5 เทคนิคเลี่ยงการทะเลาะกัน เพราะแนวทางการเลี้ยงลูกไม่ตรงกัน

ชีวิตคู่
JESSIE MUM

ทุกคนที่มีชีวิตครอบครัว คงทราบกันดีว่า “ชีวิตคู่” ไม่มีอะไรง่ายและไม่ได้ราบรื่นตลอด เพราะต่างคนต่างเติบโตมาจากการเลี้ยงดูที่ต่างกัน ถึงแม้อาจใกล้กันแต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว มุมมองและความคิดก็ต่างออกไปเช่นกัน

หากบ้านไหนมีลูกด้วยกันแล้วล่ะก็ “การปรับตัว ปรับความคิด ปรับการกระทำหรือพฤติกรรม” เหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทมาก เพราะบางครอบครัวข้ามปัญหาเหล่านี้ไม่พ้น บานปลายจนเป็นเหตุให้เลิกกันก็มีมานักต่อนักแล้ว แต่ประเด็นหลักคือ เราจะทำอย่างไรหากความคิดเห็นไม่ตรงกันเรื่องลูก และทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลาย โดยที่เด็กไม่ต้องมานั่งรับปัญหาที่พ่อแม่สร้างไว้แทน

5เทคนิครับมือจากแนวทางการเลี้ยงลูกไม่ตรงกัน

ไม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก

เรื่องบางเรื่องในการสอนลูก หากมีความคิดเห็นไม่ตรงกันต่อหน้าลูก หากไม่ใช่เรื่องร้ายแรงหรือเร่งด่วนอะไร หากยอมๆ กันได้ก็ยอมกันไปก่อน เพราะหากยิ่งดันทุรังพูดกัน ก็จะกลายเป็นเถียงกัน ยิ่งเถียง เสียงก็จะยิ่งดังขึ้น กลายเป็นคุณแม่ตะคอกใส่คุณพ่อ คุณพ่อก็ไม่ยอมตะโกนใส่หน้าคุณแม่ ข้ามหัวลูกไปมา

สิ่งที่เด็กจะคิดและจำก็คือ ทำไมแม่ต้องเสียงดังใส่พ่อ ทำไมพ่อต้องตะคอกกลับ ทำให้เด็กเกิดแผลในใจกับเรื่องนั้นๆ หากคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบนี้บ่อยๆ จะส่งผลทางใจอย่างรุนแรงกับลูกได้ทีเดียวค่ะ บางคนถึงขั้นว่าไม่อยากมีครอบครัวเลย (จากประสบการณ์ตรงแม่โน้ตเลย)

ตกลงกัน ว่าใครจัดการเรื่องไหน

เรื่องของพ่อบ้าน แม่บ้าน หน้าที่และความรับผิดชอบควรตกลงกันให้ดี หรือถ้าหากเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรยกให้อีกคนเป็นคนจัดการและตัดสินใจไปเลยค่ะ เช่น คุณพ่อมักจะชอบซื้อของเล่นให้ แต่คุณแม่กำลังพยายามที่จะสอนให้ลูกเป็นคนรักสิ่งของ จึงไม่อยากให้ลูกได้ของเล่นมาง่ายๆ แต่หากลูกอยากได้ของเล่น แล้ววิ่งไปขอคุณพ่อ แบบนี้ให้คุณพ่อบอกลูกได้เลยค่ะ ว่าลองถามคุณแม่ก่อน ถ้าคุณแม่ว่าอย่างไรก็ว่าตามกัน

เพราะเรื่องการสอนลูกและการปลูกฝังในเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลองค่อยๆ คุยกันดูนะคะ

มองที่ผลลัพธ์เป็นหลัก

เช่น หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้ ก็ควรปล่อยให้ลูกได้ลองเอง ซึ่งบางครั้งคุณแม่อย่างเราๆ ก็อยากที่จะเข้าไปช่วยลูก อยากเข้าไปแนะนำขั้นตอน แต่บางครั้งลูกก็อยากหาวิธีของเค้าเองเหมือนกัน รวมถึงคุณพ่อด้วยที่อยากให้ลูกหาทางเอง ถ้าเป็นอย่างนี้ ลองมาพบครึ่งทางดูไหมค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ตกลงกันว่า ถ้าลูกทำไม่ได้แล้ว 2-3 ครั้ง เราค่อยเข้าไปบอกลูก ยกเว้นเสียแต่ว่าลูกยังคงอยากหาทางเอง เพราะถึงอย่างไร ผลสุดท้ายก็คือ ลูกจะสามารถเรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองได้ในที่สุด

ให้ลูกได้ร่วมออกความคิดเห็น

ข้อนี้แม่โน้ตจะพูดเสมอเกี่ยวกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3-6 ขวบ ขึ้นไปว่าเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีความคิดริเริ่มเป็นของตนเอง เริ่มอยากทำโน่นทำนี่ด้วยตัวเอง อยากมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ดังนั้น จะดีมากหากคุณพ่อคุณแม่คิดไม่ตกว่าจะเอาอย่างไรดี ลองโยนคำถามให้ลูกได้ลองคิด ลองเลือก และลองตัดสินใจกันดูก็ได้นะคะ บางครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้คำตอบที่ดีแบบที่คุณพ่อคุณแม่คิดไม่ถึงก็ได้ค่ะ

เรียนรู้แนวทางการสอนที่ผ่านมา

ที่ต้องบอกว่า “เรียนรู้” ก็เพราะว่า จากประสบการณ์การเลี้ยงลูกที่ผ่านมาของคุณพ่อคุณแม่ย่อมมีเรื่องราวที่เห็นไม่ตรงกันบ้าง แล้ว ณ ตอนนั้น คุณพ่อคุณแม่ผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาได้อย่างไร? เรื่องไหนที่ผ่านมาได้ด้วยดีก็ให้จดและจำวิธีการนั้นไว้ เพื่อเป็นการลดการขัดแย้ง การเลี้ยงลูกก็จะมีประสิทธิมากขึ้น ลูกๆ ก็เป็นเด็กดี มีความสุข มีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใสค่ะ

แนวทางการเลี้ยงลูกของแต่ละคนก็จะมีแนวทางต่างกันไป แต่คงไม่เป็นอะไรหากคนเหล่านั้นไม่ใช่คู่สามีภรรยาของเรา “การทำให้ครอบครัวไปได้ตลอดรอดฝั่ง” เป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้บางบ้านจะไม่ได้เป็นครอบครัวที่อบอุ่นอะไรมากนัก แต่ก็อยู่กันได้ด้วยความรัก ความเข้าใจ และการให้อภัยซึ่งกันและกัน เท่านี้เด็กๆ ก็จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมได้แล้วค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP