23 อาการปกติของทารกแรกเกิด ที่พ่อแม่ควรรู้

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ

คุณแม่มือใหม่หลายๆ ท่านอยู่ในวัยแบเบาะ อาจกังวลเวลาที่ลูกมีอาการสะอึกบ่อย หรือนอนหลับอยู่ดี ๆ ก็สะดุ้งขึ้นมา จะบอกว่าจริง ๆ แล้วอาการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติมากสำหรับเด็กทารกแรกเกิดค่ะ และยังมีอีกหลายอาการที่คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้ วันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่ามีอาการอะไรบ้าง

สะดุ้งหรือผวา

อาการนี้คุณแม่จะพบได้ในเวลาลูกหลับสนิทถึงแม้คุณแม่จะสัมผัสลูกแบบเบาๆ แล้วก็ตาม ลูกก็ยังมีอาการสะดุ้งหรือผวาง่ายโดยอาจจะแบมือ กางแขน กางขา เป็นต้นค่ะ แต่ลูกจะมีอาการเหล่านี้อยู่จนถึงอายุประมาณ 6 เดือน แล้วอาการจะค่อยๆ หายไปเองค่ะ

กระตุกขณะหลับ

จะเป็นเฉพาะเวลาลูกหลับเช่นกันค่ะ โดยมากจะกระตุกแขน ขา มือ หรือบางทีก็มุมปากเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลให้ขนาดลูกตื่น

บิดทั้งตัว

ข้อนี้ในทางการแพทย์เรียกว่า “เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อของทารก” ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายอาการปกติที่ทารกส่วนใหญ่เป็นกัน โดยอาการจะคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ มีการยกแขน กำมือขึ้นเหนือศีรษะ งอสะโพก งอเข่า งอข้อเท้า บิดตัวหน้าแดงก่ำ ที่สำคัญร้องเสียงดังซะด้วย จนบางครั้งผู้เขียนคิดว่าลูกไม่ได้โวยวายอะไรใช่มั้ยลูก

สะอึก

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังทานนมอิ่ม นั่นเป็นเพราะอวัยวะภายในของลูกน้อยยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก เมื่อลูกดูดนมจนอิ่มทำให้กระเพาะอาหารเกิดการขยายตัว มีแรงดันไปที่กระบังลม ส่งผลให้กระบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะหายใจออก จึงทำให้เกิดอาการสะอึกได้

ถ่ายเหลว

ในทารกแรกเกิดที่ทานนมแม่อย่างเดียวบางรายอาจมีการถ่ายทุกครั้งหลังทานนมได้ไม่นาน ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับอาหารเข้าไปแล้วนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทเร็วปรื้ดเหมือน 4G ไปที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้บีบตัว เพื่อขับถ่ายอุจจาระออกทันที จึงทำให้ทารกแรกเกิดบางรายถ่ายได้วันละ 10-15 ครั้งเลยทีเดียว **หากไม่มีมูกเลือดปนออกมาด้วยนะคะ

มีเสียงครืดคราดในลำคอขณะหลับตอนกลางคืน

เนื่องมาจากหลอดลมของทารกยังพัฒนาได้ไม่แข็งแรง ยังมีการอ่อนตัวอยู่ ดังนั้น เมื่อเวลาที่ทารกหลับในตอนกลางคืน จึงทำให้มีเสียงครืดคราดในลำคอได้ แต่อาการนี้จะหายไปเมื่อทารกอายุได้ 4 เดือน

แหวะนม

เป็นเพราะระบบการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกายยังพัฒนาและยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และระบบการย่อยของทารกก็ยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารยังปิดไม่สนิทหรือยังไม่แข็งแรงพอ ดังนั้นเวลาที่ลูกเรอหรือจับลูกนอนทันที ก็จะทำให้แหวะได้ค่ะ

มีฝ้าขาวที่ลิ้น

อาการลิ้นขาวเป็นฝ้านั้น เกิดจากน้ำนมที่เป็นคราบ เป็นสีขาวกระจายอยู่บริเวณกลางลิ้น เพดานปาก หรือกระพุ้งแก้ม ซึ่งคุณแม่ต้องคอยทำความสะอาดให้ทั่วโดยใช้ผ้าสะอาด ชุบน้ำอุ่น แล้วใช้มือเช็ดให้ทั่ว แต่อาการนี้ก็จะหายได้เองหลังจากลูกอายุ 6 เดือนค่ะ

ตุ่มขาวในปาก

ตุ่มขาวนี้พบได้ที่เพดานปาก ขนาดเท่าหัวหมุด แต่จำนวนจะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน ไม่ส่งผลให้ลูกทานนมได้น้อยลงและจะหายได้เอง คุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ

ร้องไห้เวลาผายลม

หลังจากที่ทารกทานนมแม่แล้ว ระบบร่างกายก็จะทำงานส่งสัญญาณไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในแผนกย่อยและขับถ่าย เมื่อไปถึงลำไส้ ลำไส้ก็จะบีบตัวเพื่อขับของเสียออกจึงเกิดการผายลม แต่สิ่งนี้เป็นเรื่องใหม่ของทารก ทำให้บางครั้งก็ตกใจกับเสียงของตัวเอง

ร้องไห้เวลาปัสสาวะ

เด็กทารกอายุใกล้ถึง 1 เดือน จะสามารถรับรู้ความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ จึงทำให้ร้องไห้เวลาปัสสาวะ แต่ทั้งนี้คุณแม่ต้องสังเกตอาการลูกด้วยนะคะ ว่าลูกไม่มีอาการเกร็งหรือเบ่งปัสสาวะ ไม่อย่างนั้นควรพาไปพบคุณหมอค่ะ

ไม่ได้ถ่ายอุจจาระทุกวัน

เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนถ่ายวันละหลายรอบ บางคนถ่ายทุกวัน บางคนถ่ายวันเว้นวัน โดยเฉพาะเด็กที่ทานนมผสม อาจทำให้ 2-3 วัน ถ่ายครั้ง หากลูกดูไม่งอแง ไม่อึดอัด และยังทานนมได้ตามปกติ ก็ไม่มีอะไรน่ากังวลค่ะ

ผิวหนังลอก

อาการนี้พบได้ทั้งในทารกที่คลอดตามกำหนดกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งหลังจากคลอดแล้ว 48 ชั่วโมง อาจพบว่าทารกบางรายมีอาการหนังลอกที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว โดยจะมีลักษณะเป็นขุยขาว ๆ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลค่ะ เพราะหลังจากคลอดแล้วประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ อาการเหล่านี้ก็จะหายได้เอง

ริมฝีปากแห้งและลอกเป็นแผ่น

อาการนี้เกิดจากการที่ทารกดูดนม หรือที่เรียกว่า “Sucking Reflex” ซึ่งจะส่งผลให้หนังที่ริมฝีปากของทารกลอกออก แต่ที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องดึงหรือลอกออกนะคะ เพราะหนังจะหลุดลอกไปเองค่ะ และจะหายได้เองเมื่อทารอายุได้ 1 เดือน

ผิวหนังลายคล้ายร่างแห

เนื่องจากทารกจะมีผิวที่บอบบาง ดังนั้นเวลาที่ทารกอุจจาระ ปัสสาวะ หรือผิวหนังได้สัมผัสกับอากาศร้อนหรืออากาศเย็น ก็จะทำให้เห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้อย่างชัดเจน

มีปานเขียวที่ก้น

ปานเขียวหรือปานสีน้ำเงิน ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะบริเวณหัวไหล่ ก้น หรือที่อื่น ๆ ตามตัว ทางการแพทย์จะเรียกว่า “Mongolian Spot” ซึ่งเกิดจากมีเมลาโนไซต์กระจายอยู่ทั่วผิวหนัง สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิด – 12 ปี หลังจากจากนั้นอาการเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไป

ใบหน้าเขียวคล้ำ หรือมีเลือดออกที่ตาขาว

ส่วนใหญ่อาการนี้จะพบในทารกที่คลอดทางช่องคลอดหรือทารกที่คลอดยาก โดยอาการเขียงคล้ำบนในหน้านี้จะหายได้เองภายใน 1 – 2 วันหลังคลอด ส่วนอาการเลือดออกในตาก็จะค่อย ๆ หายได้เองค่ะ ไม่ต้องรักษา กินยา หรือทายาแต่อย่างใด

มีปานแดงชนิดเรียบ

บริเวณที่เกิดปานแดงชนิดนี้ซึ่งพบได้บ่อย คือ หน้าผาก ผิวหนังใต้จมูก และท้ายทอย ถ้าใช้มือกดลงไปจะจาง ไม่นูน หรือที่เรียกกันว่า “Stork Mark” ปานแดงชนิดนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อลูกร้องไห้ อาการปานแดงชนิดนี้จะค่อย ๆ หายไปเมื่ออายุประมาณ 1 ปี

ภาวะตัวเหลือง

ภาวะนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่ ทารกที่เพิ่งคลอดใหม่ ๆ ภาวะตัวเหลืองนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถ้าพบในกรณีนี้ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ และอาจทำการส่องไฟรักษา ควบคู่ไปกับแนวทางการรักษาด้านอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของคุณหมอค่ะ แต่ถ้าหากพบภาวะนี้เมื่อลูกมีอายุเกิน 1 เดือนไปแล้ว และเป็นเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว แต่ก็ยังมีอาการตัวเหลือง ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ถ้าอุจจาระมีสีเหลืองนวล น้ำหนักขึ้นดี กินนมได้ตามปกติ แบบนี้ก็ถือว่าเป็นอาการทั่วไปที่สามารถพบได้ในเด็กที่นมแม่ อาการนี้จะค่อย ๆ หายไปเมื่อลูกอายุได้ 4 เดือนค่ะ

นมเป็นเต้า

อาการนมเป็นเต้าตั้งแต่แรกเกิดหรือทางการแพทย์เรียกว่า “Witch Milk” สามารถพบได้ทั้งทารกเพศชายและเพศหญิง ในทารกบางรายอาจพบว่ามีน้ำนมไหลออกมาด้วย แต่ก็ไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจไปค่ะ เนื่องจากอาการนี้จะหายได้เองเมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป

อุจจาระบ่อย

หากทารกเป็นเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว การอุจจาระบ่อยถือเป็นเรื่องปกติค่ะ บางรายอาจจะอุจจาระทุกครั้งหลังกินนม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ต้องไม่มีมูกเลือดปน ต้องมีสีเหลืองนวล เป็นต้น ซึ่งการที่ทารกถ่ายบ่อยในกรณีที่กินนมแม่ อาจเกิดได้จากการที่ทารกกินนมแม่ซึ่งได้แต่นมส่วนหน้า แนะนำเวลาที่คุณแม่ให้ลูกเข้าเต้าควรให้ลูกกินนมให้หมดทีละข้าง ไม่แนะนำให้สลับเต้าไปมานะคะ

แม่โน้ต

ในน้ำนมแม่นั้นนมที่เป็นนมส่วนหน้าจะมีปริมาณของน้ำเสียส่วนใหญ่ ดังนั้น หากทารกดูดได้ไม่เกลี้ยงเต้า หรือมีการสลับเต้าไปมาจะส่งผลให้ลูกไม่ได้รับน้ำนมส่วนปลายซึ่งมีสารอาหารและไขมันในปริมาณที่มากกว่านมส่วนต้นค่ะ

มีตุ่มขาวนูนที่หน้า

ตุ่มขาวนูนที่หน้า หรือผื่นมิเลีย (Milia) จะมีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ สีขาวหรือเหลืองขุ่น พบได้มากบริเวณหน้าผาก จมูก แก้ม และคาง ตุ่มนี้เกิดจากการสะสมของเครตินหรือโปรตีนที่ชั้นหนังกำพร้ามากกว่าปกติ แต่ไม่มีอันตรายค่ะ และจะหายไปได้เองเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ ในขณะที่บางรายอาจอยู่นานถึง 3 เดือน

มีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากช่องคลอด หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด

สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนของคุณแม่ส่งผ่านรกมาให้ทารก ซึ่งตับของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถสลายฮอร์โมนที่ตกค้างในตัวทารกเองได้ จึงทำให้ช่องคลอดของทารกคล้ายวัยสาว คือมีติ่งเนื้อยื่นออกมาก แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เองเมื่อลูกอายุประมาณ 1 – 2 เดือน แต่คุณแม่ต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาด โดยการใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดบริเวณที่มีเลือดออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อค่ะ

แม่โน้ต

น้ำสะอาดที่ใช้ควรเป็นน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วนะคะ เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าการทำความสะอาดช่องคลอดนี้สะอาดจริง และลูกน้อยจะไม่ได้ติดเชื้อจากน้ำที่ไม่สะอาดแทนค่ะ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นอาการแบบไหนของทารกที่เรียกว่าปกติ และ “ความผิดปกติของทารกแรกเกิด มีอะไรบ้างที่ต้องไปพบแพทย์” ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจมากเกินไปนะคะ ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับตัวกันไป เพราะการเลี้ยงลูกแม้จะเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่ากับความสุขที่ได้รับค่ะ


ลูกนอนหลับนิ่งเลยขนาดมีเสียงดังลูกก็ยังไม่ตื่น แบบนี้ลูกหลับลึกมากหรือมีอาการผิดปกติ? แบบนี้ลูกอาจมีความผิดปกติทางสมอง และยังมีอาการอะไรอีกบ้างที่ผิดปกติ คลิกที่นี่ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP