วิธีเคาะเสมหะทารก ลูกน้อย พร้อม 7 ท่าเคาะปอดที่ถูกวิธี ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

ในช่วงที่เปลี่ยนฤดุกาลร่างกายเด็กเล็กมักจะปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้มีอาการป่วยได้ โดยทั่วไปอาการป่วยมักเริ่มจากจาม ต่อมาคือ ไอ และมีไข้ หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยการมีน้ำมูก ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ลูกมีน้ำมูกอาการไอก็จะมากขึ้น เนื่องจากมีเสมหะในลำคอมาก
จากอาการที่ว่ามานี้ “อาการไอ” เป็นอะไรที่หายช้าสุด บางรายไอแห้ง บางรายไอแบบมีเสมหะ แต่หากลูกไอแบบมีเสมหะนานๆ คงไม่ดีแน่ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะช่วยอะไรลูกได้บ้าง?

การเคาะปอด” เพื่อช่วยระบายเสมหะให้ลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ที่บ้านนะคะ ผู้เขียนก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน พบว่าตอนกลางคืนจากที่เคยไอแบบนอนไม่ได้กันทั้งบ้าน พอหลังจากเคาะปอดให้ลูก ลูกหลับยาวขึ้นและไอน้อยลง วันนี้ผู้เขียนมีวิธีการและรายละเอียดมาฝากค่ะ

อาการไอเกิดจากอะไร?

การไอเกิดจากการที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายก็จะพยายามกำจัดออกด้วยการไอ แต่เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถบ้วนเสมหะออกมาเองได้ ดังนั้น การเคาะปอดร่วมกับการจัดท่าเคาะปอดให้ถูกต้องก็จะเป็นกันช่วยลูกระบายเสมหะที่ติดออกมาได้

หลักการทั่วไปในการเคาะปอด

  • การจัดท่าเคาะปอดให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เนื่องจากการเคาะปอดเป็นวิธีที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นหลัก โดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบายอยู่เหนือกว่าหลอดลม และปาก ส่งผลให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่หลอดลมใหญ่ และถูกขับออกได้จากการไอ และจะบ้วนเสมหะออกมา
  • การเคาะ (Percussion) เราจะใช้อุ้งมือไม่ใช่ฝ่ามือ โดยให้ฝ่ามือทำเป็นลักษณะคุ้ม โดยให้นิ้วแต่ละนิ้วชิดกัน แล้วเคาะบริเวณเราจัดท่าไว้
  • ใช้ผ้ารองบนส่วนที่เคาะ
  • การเคาะในแต่ละท่าควรใช้เวลา 1 นาที
  • หากผู้ป่วยไอขณะเคาะ ให้หยุดเคาะ แล้วใช้การสั่นสะเทือนแทน โดยใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน และหัวไหล่ ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่ และกำลังหายใจออก
  • ควรทำการเคาะปอดก่อนการทานอาหาร หรือขณะท้องว่าง หรือหลังทานอาหารไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักหรืออาเจียน

ข้อมูลอ้างอิง symphaet.co.th

เมื่อไหร่ที่ควรเคาะปอด?

  • ไอบ่อย มีเสมหะมาก หายใจครืดคราด
  • จากภาพรังสีทรวงอก พบว่าปอดแฟ่บ เหตุจากการอุดตันของเสมหะ
  • ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง
  • ผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด ที่ยังคงมีปัญหาเสมหะคั่งค้างในปอดและหลอดลม
  • ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาด้านระบบประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยยังมีปัญหาการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลม

7 ท่าทางเคาะปอดที่ถูกต้อง

ขอบคุณคลิปจาก Thirathat Thongkaew

ท่าที่ 1 : ปอดกลีบซ้ายบน ส่วนยอด

จัดท่าให้ลูกน้อยอยู่ในท่านั่ง เอนตัวมาด้านหลังเล็กน้อย หรือประมาณ 30 องศา แล้วให้เคาะบริเวณด้านบนเหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างไหปลาร้าและกระดูกสะบัก

ท่าที่ 2 : ปอดกลีบซ้ายบน ด้านหลัง

จัดท่าให้ลูกน้อยนั่งคร่อมคุณแม่โดยให้หันหน้าเข้าหาคุณแม่ เอนตัวลูกไปประมาณ 30 องศา บนแขนของคุณแม่ แล้วเคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอ และหัวไหล่

ท่าที่ 3 : ปอดกลีบซ้ายบน ด้านหน้า

จัดท่าให้ลูกนอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย

ท่าที่ 4 : ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง

จัดท่าลูกน้อยโดยให้ศีรษะต่ำลงมาประมาณ 15 องศา และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาประมาณ ¼ จากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย

ท่าที่ 5 : ปอดกลีบซ้ายล่าง ส่วนชายปอดด้านหน้า

จัดท่าลูกน้อยให้นอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ให้ศีรษะต่ำลงมาเล็กน้อยประมาณ 30 องศา ให้คุณแม่ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อย แล้วเคาะบริเวณเหนือชายโครงดด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย

ท่าที่ 6 : ปอดกลีบซ้ายล่าง ส่วนชายปอดด้านข้าง

จัดท่าลูกน้อยให้ศีรษะต่ำลงมาประมาณ 30 องศานอนตะแคงเกือบ ๆ คว่ำ เคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครง ให้อยู่ในระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อมรักแร้ของเด็ก

ท่าที่ 7 : ปอดกลีบซ้ายด้านล่าง ส่วนหลัง

จัดท่าลูกน้อยให้ศีรษะต่ำลงมาประมาณ 30 องศา ในท่าคว่ำ แล้วเคาะบริเวณด้านหลังต่ำลงมาจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกันกับชายโครงด้านหน้า
ข้อมูลอ้างอิง amarinbabyandkids.com

หยุดเคาะทันที หากลูกมีอาการดังนี้

  • ลูกบอกว่าเจ็บ หรือปวดบริเวณที่ถูกเคาะ
  • ลูกหอบเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจปีกจมูกบาน
  • ร้องไห้ งอแงมากกว่าเดิมจนผิดสังเกต

ข้อห้ามสำหรับการเคาะปอด

  • เคยมีประวัติกระดูกหักบริเวณทรวงอก
  • มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง วัณโรคปอด
  • มีอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว
  • มีแผลเปิด หรือมีแผลหลังผ่าตัดที่ยังไม่หายดี
  • มีภาวะกระดูกผุ
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการที่เลือดจะออกง่าย โดยสังเกตได้จากสีผิวที่เปลี่ยนไป สีปากคล้ำ หน้าซีด สัญญาณชีพผิดปกติ เช่น ไข้ขึ้นสูง หายใจเร็ว และมีความดันโลหิตสูง
  • ความถี่ในการเคาะปอด

ความถี่ในการเคาะปอด

ช่วงเช้า

เพราะเป็นช่วงที่เสมหะคั่งค้างมาตลอดคืน เมื่อลกตื่นมาตอนเช้า จึงทำให้ลูกไอมาก การเคาะในช่วงเช้าจะเป็นการช่วยระบายเสมหะให้ลูกได้

ก่อนเข้านอน

เพื่อให้ลูกได้หลับยาวขึ้น หายใจโล่งขึ้น
หรือหากคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้อีกครั้งในช่วงบ่ายก่อนลูกหลับกลางวันก็จะดีค่ะ จะช่วยให้เค้าไม่หายใจครืดคราด จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

รู้ได้อย่างไรว่าเคาะปอดได้อย่างถูกต้อง

สังเกตได้ง่ายมากค่ะ หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่เคาะปอดให้ลูกน้อยแล้ว หากมาถูกทาง ลูกน้อยจะหลับได้นานขึ้น ไอน้อยลง ซึ่งของผู้เขียนเห็นได้ชัดเลย จากที่คืนก่
อนไอแบบแทบจะไม่ได้นอน แต่พอลองมาเคาะปอดดู เค้าหลับได้นานขึ้น ไอน้อยลง คุณพ่อคุณแม่ก็ได้พักมากขึ้นอีกด้วยค่ะ
การเคาะปอด หากเรารู้วิธีที่ถูกต้องก็สามารถทำได้เองที่บ้านนะคะ เพื่อความสุขของคุณพ่อคุณแม่เอง เวลาที่เห็นลูกนอนหลับได้นานขึ้นค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP