ลูกดิ้นแรง ดิ้นเก่งมาก แข็งแรงจริงหรือ?

คลิปการ์ตูน

ลูกดิ้น” เป็นการเคลื่อนไหวของทารกในท้อง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกดิ้นอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การยืดแขน ยืดขา บิดตัว การสะอึก การได้รับสารอาหารและออกซิเจน เป็นต้น หรือในบางครั้งการที่ลูกดิ้นก็เป็นที่ลูกต้องการตอบสนองกับคุณแม่ค่ะ

Youtube : ลูกดิ้นแรง ดิ้นเก่งมาก แข็งแรงจริงหรือ?

อาการลูกดิ้นเป็นอย่างไร?

เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนคงรอคอยวันที่ลูกดิ้นได้ใช่มั้ยล่ะคะ คุณแม่จะรับรู้ถึงการดิ้นของลูกได้ก็ต่อเมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วง 16-20 สัปดาห์ โดยอาการที่ลูกดิ้นในช่วงแรกๆ จะเหมือนปลาทองว่ายน้ำหรือไม่ก็ผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ในท้อง การขยับตัวของลูกจะมีทั้งบิดตัว เตะ ต่อย พลิกตัว และม้วนตัว การดิ้นของลูกในท้องจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งอายุครรภ์เข้าสัปดาห์ที่ 32 กะคงที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดิ้นของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในวันที่ใกล้คลอด

เมื่ออายุครรภ์เข้าไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ลูกจะขยับตัวมากขึ้น คุณแม่จะสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน เคยมีการศึกษามาแล้วพบว่าเมื่ออายุครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 ลูกจะขยับตัวได้ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็มี

ลักษณะลูกดิ้นในแต่ละช่วงอายุครรภ์

สัปดาห์ที่ 16-19

การเคลื่อนไหวของลูกยังไม่ชัดเจนนักสำหรับท้องแรกคุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มรับรู้ได้ก็ประมาณสัปดาห์ที่ 18 ท้องถัดมาจะสามารถรับรู้ได้ในสัปดาห์ที่ 16

สัปดาห์ที่ 20-23

คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการขยับตัวของลูกได้ชัดขึ้น และจะยิ่งชัดเจนขึ้นในสัปดาห์ต่อๆ มา บางครั้งอาจรับรู้ได้ถึงขนาดว่าลูกขยับตัว หรือเตะเลยก็มี นอกจากนี้ช่วงเย็นเวลาที่คุณแม่ทานอาหาร ลูกก็จะขยับตัวบ่อยเช่นกัน


เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา คุณแม่ต่างดีใจที่ลูกอยู่ในท้อง และการเลี่ยนแปลง เช่น การกินอาหาร อาการต่างๆ ตอนนี้อายุครรภ์ 5 เดือน ขนาดท้องก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

สัปดาห์ที่ 24-28

ของเหลวในถุงน้ำคร่ำมีปริมาณมากขึ้นถึง 750 มิลลิลิตร ทำให้ลูกมีพื้นที่ให้เริงร่ามากขึ้น เมื่อลูกรู้สึกสบายตัวเค้าจะดิ้น จะพลิกตัวไปมา โดยเฉพาะเริ่มขยับแขน ขา มากขึ้น


เดือนที่ 6 ของคุณแม่ทุกคนได้เริ่มขึ้น ช่วงนี้คุณแม่ทุกคนไม่มีอาการแพ้ท้องใดๆ แล้ว แต่คุณแม่จะทราบหรือไม่ ว่านอกจากอาการแพ้ต่างๆ นั้นได้หายไป แต่ยังมีอาการอื่นๆ อีกที่แทรกเข้ามา และคุณแม่ควรจะดูแลสิ่งใด เมื่อลูกในครรภ์อายุ 6 เดือน จะช่วยเสริมสร้างทั้งพัฒนาการ และร่างกายให้ลูกในครรภ์ได้บ้าง

สัปดาห์ที่ 29-31

ลูกเริ่มโตขึ้นแล้ว การขยับตัวจะเริ่มน้อยลง แต่จะชัดเจนมากขึ้น เช่น ต่อยแรงขึ้น เตะแรงขึ้น


เข้าสู่เดือนที่ 7 ยิ่งใกล้ความเป็นจริงในการอุ้มลูกเต็มที แต่ในความเป็นจริงนั้นคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ไม่ใช่เสมอไปว่าลูกในครรภ์จะคลอดตามกำหนด เดือนที่ 7

สัปดาห์ที่ 32-35

ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการจับการดิ้นของลูกในท้อง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 32 ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ลูกดิ้นมากที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ เพราะตัวลูกโตขึ้น พื้นที่ให้เค้าได้เริงร่าน้อยลง แต่จะกินเวลานานขึ้น


คุณแม่ทุกท่านได้ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 8 ท้องของคุณแม่ทุกคนได้ขยายใหญ่มากขึ้น ทารกก็ดิ้นจนคุณแม่สัมผัสได้มาก จากการที่ทารกมีขนาดร่างกายที่สมบูรณ์ขึ้น แรงก็มากขึ้นเช่นกัน การลุกการเดินก็ต้องมีจังหวะที่เหมาะสม เพราะขนาดท้องและน้ำหนัก แต่คุณแม่ใกล้คลอดในอีก 1 เดือน…

สัปดาห์ที่ 36-40

เรียกว่า เป็นช่วงเวลาใกล้คลอด


ก้าวเข้าสู้เดือนที่ 9 เดือนสุดท้ายของการอุ้มท้อง คุณแม่ทุกคนมีกำหนดคลอดอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างกันไป ว่าจะต้นเดือน กลางเดือน หรือสิ้นเดือน คุณแม่ทุกคนต่างมีความกังวลแน่ๆ ทั้งกังวลว่าสัญญาณเตือนให้รู้ว่าจะคลอดมีลักษณะใด ลูกจะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ หรือตามกำหนดจะมีสัญญาณเตือนไหม

  • หากเป็นท้องแรก ลูกจะเริ่มกลับหัวลง แต่หากยังไม่กลับหัว กล้ามเนื้อภายในท้องของคุณแม่จะช่วยให้เค้าต้องกลับตัวเพื่อเอาหัวลง จนคุณแม่อาจรู้สึกว่าเหมือนมีแตงโมมากดทับอยู่ที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแต่หากลูกยังไม่กลับตัว ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้การคลอดปลอดภัยกับทั้งลูกและแม่มากที่สุด
  • หากเป็นท้องสองความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณจะท้องจะน้อยลง ลูกจะเริ่มกลับตัวอย่างช้าๆ และในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ลูกจะยังขยับตัวอยู่ การเคลื่อนไหวจะน้อย แต่ชัดเจน จนบางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บได้

วิธีการนับลูกดิ้น

  1. ควรนับในช่วงเวลาที่เด็กขยับตัวมากที่สุด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันในทุกวัน
  2. เมื่อถึงเวลานั้นให้คุณแม่นั่งเอนตัวให้สบายๆ ที่เก้าอี้หรือโซฟาก็ได้ค่ะ
  3. จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ เพื่อคุณแม่จะได้มีสมาธิในการนับ
  4. ไม่ว่าลูกจะดิ้น จะพลิกตัว เตะ ยืดแขน ยืดขา ทุกอิริยาบถที่แม่รู้สึกได้ให้นับเป็น 1 ครั้ง
  5. นับจำนวนการดิ้นของลูกที่คุณแม่รู้สึกได้ โดยไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้งต่อเวลา 2 ชั่วโมง ถ้าไม่ครบ 10 ครั้ง ให้นับไปอีก 2 ชั่วโมงจนครบ 10 ครั้งรวมกัน

** ถ้ายังไม่ครบ 10 ครั้งใน 4 ชั่วโมง ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวินิจฉัยต่อไป **

ถ้าลูกดิ้นเบา หรือดิ้นน้อย?

  1. ลูกอาจเปลี่ยนท่า อาจเอาส่วนก้นเป็นตัวนำ จึงทำให้คุณแม่ไม่ค่อยรับรู้ถึงการดิ้นของลูก
  2. ลูกในท้องขาดออกซิเจน มักพบในรายที่มีโรงทางอายุรกรรม เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ทารกเสียชีวิตในท้อง โดยไม่ทราบสาเหตุ

ถ้าลูกดิ้นมาก ผิดปกติหรือเปล่า?

ในทางการแพทย์ ถ้าลูกดิ้นมาก ดิ้นแรง ถือว่าปกติ อาจมีเหตุมาจากคุณแม่ดื่มชาหรือกาแฟที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมารวมไปถึงหลังทานอาหารหรือของหวาน เป็นต้น

ลูกไม่ดิ้น เพราะอะไร?

เพราะการนับลูกดิ้นเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณแม่รับรู้ได้ว่าลูกยังแข็งแรงดีอยู่ แต่…เป็นเพราะอะไรนะ จู่ ๆ จากที่เคยดิ้น แต่วันนี้คุณแม่ไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเหมือนเคย หรือดิ้นน้อยลงไปมาก เหล่านี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ค่ะ

ทารกในครรภ์หลับ

การที่ทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงไปมากนั้น อาจเกิดจากขณะนั้นทารกกำลังหลับอยู่ จึงทำให้ทารกไม่ขยับหรือจะขยับก็เพียงเบา ๆ หรือน้อยมากจนบางครั้งคุณแม่เองจะไม่ค่อยรู้สึก

ทารกตัวใหญ่ขยับยาก

เมื่อขนาดของทารกในครรภ์ใหญ่ขึ้น ในขณะที่มดลูกขยายได้ไม่มากอีกแล้ว จึงส่งผลให้ทารกตัวใหญ่ยากที่จะขยับตัวเมื่อช่วงก่อนหน้านี้นั่นเอง

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น ในกรณีที่ลูกดิ้นน้อยลง

คุณแม่สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ทานของว่าง
  • ดื่มน้ำเย็น ๆ (ข้อนี้ลองทำแล้วได้ผลค่ะ)
  • ดื่มเครื่องดื่มหวาน ๆ
  • ขยับร่างกาย อาจเป็นการเดิน แล้วหยุดเป็นช่วง ๆ
  • เปิดเพลงให้ทารกในครรภ์ฟัง

**ทั้งนี้ หากคุณแม่ทำทุกวิถีทางแล้ว ลูกยังไม่ดิ้นหรือยังไม่มีการตอบสนอง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดต่อไปค่ะ**

การตรวจสุขภาพครรภ์และทารกในครรภ์

เมื่อคุณแม่เข้าพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

ตรวจอัลตราซาวด์ (Fetal Ultrasound)

เป็นการส่งคลื่นเสียงผ่านผนังหน้าท้อง สะท้อนกลับมาเป็นภาพ ภาพที่ได้จะแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เห็นการเต้นของหัวใจ ทราบขนาดของกะโหลกศีรษะ (เพื่อดูพัฒนาการลูก) และเห็นท่าทางของเด็กอีกด้วย

ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (Nonstress Test)

เป็นการนำแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ทาเจลวางลงบนท้องคุณแม่ แล้วใช้เข็มขัดคาดไว้ ป้องกันไม่ให้แผ่นเหล็กเคลื่อน

ตรวจวัดความเร็วในหลอดเลือดของทารกในครรภ์ (Fetal Doppler Velocimetry)

วิธีนี้จะคล้ายกับการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ แต่จะมีการใช้คลื่นเสียงร่วมด้วย เพื่อเป็นการตรวจการไหลเวียนเลือดภายในหลอดเลือดของรกและสายสะดือ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ทราบอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ค่ะ

ลูกดิ้นแบบไหน คือสัญญาณที่ผิดปกติ

ในช่วงอายุครรภ์ที่ 30 สัปดาห์ จำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์จะยังไม่คงที่ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกดิ้นแรงและเงียบหายไป เป็นไปได้สูงว่าทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ แต่กรณีนี้มักเกิดกับคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวหรือมีความผิดปกติอื่นอยู่ก่อนแล้ว

โดยทั่วไปการที่ทารกดิ้นน้อยที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดนั้นสามารถใช้เทคนิค Count to Ten คือ

  • การนับลูกดิ้นตั้งแต่เช้า-เย็น หรือประมาณ 10-12 ชั่วโมง แล้วนับว่าลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งหรือไม่
  • ถ้ามากกว่า 10 ครั้ง ยังถือว่าปกติ
  • หากคุณแม่รู้สึกว่าไม่อยากรอให้ถึง 10 ชั่วโมง ก็สามารถนับได้ภายใน 1 ชั่วโมงได้ ถ้าลูกดิ้นเกิน 3 ครั้ง แสดงว่าทารกยังแข็งแรงดี
  • แต่ถ้านับแล้วน้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อ ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง เนื่องจากบางครั้งทารกอาจจะหลับอยู่ ประมาณ 20-40 นาที หรือทารกบางคนอาจหลับนานถึง 75 นาที
  • ดังนั้น การนับจำนวนลูกดิ้นต่อไปในอีกชั่วโมงที่ 2 ลูกต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าคุณแม่นับได้น้อยกว่า 3 ครั้ง ติดกันทั้ง 2 ชั่วโมง แนะนำว่าควรพบแพทย์ทันที

การนับลูกดิ้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของคุณแม่ทุกควรที่ควรใส่ใจทำทุกวัน อย่างน้อยก็เพื่อป้องกันหรือได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีหากมีอะไรผิดปกติที่เกิดกับลูกนะคะ


ลูกดิ้นแรง แรงดีมาก ดิ้นจนแม่ปวดท้อง ดิ้นน้อยไปก็กังวล ว่าแต่อันไหนคือจะอันตรายมากกว่ากัน? จะทำอย่างไรดี? เรามีคำตอบรอคุณอยู่แล้วค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP