มาจัดการโซเชียลมีเดียให้ลงตัวกับลูกกัน

ไลฟ์สไตล์
JESSIE MUM

โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามีความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากเพราะแค่กดไม่กี่ครั้งเราก็สามารถติดต่อสื่อสารและรู้ทันข่าวสารได้ในเวลาอันรวดเร็วเพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิตเราง่ายกันขึ้นเยอะเลย แต่แน่นอนว่ามีอีกอย่างที่ทุกคนรู้กันดีนั่นก็คือทุกอย่างมีสองด้านเสมอ โซเชียลมีเดียก็เช่นกันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแล้วยิ่งถ้าข้อเสียนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ส่งผลมาสู่ลูกของคุณที่เกิดมาในยุคไฮเทคแบบนี้และทุกอย่างรอบตัวเขาตั้งแต่เขาเกิดมาก็เป็นแบบนี้ไปซะแล้วดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องสอนให้เขารู้จักและเข้าใจการใช้โซเชียลมีเดียให้ถูกทางและเหมาะสมเอาไว้เพื่อให้เขารู้เท่าทันและได้รับประโยชน์จากโซเชียลมีเดียอย่างแท้จริงแทนจะดีกว่า

มาเริ่มจัดการทุกอย่างให้ลงตัวกันดีกว่า

1.เทียบสถานการณ์กับอายุของลูกแล้วปรับให้เหมาะสม

ในความเป็นจริงแล้วอายุของเด็กที่เหมาะกับการเริ่มเข้าไปใช้โซเชียลมีเดียยกตัวอย่างเช่น Facebook นั้นจะมีอายุที่แนะนำกันอยู่ที่วัย 13-15 ปีขึ้นไป แต่ในขณะนี้เด็กที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าวก็มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้กันได้แล้วและหากเขาได้รับการขัดใจไม่ให้เล่นเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะแอบไปสมัครบัญชีลับๆ มาไว้เล่นและคุณพ่อคุณแม่ก็จะไม่สามารถตรวจสอบได้อีกด้วย

ดังนั้นคุณต้องลองหาไอเดียที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกได้เล่นและอยู่ในสายตาอย่างเช่นในตอนนี้ Facebook ก็รู้ถึงปัญหานี้จึงพยายามช่วยแก้ไขโดยการสร้าง Messenger Kids แอพฯ ที่จะทำให้เด็กๆ วัย 6-12 ปีสามารถแชทกับเพื่อนๆ ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีบัญชี Facebook นั่นเอง

2.คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักและรู้ทันทุกโซเชียลมีเดีย

แม้ว่า Facebook แอพฯ ยอดนิยมจะพยายามช่วยเหลือแล้วในระดับหนึ่งแต่มันก็ยังมีอีกหลายสื่อที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงและสนใจมันได้อีกทั้ง Twitter, Youtube, Instagram เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาและหาวิธีป้องกันเช่น อาจจะสมัครบัญชีให้ลูกและตั้งค่าเป็นการใช้งานสำหรับเด็กหรือปิดเป็นส่วนตัวเอาไว้เพื่อที่จะสามารถคัดกรองการเข้ามาติดตามลูกๆ ได้เป็นต้น

3.เล่าให้ลูกฟังและอธิบายให้เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับอันตรายจากโซเชียลมีเดีย

กรณีศึกษาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงน่าจะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เด็กๆ เข้าใจและเห็นภาพรวมไปทั้งระวังตัวกันมากขึ้นได้แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็จำเป็นต้องคอยสอนและแนะนำซ้ำๆ เพื่อให้เขาค่อยๆ เรียนรู้เพราะเด็กๆ จะขาดการไตร่ตรองและคิดให้รอบคอบก่อนจะทำอะไรแน่นอนว่าเขายังขาดประสบการณ์ในการใช้ชีวิตแต่คุณพ่อคุณแม่ก็ทำได้เพียงป้อนข้อมูลและคอยดูแลกันต่อไปเพื่อให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเองและเข้าใจมันได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

4.ให้บริเวณการเล่นโซเชียลมีเดียของลูกอยู่ใกล้ตา

คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ต้องไปนั่งจ้องตลอดเวลาว่าเขากำลังทำอะไรอยู่แต่เมื่อวางอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในที่ใกล้ตาก็จะสามารถควบคุมดูแลลูกได้ดีในระดับหนึ่งแต่ก็ต้องไม่กดดันเขาจนมากเกินไปเช่นกัน และอาจจะมีกฎเกณฑ์กันเพิ่มเติมว่าห้ามนำอุปกรณ์ต่างๆ ไปเล่นเพียงลำพังเพราะนอกจากจะห่างไกลสายตาแม้เด็กๆ จะไม่ได้ทำอะไรผิดแต่เขาก็อาจจะเล่นเพลินจนลืมทำการบ้านและพักผ่อนแถมยังอาจมีผลต่อสายตาของเขาอีกด้วย

5.ต้องมีกฎกันบ้าง

เริ่มแรกเลยที่ต้องมีกฎนั่นก็คือเวลาในการเล่นนั่นเองเพราะถือเป็นทั้งการจำกัดขอบเขตในการเล่นให้คุณพ่อคุณแม่ควบคุมได้และยังไม่ยอมให้หน้าจอและแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ต่างๆ มาทำร้ายสายตาของลูกได้อีกด้วย อย่าลืมที่จะเข้าไปเช็คการตั้งค่าของลูกให้ปลอดภัยอยู่เสมอ รวมทั้งคุณอาจจะต้องกำหนดว่าจะเล่นได้ก็ต่อเมื่องานที่ต้องรับผิดชอบของเขาเสร็จเรียบร้อยแล้วด้วย

แต่จำเป็นมากที่คุณต้องทำทุกอย่างให้อยู่บนความพอดีเพราะถ้าคุณบังคับและกดดันลูกมากเกินไปนั่นอาจจะทำให้ความใส่ใจของคุณทำร้ายเขาทำให้เขาเครียดและไม่กล้าปรึกษาเมื่อเกิดเรื่องราวขึ้นบนโซเชียลมีเดียก็เป็นได้

ความพอดีของทั้งการดูแลใส่ใจจากคุณพ่อคุณแม่และความพอดีในการเล่นโซเชียลมีเดียของลูกนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องสมดุลกันเพื่อที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความสุขร่วมกันและสามารถแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่ได้จากโซเชียลมีเดียร่วมกันได้มากขึ้นอย่างไม่มีกำแพง พ่อแม่ก็กล้าที่จะถามไถ่ความเป็นไปและลูกเองก็กล้าที่จะบอกเล่าและปรึกษานั่นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อที่จะกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้อีกด้วย

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP