W-Shape Sitting ลูกนั่งสบาย แต่อันตรายกว่าที่คิด

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ

ขณะที่คุณพ่อคุณแม่แล่นกับลูกเพลิน ๆ อยู่นั้น เคยสังเกตไหมค่ะว่าท่าไหนที่ลูกชอบนั่งเวลาที่อยู่กับพื้น ท่าบางท่าอาจเป็นท่าที่สบายสำหรับลูกก็จริงแต่ในระยะยาวแล้วจะส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายได้มากทีเดียว และแน่นอนค่ะ ท่าที่ว่านั้นก็คือ ท่า W-Shape Sitting นั่นเอง มาค่ะ วันนี้โน้ตจะชวนคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักเจ้าท่านี้และผลเสียของท่านี้ให้มากขึ้น ไปติดตามกันค่ะ

ลักษณะท่านั่ง W-Shape Sitting

ท่านั่งของ W-Shape Sitting คือ ลักษณะที่ก้นของเด็กติดอยู่กับพื้น แต่ขาทั้ง 2 ข้างพับออกไปด้านข้าง และงอไปที่ด้านหลัง เมื่อมองจากด้านบนจะคล้ายกับตัวอักษร W ในภาษาอังกฤษ ท่านี้เป็นท่าที่เด็กหลายคนชอบนั่ง เพราะนั่งสบาย มีฐานที่กว้างและมั่นคง ไม่ล้มง่าย ๆ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตให้ดี ลูกจะไม่สามารถเอื้อมมือไปหยิบสิ่งของที่อยู่ไกล ๆ ได้ เพราะท่านั่งที่ไม่เอื้ออำนวย

ผลกระทบจากการนั่งท่า W-Shape Sitting

หากเด็กนั่งท่านี้เป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ ดังนี้ค่ะ

  • แรงบิดต่อสะโพกและข้อเข่าที่ผิดปกติ ส่งผลต่อแนวกระดูกขาของเด็ก ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ ตามมา อาทิ ปวดสะโพก หรือปวดเข่า เป็นต้น
  • เด็กเสียการทรงตัวในขณะยืน เนื่องจากข้อสะโพกหมุนเข้าด้านใน ทำให้เข่าทั้งสองข้างหมุนเข้าหากัน เท้าล้ม นิ้วแบนเข้าด้านใน ทำให้เด็กทรงตัวไม่ได้นั่นเอง
  • หากเด็กนั่งท่านี้เป็นระยะหลายเดือน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหุบสะโพก กล้ามเนื้อหุบสะโพกหมุนเข้าด้านในหดสั้น ทำให้ปลายเท้าบิดหมุนเข้าด้านในในขณะเดิน ซึ่งเป็นเหตุให้สะโพกอาจหลุดออกจากเบ้าสะโพกได้
  • เด็กจะไม่สามารถเอี้ยวตัวหรือหมุนตัวไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ ได้ ซึ่งความจริงเด็กควรที่จะนั่งและเอื้อมหยิบสิ่งของต่าง ๆ ได้ เพื่อเป็นการสร้างสมดุลให้กับร่างกาย (Balance Reaction)
  • ส่งผลต่อกระดูกสันหลังที่ผิดรูป เพราะน้ำหนักจะไปอยู่ที่ต้นขาหมด
  • ท่านี้เป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อหลังไม่ได้ออกแรงเพื่อการทรงตัว ซึ่งสิ่งนี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับเด็กในเรื่องของพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวขั้นสูงต่อไป อาทิ การยืนทรงตัวเวลาที่โดนผลัก ยืนทรงตัวบนพื้นที่ต่างระดับ หรือแม้กระทั่งเวลาที่เด็กต้องนั่งไปด้วย และต้องเขียนหนังสือไปด้วย (หรือใช้มือทำงานไปด้วย) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยการทรงตัวของกล้ามเนื้อหลังทั้งสิ้น ซึ่งถ้าหากกล้ามเนื้อหลังของลูกไม่แข็งแรง จะส่งผลให้มีพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ช้ากว่าเด็กคนอื่น

วิธีแก้ไขท่านั่งให้ลูก

เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตกันบ่อยหน่อยนะคะ เพราะความที่เป็นท่านั่งที่สบาย เด็ก ๆ จึงมักเผลอที่จะนั่งท่า W-Shape Sitting กันบ่อย ๆ ถ้าหากพบว่าลูกเผลอนั่งอีกให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกแก้ไขด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ

  • หาที่ยึดเกาะให้ลูก : ด้วยการวางหมอนล้อมรอบหรือจะหาเก้าอี้เสริมสำหรับเด็ก แบบมีที่กั้น เพื่อให้ลูกได้มีที่ยึดเกาะ แบบนี้ลูกก็จะสามารถพยุงตัวได้เวลานั่งค่ะ
  • ใช้หมอนรองที่นุ่มสบาย : เพราะเมื่อเด็กเข้าสู่วัย 6 เดือน ส่วนใหญ่ก็จะสามารถนั่งเองได้แล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้ให้คุณพ่อคุณแม่หาหมอนรองที่นุ่มสบายขนาดที่เหมาะสม มารองตั้งแต่ต้นคอ หลัง ไปจนถึงโคนขาของลูก เพื่อให้ลูกได้เอนหลัง นั่งพิงสบาย และที่สำคัญ ยังเป็นการประคองตัวลูกให้นั่งได้อย่างถูกต้องอีกด้วยค่ะ
  • บริหารหน้าท้อง : หน้าท้องของลูกนะคะ ไม่ใช่ของคุณพ่อคุณแม่นะ แบบนั้นจะไม่ได้ช่วยอะไรลูกค่ะ^^ การบริหารหน้าท้องเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งเช่นกัน จำเป็นมากสำหรับพัฒนาการด้านการนั่งและการพยุงตัว ทำได้โดยให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้น-ลง หรืออุ้มเหาะเหมือนเครื่องบิน การเล่นในลักษณะนี้จะช่วยให้ลูกได้บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องได้ เป็นการเตรียมความพร้อม เสริมความแข็งแกร่งให้ลูกน้อยในวัยหัดนั่งค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้าง ผลเสียจากการนั่งท่า W-Shape Sitting รุนแรงกว่าที่คิดใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตกันซักหน่อย พร้อมกับช่วยลูกแก้ไขท่านั่งให้ถูกต้อง เพื่อพื้นฐานของพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยนะคะ

อ้างอิง
คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
Pt.mahidol.ac.th
Mindbrainchildactivity.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP