ลูกขาโก่ง จะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนปกติ แบบไหนควรรักษา

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

คุณแม่ที่มีลูกเล็กก็คิดว่าตัวเองสังเกตลูกดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะ “ขา” และมั่นใจในตัวเองพอสมควรว่าลูกตัวเองขาไม่โก่งแน่นอน จนมีหลายคนทักว่า “ลูกขาโก่ง” ซึ่งคุณแม่เองก็ไม่แน่ใจว่าคนที่มาทักนี้มีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กมากหรือน้อยแค่ไหน (ยกเว้นถ้าเป็นคุณหมอมาทักนะคะ) จึงทำให้คุณแม่เริ่มพารานอยด์ เริ่มไม่แน่ใจว่าลูกตัวเองมีพัฒนาการขาที่ปกติหรือไม่ แบบไหนที่เรียกว่าปกติ และแบบไหนที่ควรได้รับการรักษา

ลักษณะภาวะขาโก่งในเด็ก

ภาวะขาโก่งในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบค่ะ มีทั้งโก่งออกด้านข้าง โก่งเข้าด้านใน โก่งไปด้านหน้า และโก่งไปด้านหลัง แต่ส่วนใหญ่ 95% ของเด็กวัยหัดเดินจะโก่งออกด้านนอก หรือโก่งออกข้าง ๆ

ภาวะขาโก่งในเด็กเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ

ต้องขดตัวเมื่ออยู่ในท้องคุณแม่

เพราะขณะที่เด็กอยู่ในท้องของคุณแม่ซึ่งเป็นที่แคบ จึงทำให้เด็กต้องงอแขนและขา จึงทำให้กล้ามเนื้อบางมัดและเส้นเอ็นบางเส้นมีอาการตึง ลักษณะของกระดูกจึงคดเล็กน้อย เมื่อคลอดออกมาจึงดูจะมีลักษณะขาที่โก่ง

เป็นช่วงที่เด็กหัดเดิน

เด็กในวัย 1-2 ขวบ จะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มหัดเดิน แต่ด้วยความที่เด็กยังไม่สามารถทรงตัวได้ จึงทำให้ต้องถ่างขาและงอเข่าเล็กน้อย จึงดูเหมือนว่าขาโก่ง

พัฒนาการขาเด็กในแต่ละช่วงวัย

เด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการขาที่เริ่มเป็นปกติขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะช้าหรือจะเร็วก็อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน (แต่ส่วนใหญ่จะไม่ต่างกันมาก)

  • 0-1 ขวบ ลักษณะขาโก่งของเด็กในวัยนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อลูกน้อยเริ่มหัดเดินก็จะมีลักษณะของขาโก่งจะมากหรือจะน้อยก็จะต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
  • 1.5 ขวบ แนวกระดูกที่เคยคด เมื่อเริ่มเข้าวัยนี้ โครงสร้างของกระดูกจะเริ่มตรงขึ้น และตรงชัดขึ้นเมื่ออายุเข้า 2 ขวบ หรืออย่างช้าไม่เกิน 3 ขวบ
  • 3.5 ขวบ วัยนี้ขาของเด็กจะโก่งเข้าด้านในเหมือนขาเป็ด ซึ่งโดยปกติแล้วต้นขากับน่องของเด็กจะทำมุมกันไม่เกิน 10-15 องศา ถ้ามากกว่านี้ควรปรึกษาคุณหมอ
  • 7 ขวบ เมื่อเด็กโตขึ้นองศาของขาที่โก่งเข้าด้านในจะปรับน้อยลงเหลือประมาณ 7 องศา

ขาโก่งแบบไหนที่ต้องรักษา

จริงอยู่แม้ภาวะขาโก่งจะเป็นภาวะที่ปกติในเด็ก สามารถหายเองได้เมื่อโตขึ้น แต่ก็มีบางกรณีเหมือนที่แม้ว่าลูกอายุมากกว่า 2 ขวบแล้ว ขาลูกก็ยังไม่ปกติแต่กลับยังโก่งเหมือนเดิม ซึ่งวิธีการสังเกตคือ

  • จับขาลูกให้เหยียดตรง ให้ตาตุ่มชิดกันให้มากที่สุด
  • สังเกตระยะห่างของขาด้านในให้อยู่ห่างกันที่ 5 ซม.
  • ให้สังเกตเพิ่มเติมขณะที่ลูกเดินว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่
  • ขณะที่ลูกยืนหรือเดินมีลักษณะของขาที่หมุนเข้าด้านในหรือไม่
  • เดินกระเผลกหรือเปล่า

หากลูกมีอาการที่ผิดปกติแม้ไม่ทุกข้อตามนี้ แต่ก็ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ

ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับเรื่องขาโก่ง

  • ดัดขาลูกตอนอาบน้ำจะทำให้ขาหายโก่งได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่จริงเลยและไม่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังทำให้ลูกเจ็บอีกด้วยค่ะ
  • การใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปจะทำให้ลูกขาโก่งมากขึ้น ข้อนี้ก็ไม่จริงค่ะ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนั้นยังสามารถใช้เป็นการรักษาภาวะข้อสะโพกเคลื่อนได้อีกด้วย
  • การอุ้มเข้าเอวจะทำให้ลูกขาโก่ง ไม่จริงเช่นกันค่ะ ข้อนี้ลักษณะจะเหมือนเรื่องของการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่สามารถช่วยเรื่องภาวะข้อสะโพกเคลื่อนได้

บอกได้ตรงนี้เลยค่ะคุณแม่ว่าคุณแม่ต้องตั้งหลักกันดี ๆ 555 ความเชื่อผิด ๆ ด้านบนเชื่อว่าคุณแม่ต้องเคยได้ยินมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่จริงนะคะ ให้คุณแม่ลองสังเกตขาลูกตามพัฒนาการที่กล่าวไว้ด้านต้น หากไม่มั่นใจให้ปรึกษาคุณหมอนะคะ

อ้างอิง
โรงพยาบาลเวชธานี
คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP