คุณแม่มือใหม่หลายคนที่สงสัยและยังหาคำตอบอยู่เกี่ยวกับเรื่อง “ทำไมลูกเราถ่ายบ่อยเหมือนอาการท้องเสียทั้งๆ ที่ให้ทานแต่นมแม่อย่างเดียว?” หรือว่านี่คืออาการท้องเสียจากอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะโปรตีน? มีวิธีแก้ไขอย่างไร? วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลมาฝากค่ะ
สารบัญ
ลูกท้องเสียจากการแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง
อย่างที่ผู้เขียนบอกเสมอค่ะว่า เพราะเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนแสดงอาการแพ้ออกมาเร็ว บางคนช้าแต่ก็ไม่เกิน 6 เดือนจะมีอาการออกมาให้เห็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ…
- ลูกถูกกระตุ้นมากน้อยแค่ไหน
- มีพันธุกรรมเป็นภูมิแพ้มาก่อนหรือไม่
- หากมาจากพันธุกรรม คุณแม่ได้กินโปรตีนกลุ่มเสี่ยงมามากในขณะตั้งครรภ์และให้นมลูกหรือเปล่า (ถ้าเป็นข้อนี้ ลูกก็จะแสดงอาการออกมาได้เร็วขึ้น)
อาการลูกท้องเสียจากการแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง
คุณแม่ลองทำเช็คลิสต์ดูนะคะว่าลูกมีอาการตามนี้หรือเปล่า
- เรื่องของน้ำหนัก โดยน้ำหนักลูกขึ้นน้อย บางคนน้ำหนักลด ตัวเหี่ยว ไม่ฟูเหมือนที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่กินนมเก่งมาก แป๊บๆ ขอดูดนมอีกแล้ว ดูดเกือบตลอดเวลา
- เลี้ยงยาก ร้องไห้งอแง ร้องกวนตลอดเวลา ที่ร้องเพราะลูกมีอาการมวนท้อง
ซึ่งถ้าหากคุณแม่มีปริมาณน้ำนมเพียงพอแต่น้ำหนักลูกไม่ขึ้น โดยทั่วไปแล้วเด็กที่กินนมแม่จะอึประมาณ2-3 ครั้ง/วัน ถ้าเด็กที่เป็นโรคนี้ ลูกจะกินเก่งและอึบ่อยมาก แต่น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่า อึนั้นต้องมีปัญหาบางอย่าง
ปกติแล้วถ้าเด็กได้นมเพียงพอ จะอึ 2-3 ครั้ง/วัน กรณีนี้ที่เป็นโรคนี้ เราจะเห็นว่าลูกกินเก่งและอึบ่อยมาก แต่น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่า อึนั้นมีปัญหาอะไรบางอย่าง
ข้อมูลอ้างอิง breastfeedingthai.com
สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกท้องเสียจากการแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง
มีผื่นขึ้นตามตัว
ผื่นที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเม็ดเล็ก ๆ บริเวณใบหน้า ศีรษะ หน้าผาก ในบางรายอาจพบขึ้นบริเวณด้านนอกแขน ข้อศอก ข้อมือ รวมถึงตามลำตัว อาจเป็นในระยะเวลาอันสั้น เดี๋ยวก็หาย แต่ก็จะกลับมาเป็นใหม่
ถ่ายเป็นมูกเลือด
ถ้ามีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดแบบนี้ แสดงว่ามีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ส่งผลให้ลำไส้อัดเสบเรื้อรัง และทำให้ลูกมีปัญหาในการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหาร ทั้งนี้ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วย
ถ่ายท้อง ท้องเสียเรื้อรัง
อาการนี้อาจไม่ได้เป็นทันทีที่กินนมเข้าไป คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการลูกน้อยบ่อย ๆ เช่นหลังจากที่ลูกน้อยกินนมเข้าไปแล้ว ทิ้งระยะเวลาประมาณ 30 นาที ลูกน้อยมีอาการท้องเสียหรือไม่ ถ้าหากมีอาการถ่ายเหลวมากกว่า 2 – 3 ครั้ง ในวันเดียวกัน ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์ แต่ถ้าหากคุณแม่ยังไม่แน่ใจในอาการคุณแม่ควรศึกษา “วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อลูกท้องเสีย” เอาไว้ก่อนก็ได้นะคะ
อาเจียน
ถ้าลูกน้อยดื่มนมวัวหรืออาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวเข้าไป แล้วลูกอาเจียน สำรอก หรือแหวะออกมาในทุกครั้งที่ดื่มแบบนี้ให้สันนิษฐานไว้เลยค่ะว่าลูกอาจแพ้โปรตีนจากนมวัวหรืออาหารกลุ่มเสี่ยง
ร้องงอแงมากผิดปกติ
หลังจากที่ลูกน้อยดื่มนมวัวเข้า แล้วมีอาการร้องงอแง หงุดหงิด นั่นแสดงว่านมไม่ย่อย จึงทำให้ลูกท้องอืด อึดอัด จึงร้องกวนคุณแม่ได้
น้ำมูกไหลเรื้อรัง
คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจเข้าใจว่าลูกน้อยเป็นหวัดธรรมดา แต่ให้สังเกตแบบนี้ค่ะ ถ้าหากลูกน้อยมีน้ำมูกไหลทุกครั้งหลังดื่มนมวัว แสดงว่าอาจมีอาการของการแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงได้ ควรปรึกษาแพทย์
หอบ
หากลูกหายใจแล้วมีเสียงวี้ด ๆ ร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย อกกระเพื่อม ซึ่งถือเป็นอาการของระบบทางเดินหายใจของลูกน้อยที่มีแนวโน้มว่าจะแพ้อาการกลุ่มเสี่ยงหรือแพ้โปรตีนในนมวัว ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง
ลูกอึบ่อยแต่น้ำหนักไม่ขึ้น
โดยทั่วไปถ้าลูกกินบ่อย อึบ่อยแต่น้ำหนักไม่ขึ้น ก็มีโอกาสเป็นไปได้จาก 1 ใน 2 ประเด็น คือ
กินนมส่วนต้นมาก โดยไม่ถึงส่วนท้าย
เพราะน้ำนมส่วนต้นของคุณแม่โดยทั่วไปจะมีแลคโต๊สมาก และส่วนท้ายจะมีปริมาณไขมันมาก ถ้าตรวจอึจะไม่เจอเม็ดเลือดขาว พูดง่ายๆ ว่าน้ำนมส่วนต้นของคุณแม่มีปริมาณน้ำมากกว่าไขมัน จึงทำให้ย่อยเร็ว จึงอึบ่อย
วิธีแก้ไข
ก่อนเอาลูกเข้าเต้าให้คุณแม่ปั๊มนมส่วนหัวออกมาก่อนแล้วเก็บไว้ซักประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยเอาลูกเข้าเต้าโดยกินให้เกลี้ยงเต้าก่อน แล้วค่อยย้ายไปอีกข้างหนึ่ง ข้อนี้ไม่เกี่ยวกับการแพ้แพ้อาหาร เพราะคุมอาหารยังไงก็ไม่หาย
หรือในคุณแม่บางคนที่มีปริมาณไขมันในนมค่อนข้างน้อย แนะนำว่าควรทานอาหารเหล่านี้เพื่อเสริมโอเมก้า 3 ในน้ำนมซึ่งเป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ อาทิ อะโวคาโดวันละ 1 ผล เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดงา เมล็ดแฟล็กซ์วันละ 2 ช้อนโต๊ะ
แพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง
โปรตีนกลุ่มเสี่ยง เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง แป้งสาลี ไข่ ซีฟู้ด ถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ผักผลไม้สีๆ เป็นต้น ซึ่งลักษณะของอึก็มีหลากหลาย เช่น เป็นน้ำ เป็นฟอง เป็นมูกเขียว มูกเหลือง มูกเลือด อาจจะมีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ได้ ซึ่งบางครั้งอึจะมีลักษณะตามที่กล่าวมาข้างต้นก็จริง แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าก็ยังไม่สามารถสรุปได้ 100% ว่าลูกจะมีอาการผิดปกติ จนกว่าจะนำอึไปให้คุณหมอตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หากพบว่ามีเม็ดเลือดขาวปนออกมาแบบนี้ถึงเรียกว่า ผิดปกติ
การทดสอบการแพ้ในเด็ก
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยอาจมีอาการแพ้อาหากกลุ่มเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะมีวิธีทดสอบดังนี้
- เริ่มจากการซักถามประวัติและสอบถามอาการ
- ตรวจร่างกายและประเมินจากการการสังเกต
- ทำการทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง (Skin prick test) ซึ่งลูกน้อยไม่ต้องกินยาแก้แพ้ก่อนการตรวจ 1 สัปดาห์ และจะสามารถทราบผลได้ภายใน 30 นาที
- ทดสอบด้วยการตรวจเลือด วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถหยุดยาแก้แพ้ได้ หรือมีผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในเลือด (specific IgE) ที่สอดคล้องกับประวัติและอาการที่เป็น จะทราบผลภายใน 3 สัปดาห์
- ทดสอบด้วยการกินอาหารที่คาดว่าแพ้ (oral food challenge test) โดยแพทย์จะให้เริ่มนปริมาณที่น้อย ๆ คือ 5 – 10% ของปริมาณที่กินปกติทั่วไป หากไม่มีอาการแพ้ก็จะเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า ในทุก ๆ 15 นาที พร้อมกับเฝ้าดูอาการ ทั้งนี้ วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และอยู่ในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่มีพร้อมทั้งยาและอุปกรณ์ในการช่วยชีวิต
ข้อมูลอ้างอิง phyathai.com
นอกจากนี้ยังสามารถดูได้จากจำนวนครั้งที่ลูกอึ เช่น ถ้าอึวันละ 2 ครั้ง หรือไม่ได้อึทุกวัน แบบนี้น่าจะปกติ เพราะหากอาการเริ่มดีขึ้นแล้ว ถ่ายน้อยลงแล้ว คุณแม่ค่อยเอาอาหารกลับมาลองอีกครั้ง ทีละอย่าง แล้วสังเกตจากจำนวนครั้งที่อึแทนได้ค่ะ ไม่ต้องนำอึมาตรวจทุกครั้งที่เจอมูก แต่หากลูกถ่ายหลายครั้ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมาจากอาหารที่ทานเข้าไป และงดอาหารนั้น ๆ
ทั้งนี้ถึงแม้ว่าคุณหมอจะตรวจเจอเม็ดเลือดขาวแล้วก็ตาม แต่ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็นคือ เม็ดเลือดขาวจากการติดเชื้อ หรือ จากการแพ้อาหาร ซึ่งคุณหมอจะส่งเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุต่อไป ดังนั้น เวลาที่ลูกทานอะไรเข้าไป แล้วมีอาการผิดปกติ ถ่ายบ่อยแบบมีมูกซึ่งคุณแม่คิดว่าไม่น่าจะปกติ ลูกร้องงอแงตลอดเวลา หรือถ่ายบ่อยจนก้นแดง เพื่อความสบายใจลองพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ อย่างน้อยจะได้รับคำแนะนำและวิธีการรักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ