หัวนมบอด ให้นมลูกได้ไหม?

นมแม่
JESSIE MUM

ผู้หญิงเราตอนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ ก็ไม่ได้คิดอะไรหรอกค่ะกับเรื่องหัวนมบอด แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ตั้งครรภ์ หรือใกล้ที่คลอดเมื่อไหร่ล่ะก็ ปัญหา “หัวนมบอด” จะเริ่มเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นในหัวทันที เพราะคุณแม่หลาย ๆ คนกังวลไม่น้อยเลยทีเดียวเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่วันนี้คุณแม่ได้มาเจอกับบทความนี้แล้ว คลายความกังวลได้เลยค่ะ เพราะเรามีวิธีแก้ไขมาฝาก

หัวนมบอด คืออะไร?

ทั่วไปแล้วหน้าอกของคนเราประกอบไปด้วย ส่วนของเต้านม ลานนมซึ่งจะมีลักษณะเป็นขอบสีน้ำตาล และสุดท้ายคือ หัวนม โดยถ้าส่วนของหัวนมบุ๋มหรือยุบตัวลงไป จนเหมือนไม่มีหัวนม ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “หัวนมบอด” นั่นเองค่ะ
ซึ่งหัวนมบอดสามารถเกิดได้ทั้งชายทั้งหญิงค่ะ และถ้าจะเกิดขึ้นแล้วมักพบได้ตั้งแต่ตอนแรกเกิด โดยสาเหตุที่ทำให้หัวนมบอด คือ พื้นที่บริเวณฐานของหัวนมนั้นน้อยเกินไป มีท่อน้ำนมที่สั้นกว่าปกติ รวมไปถึงการมีพังผืดบริเวณรอบ ๆ ส่งผลให้เกิดการดึงรั้งของหัวนม ทำให้หัวนมบุ๋มลงไปหรือถ้าจะโผล่ขึ้นมาสักพักก็จะบุ๋มกลับลงไปอีก

ลักษณะหัวนมบอด

หัวนมบอดมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ ตามความรุนแรงของการยุบของหัวนม

หัวนมบอดขั้นต้น

สำหรับขั้นต้นนี้ ลักษณะของหัวนมจะมีการยุบตัวลงไปเล็กน้อย เรายังสามารถใช้มือดึงขึ้นมาได้ หรือในบางกรณีหัวนมก็สามารถยื่นออกมาได้หากได้รับการกระตุ้น เช่น การสัมผัส การดูด หรือเมื่อเจอกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น หัวนมบอดในขั้นนี้ คุณแม่ยังสามารถให้นมลูกได้นะคะ และสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการหมั่นดึงหัวนมบ่อย ๆ

หัวนมบอดชั้นกลาง

เป็นลักษณะที่หัวนมบุ๋มหรือยุบตัวลงไป ซึ่งดึงขึ้นมาค่อนข้างลำบาก หรือเมื่อดึงออกมาแล้ว หัวนมสามารถอยู่ได้แค่เพียงชั่วคราว หัวนมก็จะกลับยุบตัวลงไปเหมือนเดิม ลักษณะหัวนมบอดขั้นกลางนี้ คุณแม่บางคนยังสามารถให้นมลูกได้ แต่ยกเว้นว่าคุณแม่ที่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญหาท่อน้ำนมสั้น อาจต้องใช้อุปกรณ์ที่แก้ไขหัวนมบอดเข้ามาเป็นตัวช่วยค่ะ

หัวนมบอดขั้นรุนแรง

สำหรับขั้นนี้เป็นปัญหาหัวนมบอดขั้นรุนแรง หัวนมยุบตัวถาวร แม้จะใช้วิธีการดึงก็ไม่ขึ้น สาเหตุของคุณแม่ที่หัวนมบอดขั้นรุนแรงคือ ท่อน้ำนมเกิดการรั้งตัวและขดอยู่ด้านใน ถ้าในขั้นนี้คุณแม่จะไม่สามารถให้นมลูกได้ แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและให้การรักษากับคุณแม่ก่อนการผ่าตัดค่ะ

วิธีตรวจสอบหัวนมบอดด้วยตัวเอง

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ คุณแม่หลายคนอาจเริ่มกังวลว่า เอ…เราจะหัวนมบอดไหม? ถ้าบอด…จะบอดในขั้นไหน? เรามีวิธีตรวจสอบมาฝากค่ะ
ให้คุณแม่ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้คีบหัวนมออกมา ถ้าหัวนมสามารถโผล่ขึ้นมาได้ แสดงว่าหัวนมคุณแม่ปกติค่ะ แต่ถ้าหากไม่โผล่ออกมา ซึ่งลองทำหลายครั้งแล้วหัวนมก็ยังไม่โผล่ออกมา แต่ไม่ถึงกับยุบตัวลงไปต่ำว่าเต้านม แบบนี้เรียกว่า “หัวนมแบน” แต่ถ้าหัวนมยุบตัวลงไปหรือบุ๋มลงไป แบบนี้เรียกว่า “หัวนมบอด
หัวนมบอดไม่ใช่โรคหรืออาการที่ร้ายแรงค่ะ เพราะว่าเรายังสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยได้หรืออาศัยวิธีการทางการแพทย์เข้าไปแก้ไข คุณแม่ยังสามารถให้นมลูกได้ตามปกติค่ะ ไม่ต้องกังวลไป ปัญหาหัวนมบอดเป็นเพียงความผิดปกติจากภายนอกค่ะ ไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมแต่อย่างใด

วิธีแก้ไขปัญหาหัวนมบอด

การแก้ไขปัญหาหัวนมบอดด้วยตัวเองสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

วิธีที่ 1 – กด – จิ้ม – ดึง

  1. ใช้นิ้วชี้ทั้งสองข้าง แตะที่ลานนมใกล้กับหัวนม
  2. กดนิ้วลงที่ลานนม จากนั้นค่อย ๆ ดึงแยกออกจากกันไปด้านข้าง แล้วปล่อยกลับ
  3. ทำซ้ำสัก 2 – 3 ครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปหัวนมก็จะเริ่มโผล่ออกมา แต่สามารถทำซ้ำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าหัวนมจะโผล่ขึ้นมา

วิธีที่ 2 – บีบ – ดึง – ปล่อย

  1. ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้ง บีบที่หัวนมเบา ๆ
  2. ค่อย ๆ ดึงหัวนมออกมา
  3. ปล่อยมือจากหัวนม ทำซ้ำสัก 2 – 3 ครั้ง

ปัญหาหัวนมบอดโดยเฉพาะหัวนมบอดในลักษณะของ 2 แบบข้างต้น คุณแม่ยังสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองและปัญหาหัวนมบอดไม่เกี่ยวกับปริมาณน้ำนมแต่อย่างใด ซึ่งคุณแม่ยังคงสามารให้นมลูกได้ตามปกติ ยกเว้นว่าถ้าคุณแม่พยายามแก้ไขปัญหาหัวนมบอดด้วยตัวเองแล้วแต่ก็ยังไม่สำเร็จ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP