สอนลูกพูดสองภาษาแบบพึ่งพาสัญชาตญาณแม่

แม่แชร์ประสบการณ์
JESSIE MUM

เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก็เปลี่ยนทุกวัน การเลี้ยงลูกจึงต้องเปลี่ยนตามบ้าง ย้ำว่า “บ้าง” นะคะ (โน้ตจะใช้การเลี้ยงลูกแบบสไตล์ของตัวเอง คือ โบ-ดิจิทัล) มีอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่ควรวางรากฐานให้ลูกตั้งแต่วันนี้ อย่างโน้ตเองที่หลัก ๆ ก็จะเป็นเรื่องของ “ภาษา” ค่ะ อย่างน้อยลูกก็ควรพูดสื่อสารได้สองภาษาแล้ว ต้องบอกว่าโชคดีที่โน้ตพอจะสื่อสารภาษาอังกฤษกับลูกได้บ้างก็เลยพอที่จะให้ความรู้กับเขาได้ในเรื่องนี้

ประสบการณ์จากแม่โน้ต

แม่โน้ต

คุณแม่ลูกหนึ่งที่เคยผ่านภาวะครรภ์เป็นพิษมาแล้ว ต้องคลอดลูกก่อนกำหนดด้วยอายุครรภ์เพียง 7 เดือน ต้องเลี้ยงลูกด้วยหลักคำสอนของผู้ใหญ่บ้าง ของตัวเองบ้างเพราะ…เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และยุคสมัยต่างกัน
ในขณะที่ยุคนี้คือ “ยุคดิจิทัล” โจทย์ในการเลี้ยงลูกเปลี่ยนแปลงทุกวัน เราเองก็ต้องตั้งรับให้ดีและเตรียมความพร้อมให้ลูกเช่นกัน
โน้ตเลิฟการอ่าน รักการเขียน ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ค่ะ

Blockdit : คุณแม่บ้านบ้าน
IG : notepatsita

สอนลูกพูดสองภาษาแบบพึ่งพาสัญชาติญาณแม่

การสอนลูกให้พูดสองภาษาน่ะพอเข้าใจ แต่การสอนแบบพึ่งพาสัญชาตญาณแม่นั้น มันเป็นอย่างไรหว่า วันนี้โน้ตจะบอกวิธีที่โน้ตใช้สอนลูกให้ฟังค่ะ

ท่องตัวอักษรให้ลูกฟังตั้งแต่วัยทารก

บางคนอาจตกใจว่าเราต้องสอนลูกตั้งแต่เป็นทารกเลยหรอ ใช่ค่ะ แต่การสอนคือไม่ได้สอนอะไรจริงจังนะคะ ยกตัวอย่างบางช่วงเวลา เช่น ช่วงเวลาที่โน้ตอุ้มน้องมินเดินเล่น หรือเวลาที่โน้ตอาบน้ำให้ลูก ก็จะท่อง ABC แบบเป็นเพลงให้ฟัง เป็นต้น

ถามว่าเขาจะจำได้ไหม? ไม่รู้นะคะ รู้แต่ว่าสัญชาตญาณแม่บอกให้ทำ 555 อ้อ…สำหรับหัวข้อนี้ โน้ตปรับใช้กับเรื่องการท่องสูตรคูณด้วยนะคะ เผื่อใครจะลองนำไปใช้บ้างก็ไม่ว่ากัน

พูดแนะนำสิ่งของใกล้ตัวเป็นภาษาอังกฤษ

ถ้าลูกยังอยู่ในวัยทารก คุณแม่ก็สามารถพูดแนะนำสิ่งของใกล้ตัวง่าย ๆ ได้ค่ะ โน้ตใช้วิธีนี้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทำประจำทุกวัน อาจเริ่มจากสิ่งของใกล้ตัวหรือของใช้ในชีวิตประจำวันก่อน เช่น แปรงสีฟัน จาน ช้อน ส้อม เสื้อ กางเกง ฯลฯ คือสิ่งของใกล้ตัวนี้ คุณแม่สามารถพูดขณะที่เราทำกิจกรรมนั้น ๆ อยู่กับลูกได้นะคะ เช่น ขณะแปรงฟัน เราก็พูดแนะนำลูกไป เป็นต้นค่ะ

เมื่อลูกอายุมากพอที่จะเข้าใจและสื่อสารกับเราได้มากขึ้นแล้ว ทีนี้เขาจะเป็นคนถามเราเองว่าสิ่งนั้นคืออะไร โน้ตก็จะบอกลูกแบบทั้งสองภาษา เพราะโน้ตเคยลองแล้วค่ะ ถ้าไม่บอกความหมายภาษาไทย น้องมินก็จะถามอยู่ดี ดังนั้น ส่วนตัวโน้ตจะไม่ซีเรียสว่า สอนลูกเป็นภาษาอังกฤษแล้วจะแปลไทยด้วยหรือไม่แปลไทยด้วย ยึดหลักว่าถ้าน้องมินถามก็บอก ถ้าไม่ถามก็จะบอกแค่เป็นภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่าง ช่วงนี้น้องมินจะสนใจเรื่อง Human Organs เอามาก ๆ

น้องมิน

หม่ะม้า… bone คืออะไร? Skeleton คืออะไร?

แม่โน้ต

นี่ค่ะ ถ้าเป็นส่วนเดียวเราจะเรียกว่า bone แต่ถ้ารวมเป็นรูปร่างคนแล้ว เราจะเรียกว่า skeleton ค่ะ

พูดประโยคภาษาอังกฤษง่าย ๆ กับลูก

นับย้อนไปเมื่อตอนที่โน้ตเริ่มพูดประโยคภาษาอังกฤษกับลูกประโยคแรก ตอนนั้นน้องมินอายุได้ประมาณ 2 ขวบ คือ

แม่โน้ต

Are you happy?

น้องมิน

(เงียบและงง) “………………..”

แม่โน้ต

หนูมีความสุขไหมคะ?

น้องมิน

(พยักหน้า)

แม่โน้ต

ถ้าหนูมีความสุข หนูก็ตอบ Yes นะคะ Are you happy?

น้องมิน

Yes.

พอน้องมินโตขึ้นมาได้หน่อย โน้ตก็จะสอนให้เขาพูดแบบเต็มประโยคถูกหลักไวยากรณ์ คือ Yes, I’m happy. ประมาณนี้ค่ะ ต้องบอกว่าการสอนให้ลูกพูดช่วงแรก ๆ ควรฝึกให้ถูกไวยากรณ์เอาไว้ก่อน แต่ถ้าลูกยังรับไม่ไหวให้ถอยลงมา 1 step ไม่อย่างนั้น “ความกดดัน” จะเกิดขึ้นทั้งแม่และลูก กลายเป็นไม่รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ด้านภาษาได้ค่ะ

การฝึกพูดไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพียงแต่เราต้องชวนลูกพูดคุยในทุก ๆ วัน เพิ่มเติมประโยคใหม่ ๆ ทุก 2 – 3 วัน เพื่อให้ลูกเกิดความเคยชิน จนกลายเป็นทุกวันนี้น้องมินก็จะชวนโน้ตคุยเป็นภาษาอังกฤษเองเลยก็มี

ใช้ตัวช่วยอย่าง Youtube

เรื่อง Youtube สำหรับบางครอบครัวคือ เรื่องใหญ่ เรื่องใหญ่ในที่นี้คือ ไม่ให้ดู ในขณะที่บางครอบครัวก็เรื่องใหญ่เหมือนกัน คือ “ลูกไม่ดู ไม่ได้

ต้องบอกว่าวิธีการเลี้ยงลูกในสไตล์โน้ต โน้ตเลี้ยงแบบสไตล์ตัวเอง คือ คือ “โบ-ดิจิทัล” ผสมผสานการเลี้ยงลูกระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ ทุกคนรู้ดีว่าของทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คำถามคือ…

แม่โน้ต

“ทำไมเราไม่ดึงเอาข้อดีของ Youtube มาใช้ล่ะ?”

เช่น คุมเวลาในการให้ลูกดู นั่งดูไปกับลูก (เพราะเราจะได้ควบคุม content ที่ลูกดูได้ และแถมได้มีกิจกรรมร่วมไปกับลูกด้วย) เพียงแต่การที่จะให้ลูกดูนั้น หากลูกอายุไม่ถึง 2 ขวบครึ่งหรือ 3 ขวบ ยังไม่ควรให้ลูกดูนะคะ

ตอนนี้น้องมินอายุเกือบ 5 ขวบแล้ว ผลที่ออกมาจากการที่โน้ตฝึกลูกพูดก็ถือว่า เราก็ดีใจในระดับหนึ่ง แต่ส่วนไวยากรณ์จะถูกบ้างหรือผิดบ้างก็ไม่เป็นไรนะคะ ค่อย ๆ แก้กันไป (มีคลิป) คลิปนี้อัดไว้ตอนน้องมินอายุได้ประมาณ 4 ขวบครึ่งค่ะ

ล่าสุดน้องมินร้องเพลง Frozen II ได้แล้วทั้งเพลง ส่วนแม่ยังร้องไม่เป็นเลยค่ะ ไม่ได้บอกว่าลูกตัวเองเก่ง คนอื่นที่เก่งกว่าน้องมินมีอีกเยอะ แต่สิ่งที่อย่างบอกคือ “ทุกอย่างต้องเกิดจากการฝึกฝนค่ะ” สอนด้วยสัญชาตญาณแม่ ซึ่งคุณแม่จะรู้ว่าลูกของคุณแม่นั้นรับได้กับการเรียนสองภาษาได้มากหรือน้อยแค่ไหน เพราะ “สัญชาตญาณแม่มักถูกต้องเสมอ” เป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP