กับประโยคนี้ คิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างไม่มากก็น้อย หลายคนที่ยังไม่มีแฟน ยังไม่ได้แต่งงาน อาจจะกำลังมองหารักแท้อยู่ บางคนมีแฟนแล้ว แต่สุดท้ายต้องมีอันเลิกกัน หรือบางคนอาจจะกำลังเหนื่อยใจกับความรักที่ไม่สมหวังซะที
จนคำถามนี้ผุดขึ้นมาในใจ วันนี้ผู้เขียนมีวิธีดูเนื้อคู่ตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มาฝากค่ะ
style=”display: block; text-align: center;”
ศีลเสมอกัน
การที่เราจะได้คู่ครองที่เหมาะสมกันนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเอาไว้ว่า
“ดูก่อนคฤหบดีและคฤหปตานีถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกัน ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ (ชาติหน้า) ไซร้ทั้งสองคนนั้นแลพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกัน ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ…” (สมชีวสูตร จ. อํ. (๕๕)ตบ. ๒๑ : ๘๐-๘๑ ตท. ๒๑ : ๗๑ ตอ. G.S. II : ๗๐)
การเลือกเนื้อคู่ที่เหมาะสม
ศรัทธาเสมอกัน
“ศรัทธา” คือ อะไร?
คือ ความเชื่อ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โดยความเชื่อนี้ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องมาประกอบกันด้วยก็จะเป็นการดีมาก เพราะจะช่วยให้คนสองคน ไม่ต้องมานั่งโต้แย้งถกเถียง เอาชนะคะคานกัน เพื่อต้องการให้ความเชื่อของตัวเองชนะ
คนสองคนควรมีความเชื่อเสมอกันและไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เชื่อในหลักศาสนาเดียวกัน เชื่อว่าทำดีแล้วจะเจริญ เชื่อว่าทำบุญต้องได้บุญ ทำบาปก็ต้องได้บาป หรือเชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเอง เป็นต้น เพราะไม่เช่นนั้น จะคุยกันไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว
การที่คนสองคนจะมาพบ มาใช้ชีวิตคู่กันได้ นั่นเป็นเพราะ “กรรมลิขิต” แต่ละคนมีวิบากกรรม ซึ่งมันได้กำหนดไว้แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนสองคนมาชดใช้กรรมที่ต่างคนต่างทำไว้ให้หมดสิ้นไป จะเร็วหรือจะนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่ากรรมนั้นจะหนักหรือจะเบาแค่ไหน เมื่อหมดแล้วก็จะแยกย้ายจากกันไป
ศีลเสมอกัน
จะว่าไป “ศีล” นับเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ คือ เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติมีกาย วาจา ใจ เป็นอิสระ จากเครื่องเหนี่ยวรั้งทั้งปวง และปกป้องตัวเองจากความเสื่อมทั้งหลาย และพ้นจากกรรมชั่ว ที่จะกลับมาสนองกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติในศีล
กลับกัน หากคนสองคนมีศีลไม่เท่ากัน ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ โกหกจะเป็นนิสัย เมามาย งานบ้านไม่ทำ ลูกไม่เลี้ยง อะไรจะเกิดขึ้น แบบนี้คงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแบบไม่ปกติสุขหรืออยู่ด้วยกันไม่ได้
แต่…ถ้าทั้งคู่หมั่นถือศีล ไปวัดทำบุญทำทาน ดูแลศีลไม่ให้ขาดตกบกพร่อง สิ่งนี้จะเกิดเป็นอานิสงส์บุญที่สูงกว่าการให้ทาน เป็นบุญกุศลที่ทำร่วมกัน
จาคะเสมอกัน
จาคะ หมายถึง การสละสิ่งของและความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น รวมไปถึงการละกิเลส ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความใจแคบ และความประพฤติไม่ดี ก่อให้เกิดความบาดหมางทะเลาะเบาะแว้งกัน
จะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ลองคิดดู หากเราได้คู่ที่ไม่มีน้ำใจ ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีแต่ความโลภ ตัดช่องน้อยแต่พอตัว ทำมาหากินได้มา ก็เลี้ยงแต่ปากท้องของตัวเอง หรือ…ยกตัวอย่าง ตอนเป็นแฟนกัน ของขวัญวันเกิดไม่เคยมีมาให้ซักชิ้น หรือไม่เคยแม้แต่จะเลี้ยงข้าว ไปกินข้าวด้วยกันก็ต้องอเมริกันแชร์ หากแต่งงานกันไป คงอยู่ด้วยกันได้ไม่นาน
กลับกันหาคนสองคนต่างคนต่างให้ คนให้ก็มีความสุขในการให้ ผู้รับก็มีความยินดีในการรับ เกิดชาติหน้าก็จะต้องมาเจอกันอีก กลับมารับบุญที่ต่างทำให้กัน มารับความสุข ความเจริญร่วมกัน
ปัญญาเสมอกัน
พระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอริยสงฆ์องค์หนึ่งของเรา ครั้งหนึ่งท่านได้ตอบคำถามให้กับลูกศิษย์ เมื่อลูกศิษย์คนนั้นถามท่านว่า ปัญญาคืออะไร
“ปัญญา โดยความหมายทั่วๆ ไปแล้วแปลว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา หรือจะแปลว่าความเฉลียวฉลาดก็ได้นะ มิใช่รู้อย่างเดียวต้องนำเอาความรู้ที่ได้นั้นมาพิจารณาด้วย หรือมิใช่ฉลาดอย่างเดียว ต้องมีเฉลียวใจด้วย จึงจะเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงถึงแก่นแท้ของการรู้ในแต่ละอย่างได้นั่นแหละจึงจะเรียกว่า ปัญญา”
หากคนทั้งคู่มีปัญญาเสมอกัน ก็จะมีความเชี่ยวชาญที่สามารถเกื้อหนุนกันได้ แต่หากมีปัญญาทีความรู้ที่ต่างกันมากไป ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เพราะจะขัดกันในความคิดตลอด
นอกจากเรื่องของ “ศีลเสมอกัน” แล้ว การที่จะเป็นเนื้อคู่ที่ดี เกื้อกูลกันแล้ว “การให้อภัย” ก็สำคัญไม่แพ้กัน เป็นฟันเฟืองอีกหนึ่งตัวที่จะทำให้ชีวิตคู่ยืนยาวค่ะ