ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน อนุบาล พร้อม 7 วิธีรับมือ

ไลฟ์สไตล์
JESSIE MUM

เมื่อลูกน้อยอายุได้ประมาณ 3 – 4 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ต้องเข้าเรียนในชั้นอนุบาล เด็กส่วนใหญ่ก็จะร้องไห้งอแงตั้งแต่วันแรก บางคนก็ร้องเอาวันที่ 3 บ้าง 4 บ้างก็มี เพราะเด็กในวัยนี้เค้าจะมีความกังวลเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ เพราะที่ผ่านมาเค้าอยู่กับคุณพ่อคุณแม่มาตลอด บางรายยอมไปโรงเรียนในช่วง 2 – 3 วันแรก พอวันต่อมาร้องไห้งอแงไม่อยากไปอีก เกิดเป็นภาวะไม่ยอมไปโรงเรียนได้

สาเหตุของภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน

การที่ลูกร้องไห้ งอแง ไม่ยอมไปโรงเรียนนั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

เกิดความกังวลว่าจะต้องห่างจากคนรัก

เพราะความที่ลูกน้อยไม่รู้ว่าที่โรงเรียน เขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง และต้องห่างจากคุณพ่อคุณแม่ จึงเป็นธรรมดาที่จะร้องไห้งอแงไม่อยากไปโรงเรียน ในเด็กบางรายมีพื้นฐานที่เป็นเด็กขี้วิตกกังวลอยู่แล้ว หรือได้รับการเลี้ยงดูมาแบบประคบประหงม ปกป้องมากเกินไป แบบนี้ก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่อยากไปโรงเรียนได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่น ๆ

มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน

ด้วยความที่เด็กแต่ละคนมีพื้นฐาน มีพัฒนาการที่ช้าเร็วต่างกัน เด็กบางคนอาจเรียนตามเพื่อนไม่ทัน จึงรู้สึกว่าไม่อยากไปโรงเรียนอีก

เข้ากับเพื่อนไม่ได้

อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญคือ การเข้ากับเพื่อนไม่ได้ มักชอบเล่นคนเดียว โดยมากมักจะเกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจเกินไป อยากได้อะไรต้องได้ทันที ไม่รู้จักการแบ่งปัน ดังนั้น เวลาเล่นกับเพื่อนก็มักจะเอาของเล่นมาเล่นเองคนเดียวไม่แบ่งใคร

เคยถูกลงโทษอย่างรุนแรงที่โรงเรียน

ลูกมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากคุณครู ได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ทั้งที่ครูตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จึงรู้สึกขยาดและหวาดกลัว ไม่อยากไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน

ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเด็กเล็กที่จะรู้สึกกังวลใจหากต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อไปเข้าโรงเรียน และไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน หากคุณพ่อคุณแม่จะมีความกังวล และห่วงลูกจนเก็บอาการไม่อยู่ เพราะฉะนั้น การที่จะโน้มน้าวให้ลูกยอมไปโรงเรียนแต่โดยดีไม่ร้องงอแง ต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ ด้าน มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่แสดงความกังวลให้ลูกเห็น

แม่โน้ตเชื่อว่าเป็นกันทุกคนนะคะ เรื่องความกังวลของคุณพ่อคุณแม่เป็นวันแรกที่ลูกน้อยของเราต้องออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่เข้าสังคมใหม่ และสิ่งแวดล้อมใหม่หมด ห่วงไปหมดค่ะว่าเค้าจะอยู่ได้ไหม? เข้ากับเพื่อนได้ไหม? จะช่วยเหลือตัวเองได้ไหม? ฯลฯ ห่วงได้ค่ะ แม่โน้ตก็ห่วงแต่เราต้องเก็บอาการ แล้วพูดให้ลูกฟังเสมอๆ ว่าที่โรงเรียนมีอะไรสนุกๆ ให้ทำบ้าง เช่น มีสนามเด็กเล่นที่กว้างขวาง มีของเล่นเยอะแยะ ได้คุย ได้เล่นกับเพื่อนๆ ในห้อง หรือหนูจะมีเพื่อนในวัยเดียวกันเยอะเลย เป็นต้น

อยู่ใกล้ลูกที่โรงเรียนในสัปดาห์แรก

ในสัปดาห์แรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะอยู่ใกล้ลูกที่โรงเรียนก่อน โดยอยู่ข้างนอกห้องเรียนนะคะ ให้ลูกได้เห็นว่ายังมีคุณแม่นั่งอยู่ ไม่ว่าจะเวลาที่เค้าเล่นหรือเรียนก็ตามให้ลูกได้เลือกว่าเค้าจะวิ่งมาหาคุณแม่ดีหรือจะนั่งทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ดี ซึ่งการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ดูจะน่าสนใจกว่า เพราะเป็นสิ่งใหม่ เป็นสิ่งที่ที่บ้านไม่เคยทำ (เพราะมีเพื่อนเยอะกว่าที่บ้าน)

ทั้งนี้ ทั้งนั้นข้อนี้คุณพ่อคุณแม่คงต้องถามคุณครูก่อนนะคะว่าทางโรงเรียนอนุญาตหรือไม่

รับ-ส่งลูกด้วยตัวเองในสัปดาห์แรก

ข้อนี้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านกันทั้งคู่ แต่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูก ในสัปดาห์แรกคุณพ่อคุณแม่คงต้องเสียสละมารับลูกเองเพื่อให้ลูกได้มั่นใจว่า “คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ทิ้งลูกไปไหน

โดยก่อนที่จะให้ลูกเข้าห้องเรียน ให้คุณพ่อคุณแม่ล่ำลาลูกกันแบบสั้นๆ ไม่ต้องนานนะคะ บอกกับลูกว่า “ตอนเย็นแม่จะมารับ” เพราะยิ่งพูดนานลูกยิ่งใจเสีย ไม่อยากอยู่โรงเรียนถ้าลูกนึกได้เดี๋ยวร้องงอแงขึ้นมาอีกค่ะ

ไปรับลูกให้ตรงเวลา

เนื่องจากลูกก็มีความกังวล มีความกลัวเป็นทุนเดิม ดังนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่บอกลูกแล้วว่าจะมารับกี่โมงก็ควรไปให้ตรงเวลาหรือไปรอก่อนเวลาได้ยิ่งดีค่ะ เพราะเลิกเรียนสิ่งแรกที่เค้าจะทำคือ นั่งชะเง้อคอมองหาหน้าคุณพ่อคุณแม่ กลับกัน…หากคุณพ่อคุณแม่ไปช้ากว่าที่สัญญากับเค้า เค้าจะเริ่มรู้ไม่มั่นใจ เริ่มรู้สึกเหมือนเค้าถูกทอดทิ้ง สุดท้ายเค้าจะไม่อยากไปโรงเรียน

พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ

การพูดคุยกับลูกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญค่ะ อาจถามลูกว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้างเรียนสนุกไหม? ได้เพื่อนใหม่หรือยัง? วันนี้เรียนอะไร? กลางวันทานอะไรทานข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว? (ถามแบบกว้างๆ นะคะ เพราะบางครั้ง บางเมนู เด็กๆ ก็จะยังไม่รู้จัก ก็จะคุยต่อไม่ถูก)

ตัวอย่างที่แม่โน้ตถามน้องมิน :

แม่โน้ต

วันนี้หนูได้นอนกลางวันหรือเปล่าคะ?

น้องมิน

นอนค่ะ

แม่โน้ต

ดีจังเลยลูก

น้องมิน

น้องมินนอนลืมตา…

แม่โน้ต

“………”

คือการพูดคุยกับลูก เป็นการบอกให้เค้าได้รู้ว่า คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจเค้า ไม่ได้ทิ้งเค้าไปไหน และที่สำคัญ เป็นการฝึกทักษะการพูด การเรียบเรียงเรื่องราว และการถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างดีอีกด้วยนะคะ

ไม่สร้างการรับรู้ที่ไม่ดีให้ลูก

ไม่ว่าจะเป็นวัยก่อนเข้าเรียนหรือวัยเรียน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรสร้างการรับรู้หรือสร้างทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับคุณครูนะคะ เช่น ถ้าร้องไห้มากๆ เดี๋ยวครูตีเอานะ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อพูดบ่อยๆ ภาพจำของเด็กที่มีต่อครูคือ ครูเป็นคนดุ ชอบตี ชอบลงโทษ จะทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียน
ซึ่งในบางครั้งต้องเจอครูประจำชั้นที่อาจจะเสียงดัง แต่ไม่ใช่ครูที่ดุ เด็กก็จะกลัวไปก่อนแล้ว ทำให้เวลามีข้อสงสัยเรื่องการเรียนก็จะไม่กล้าเข้าหาครู

สร้างความมั่นใจให้ลูก

ย่างที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านทราบกันดีว่า เด็กเมื่ออยู่รวมกันหลายๆ คน มักจะชอบทำตามกัน หรือชอบเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนคนอื่นๆ อย่างเช่น ในเรื่องของการช่วยเหลือตัวเอง
เด็กบางคนถูกเลี้ยงอย่างประคบประหงมไม่ค่อยได้ช่วยเหลือตัวเองเท่าไหร่ อย่างนี้เมื่อเข้าสังคมกับเพื่อนๆ ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เข้ากับกลุ่มเพื่อนไม่ได้ รู้สึกโดดเดี่ยว ก็จะคิดถึงคุณพ่อคุณแม่ขึ้นมาทันที สุดท้ายร้องไห้ ไม่อยากไปโรงเรียน
ดังนั้น เราควรเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกด้วยการหัดให้เค้าช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดนะคะ

ทั้งนี้ เด็กจะร้องไห้งอแงอย่างนี้อยู่ประมาณ 3 สัปดาห์ แต่หากเกินกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่คงต้องปรึกษาคุณครูหรือคุณหมอ เพื่อหาทางแก้ไขด่วนนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP