เทคนิคการเลือกกุมารแพทย์ที่ดูแลลูก และเน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่

คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจเพลินอยู่กับการช้อปข้าวของเครื่องใช้ให้ลูก และคิดอยู่กับเรื่องการคลอดจนลืมคิดไปว่า หลังจากที่คุณแม่คลอดน้องแล้ว ผู้ที่จะรับช่วงดูแลน้องต่อคือ กุมารแพทย์ ไม่ใช่สูติแพทย์ท่านเดิมแล้ว คำถามคือ

ทำไมต้องซีเรียสในการเลือกกุมารแพทย์ขนาดนั้น?

…ก็เพราะว่า เด็กทารกควรได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่าจริงจัง ซึ่งบางครั้งการให้นมของคุณแม่อุปสรรคมากมาย อาทิ หัวนมบอด ท่อนมอุดตัน หัวนมแตก น้ำนมไหลไม่เท่ากัน ลูกกินได้แต่หัวน้ำนมจึงทำให้ลูกหิวเร็ว ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ที่คุณแม่ต้องเจอ หากได้รับคำแนะนำแบบไม่ถูกวิธี อาจกลายเป็นต้องให้นมผสมกับลูกควบคู่ไปกับการให้นมแม่ก็เป็นได้ ซึ่งจริงๆ แล้วอาจมีทางออกที่ดีกว่านั้น อ้อ…ถ้าคุณแม่ไม่ได้ระบุกุมารแพทย์ไว้ล่วงหน้า ทางโรงพยาบาลก็จะรันคุณหมอตามคิวนะคะ

แล้วเทคนิคในการเลือกกุมารแพทย์ที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

สารบัญ

เทคนิคการเลือกกุมารแพทย์

ก่อนอื่นต้องย้ำกันอีกซักนิดนะคะ ว่ากุมารแพทย์ที่คุณแม่จะเลือกเพื่อเป็นคุณหมอประจำตัวลูกนั้น ควรเน้นกุมารแพทย์ที่มีการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง ถึงแม้กุมารแพทย์ส่วนใหญ่จะพูดตรงกันว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็จะเป็นในลักษณะที่ไม่มีปัญหาในเรื่องของน้ำนม แต่หากเกิดปัญหาขึ้นเมื่อไหร่ ส่วนใหญ่ก็แนะนำให้หย่านม และให้เป็นนมผสมช่วย ทีนี้เรามาดูกันค่ะว่า เทคนิคที่จะใช้ในการพิจารณาเลือกกุมารแพทย์นั้นมีอะไรบ้าง

เราจะไม่เลือกกุมารแพทย์ที่ปฏิบัติดังนี้ค่ะ

แพทย์ให้ตัวอย่างนมผสมที่แจกฟรีกับคุณแม่

นับเป็นสุดยอดทางการตลาดอีกอย่างหนึ่งโดยผ่านทางกุมารแพทย์ เพราะดูมีความน่าเชื่อถือที่สุด แต่หากแพทย์ท่านนั้นมีการส่งต่อตัวอย่างนมผสมพร้อมทั้งเอกสารแนะนำคุณสมบัติของนมสมยี่ห้อนั้นโดยบอกว่านมผสมของเค้าไม่ต่างจากนมแม่ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

แพทย์ท่านนั้นบอกว่า “นมผสมกับนมแม่ก็เหมือนกัน

จริงอยู่ที่ไม่ว่าทารกจะกินนมแม่หรือนมผสม ต่างก็เติบโตได้เหมือนกัน แต่…นมผสมก็ต่างกับนมแม่อยู่ดี เพราะส่วนประกอบหลายชนิดที่มีในนมแม่ แต่ไม่มีในนมผสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิคุ้มกันและเซลล์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อโรคในทารก

แพทย์แนะนำนมผสมยี่ห้อ XXX ให้กับคุณแม่

แม้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการพิสูจน์และยืนยันได้ว่า “นมผสมยี่ห้อใดดีที่สุด” นมผสมยี่ห้อที่ดีที่สุด หรือแพงที่สุดก็ยังมีความเสี่ยงของทารกไม่ต่างจากนมผสมยี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่า ซึ่งความนิยมของนมผสมแต่ละยี่ห้อนั้น เป็นผลพวงมาจากการตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งสิ้น

แพทย์แนะนำให้คุณแม่พักก่อน ไม่ต้องให้ลูกรีบมาดูดนม

แม้จะไม่จำเป็นจริงๆ แต่การให้ลูกมาดูดนมแม่ทันทีหลังคลอดนั้น จะเป็นประโยชน์อยากมากในการช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นได้ด้วยดี ทารกจะมีการตื่นตัวและตอบสนองต่อแรงกระตุ้นในการดูดนมแม่อย่างเต็มที่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด การดูดนมแม่จะทำให้มดลูกบีบตัว และยังช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Oxytocin (ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน) ส่งผลให้คุณแม่ผูกพันกับลูกน้อย และน้ำนมจะมาเร็ว

แพทย์แนะนำให้ลูกดูดขวดเร็วๆ เพื่อจะได้ไม่ปฏิเสธขวดภายหลัง

เพราะการดูดนมจากขวดนั้นง่ายกว่า และน้ำนมไหลได้สม่ำเสมอกว่า หากทารกได้ดูดเพียงครั้งหรือสองครั้ง ทารกก็จะปฏิเสธการดูดนมแม่แล้วค่ะ เพราะต้องใช้ความพยายามมากกว่า

แพทย์แนะนำให้หยุดให้นมแม่ เนื่องจากแม่หรือลูกไม่สบาย

ความจริงจะมีน้อยกรณีมากที่จะหยุดให้นมแม่เนื่องจากคุณแม่หรือลูกไม่สบาย เพราะแพทย์สามารถเลือกใช้ยาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการให้นมแม่ได้

แพทย์แปลกใจว่าทำไมลูก 6 เดือนแล้วแต่ยังให้นมแม่อยู่

แพทย์จำนวนไม่น้อยที่สนับสนุนให้ทารกกินนมแม่จนอายุครบ 1 ปี หรือนานกว่า ดังนั้น การที่แพทย์ไม่เห็นด้วยกับการให้นมแม่ แม้ลูกอายุ 6 เดือนนั้น ดูจะไม่มีตรรกะอะไรมาสนับสนุน

แพทย์บอกว่าหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว นมแม่ไม่มีประโยชน์

ไม่ว่าจะเวลาจะเนิ่นนามเท่าไหร่ นมแม่ก็ยังเป็นนมแม่ที่มี ไขมัน โปรตีน พลังงาน วิตามิน และภูมิคุ้มกัน แอนติบอดี้ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคให้กับลูกได้ตลอดเวลา ภูมิคุ้มกันบางอย่างมีมากกว่าช่วงแรกด้วยซ้ำ

แพทย์แนะนำว่า “ไม่ควรให้ลูกหลับคาอกแม่

การที่ลูกหลับได้เองโดยที่ไม่ต้องดูดนมแม่ก็เป็นเรื่องดีค่ะ แม่เหนื่อยน้อยหน่อย แต่การที่ลูกหลับคาอกก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด กลับดีเสียด้วยซ้ำ ลูกก็อบอุ่น แม่ก็อบอุ่น

แพทย์แนะนำให้คุณแม่กลับบ้านก่อน แล้วให้ลูกอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่โรงพยาบาล

หากทารกแรกคลอดยังไม่แข็งแรงพอ แพทย์ที่สนับสนุนการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างจริงจังจะแนะนำให้ลูกกินนมแม่ จะช่วยเหลือในการให้ลูกได้ดูดนมแม่ก่อน เพราะนมแม่จะทำให้ลูกแข็งแรงเร็วขึ้น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นอะไรที่ดีที่สุดแล้วค่ะ แล้วยิ่งถ้าหากเราได้กุมารแพทย์ที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง พร้อมให้คำแนะนำปรึกษา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

อ้างอิง breastfeedingthai.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP