มีคอเลสเตอรอลมากเช่นกัน ดังนั้น ควรกินแต่พอดีนะคะ

อายุครรภ์ 20 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์

  • ช่วงนี้จะเริ่มดูออกมากขึ้นแล้วค่ะว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ เอวคุณแม่จะดูหนาขึ้น หน้าท้องเริ่มตึง มดลูกกำลังดันหน้าท้องออกมา คุณที่ชอบใส่ส้นสูง ถึงเวลาพักชั่วคราวก่อนนะคะ และหาเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายไม่รัดจนเกินไปมาใส่แทนค่ะ
  • รกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเลื่อนขึ้นไปด้านบนเรื่อย ๆ ซึ่งมดลูกก็จะมีขนาดที่โตขึ้นไปด้วย

พัฒนาการทารกในครรภ์ 20 สัปดาห์

  • ความยาวของลูกจะเพิ่มขึ้นเป็น 14-16 ซม. หนักประมาณ 260 กรัม
  • นับว่ามาได้ครึ่งแล้วค่ะ ช่วงนี้จะเป็นการพัฒนาในเรื่องของระบบประสาทการรับรู้ ในขณะที่ไขหุ้มทารกกำลังผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนเล็บมือ เล็บเท้า และผมยังคงงอกต่อไป
  • เซลล์ประสาทในสมองของทารกก็พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงระบบประสาทสัมผัสในด้านต่าง ๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น และการรับรส เป็นต้น
  • ผิวหนังทารกเริ่มหนาขึ้น แบ่งเป็นสองชั้น มีการสร้างชั้นไขมันขาว (Vernix) มาปกคลุมที่ผิวด้านนอก ช่วยลดการเสียดสีในขณะที่ทารกเคลื่อนไหวในครรภ์คุณแม่ค่ะ

อาหารบำรุงครรภ์ 20 สัปดาห์

ช่วงนี้ท้องคุณแม่เริ่มโตขึ้น จนส่งผลให้เบียดลำไส้ และเกิดอาการท้องผูก ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้คุณแม่เป็นริดสีดวงทวารได้ ดังนั้น คุณแม่ควรเน้นกินผัก และผลไม้ที่มีใยอาหารสูง อย่างเช่น สับปะรด หรือส้ม เป็นต้น

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์

  • ในอีก 10 สัปดาห์หลังจากนี้ น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะลูกจะมีการสะสมไขมันมากขึ้น และอาจส่งผลให้คุณแม่อยากทานโน่น อยากทานนี่ หรือหิวบ่อยขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเมตาบอลิซึมขั้นพื้นฐานค่ะ
  • แม้ลูกน้อยจะเจริญเติบมากขึ้น แต่คุณแม่จะรู้สึกสบายตัวมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าคุณแม่เริ่มปรับตัวได้แล้วนั่นเองค่ะ
  • ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มมีการผลิตไขมันมากขึ้น คุณแม่บางคนอาจมีสิว ควรหมั่นล้างหน้าให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ที่สำคัญ คือ ไม่ควรกินยาลดสิว เพราะจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้ค่ะ
  • ด้วยฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้เส้นเลือดมีการขยายตัว โป่งพอง และมีอาการเส้นเลือดขอดมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกปวดขามากขึ้น ดังนั้น พยายามเลี่ยงการยืน เดินนาน ๆ ช่วงนี้ยังสามารถออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อเป็นการคลายเส้นได้ค่ะ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 21 สัปดาห์

  • ความยาวลูกในสัปดาห์นี้เพิ่มเป็น 18 ซม. หนักประมาณ 300 กรัม
  • ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงานมากขึ้น และพัฒนามากพอที่จะดูดซึมน้ำและน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไป กรองบางส่วนผ่านไตและไล่ของแข็งปริมาณเล็กน้อยออกมา
  • ทารกเริ่มมีการสร้างปุ่มรับรสที่ลิ้น ความรู้สึกในการรับรสดีขึ้น ซึ่งมาจากพัฒนาการทางสมองและปลายประสาทนั่นเอง
  • ช่วงนี้ทารกจะมีการเคลื่อนไหวในท้องโดยหมุนไปเรื่อย ๆ ได้มากขึ้น จนคุณแม่รู้สึกได้ชัดเจน
  • ตับและม้ามของทารกเริ่มทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดงหลัก
  • ไขกระดูกจะเริ่มทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดงอีกด้วยในไตรมาสที่ 3

อาหารบำรุงครรภ์ 21 สัปดาห์

เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกเริ่มทำงานได้ดีมากขึ้น สามารถดูดซึมน้ำ และน้ำตาลได้จากการกลืนน้ำคร่ำเข้าไป และมีการขับของเสียออกมา ลำไส้ใหญ่จึงมีความต้องการพลังงานมากขึ้น อาหารที่ช่วยส่งเสริมระบบการทำงานส่วนนี้ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลา เห็ด ถั่วชนิดต่าง ๆ งา รวมถึงธัญพืช

อายุครรภ์ 22 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์

  • คุณแม่จะมีปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิด “ภาวะเลือดจางทางสรีรวิทยาแห่งการตั้งครรภ์” ภาวะนี้จะพบค่อนข้างบ่อย ซึ่งคุณหมอจะดูว่าคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่
  • อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติถึง 20% จึงทำให้คุณแม่รู้สึกว่าตัวเองขี้ร้อนมากทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ในที่กลางแจ้ง หรือในที่ ๆ มีผู้คนแออัด และควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดในปริมาณที่มากซักหน่อย

พัฒนาการทารกในครรภ์ 22 สัปดาห์

  • ลูกจะเริ่มยาวขึ้นเป็น 19 ซม. หนักประมาณ 350 กรัม
  • สมองยังคงพัฒนาเติบโตไปอย่างรวดเร็ว อวัยวะภายในเริ่มเคลื่อนไหวนิ่มนวลมากขึ้น แม้ว่าผิวยังคงมีสีแดงอยู่ มีรอยย่นและขนอ่อนปกคลุม
  • มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นตุ่มขาว ๆ ขึ้นที่ใต้เหงือก
  • ดวงตาเริ่มพัฒนาไปเกือบสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่ยังไม่สามารถระบุสีได้
  • ขนอ่อนเริ่มพัฒนาขึ้นทั่วร่างกาย เพื่อทำหน้าที่ยึดไขมันไว้กับผิว
  • ระบบสืบพันธ์ของทารกยังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ถุงอัณฑะของทารกเพศชายเริ่มเคลื่อนลงมา ส่วนทารกเพศหญิงจะเริ่มมีการจัดวางรังไข่และมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ปกติ รวมถึงช่องคลอดก็เริ่มมีการพัฒนาตามไปด้วย
    ช่วงนี้คุณแม่สามารถเริ่มทำบันทึกการตื่นและการนอนของลูกได้แล้วล่ะค่ะ สามารถปลุกเค้าให้ตื่นได้ด้วยการเคาะท้องหรือเรียกเค้า นอกจากนี้ลูกยังสามารถก้มหน้ามาดูดนิ้วได้อีกด้วยค่ะ ซึ่งกระบวนการนี้ลูกจะเรียนรู้และพัฒนาอีกครั้งหลังเกิด เช่น การนำสิ่งของเข้าปาก เป็นต้น

อาหารบำรุงครรภ์ 22 สัปดาห์

สารอาหารที่จำเป็นและสำคัญของคุณแม่ในช่วงนี้คือ วิตามินบี 12 ซึ่งมีมากในตับของลูกวัว ปลาซาร์ดีน ปลากะพง ปู กุ้งก้ามกราม ปลาแซลมอน หอยกาบ หอยนางรม หอยแมลงภู่ เนื้อวัว นม ชีส และไข่

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์

  • เนื่องจากท้องที่เริ่มขยายใหญ่มากขึ้น อาจมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร อาจมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก อาหารย่อยไม่ค่อยดี ดังนั้น คุณแม่ควรทานในปริมาณน้อยในแต่ละมื้อ แต่ทานให้บ่อยขึ้น แต่ยังคงเน้นเป็นธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นจากปกติเล็กน้อยนะคะ
  • ข้อเท้าและเท้าเริ่มบวมขึ้น เนื่องจากการหมุนเวียนของเลือดมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีการกักเก็บน้ำในบางส่วนของร่างกายที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “อาการบวมน้ำ” หากคุณแม่เริ่มมีอาการบวมมากจนใส บวมที่แขน ขา และรอบดวงตา อาจเป็นสัญญาณของอาการครรภ์เป็นพิษ ควรรีบปรึกษาแพทย์ด่วน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 23 สัปดาห์

  • ความยาวทารกสัปดาห์นี้จะอยู่ที่ 20 ซม. หนักประมาณ 455 กรัม
  • ใบหน้าและลำตัวดูเหมือนทารกที่ครบกำหนดคลอดมากขึ้น แต่ผิวหนังยังแดงและบาง สามารถมองเห็นกระดูกและอวัยวะภายในบางอย่างได้
  • ตับอ่อนยังคงพัฒนาต่อไป ต่อมาจะมีการผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการคงไขมันในเนื้อเยื่อ การได้ยินจะไวขึ้น เนื่องจากกระดูกหูขึ้นแล้ว ได้ยินเสียงต่ำของผู้ชายได้ง่ายกว่าเสียงสูงของผู้หญิง
  • ปอดเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิว ซึ่งช่วยให้ถุงลมในปอดพองตัวเมื่อหายใจเข้า และหดตัวเมื่อหายใจออก โดยยังคงรูปเดิมไว้ ไม่ยุบหรือติดกันขณะที่หดตัว

อาหารบำรุงครรภ์ 23 สัปดาห์

เนื่องจากพลาสมาในตัวคุณแม่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อภาวะโรคโลหิตจางได้ สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก อาทิ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ รวมถึงอาหารทะเล

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP