ลูกท้องเสียจากการแพ้นมวัว แพ้โปรตีน สัญญาณบ่งบอก

พัฒนาการเด็กและสุขภาพลูกวัย 0-1 ขวบ
JESSIE MUM

คุณแม่มือใหม่หลายคนที่สงสัยและยังหาคำตอบอยู่เกี่ยวกับเรื่อง “ทำไมลูกเราถ่ายบ่อยเหมือนอาการท้องเสียทั้งๆ ที่ให้ทานแต่นมแม่อย่างเดียว?” หรือว่านี่คืออาการท้องเสียจากอาหารกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะโปรตีน? มีวิธีแก้ไขอย่างไร? วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลมาฝากค่ะ

ลูกท้องเสียจากการแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง

อย่างที่ผู้เขียนบอกเสมอค่ะว่า เพราะเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนแสดงอาการแพ้ออกมาเร็ว บางคนช้าแต่ก็ไม่เกิน 6 เดือนจะมีอาการออกมาให้เห็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ…

  • ลูกถูกกระตุ้นมากน้อยแค่ไหน
  • มีพันธุกรรมเป็นภูมิแพ้มาก่อนหรือไม่
  • หากมาจากพันธุกรรม คุณแม่ได้กินโปรตีนกลุ่มเสี่ยงมามากในขณะตั้งครรภ์และให้นมลูกหรือเปล่า (ถ้าเป็นข้อนี้ ลูกก็จะแสดงอาการออกมาได้เร็วขึ้น)

อาการลูกท้องเสียจากการแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง

คุณแม่ลองทำเช็คลิสต์ดูนะคะว่าลูกมีอาการตามนี้หรือเปล่า

  • เรื่องของน้ำหนัก โดยน้ำหนักลูกขึ้นน้อย บางคนน้ำหนักลด ตัวเหี่ยว ไม่ฟูเหมือนที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่กินนมเก่งมาก แป๊บๆ ขอดูดนมอีกแล้ว ดูดเกือบตลอดเวลา
  • เลี้ยงยาก ร้องไห้งอแง ร้องกวนตลอดเวลา ที่ร้องเพราะลูกมีอาการมวนท้อง

ซึ่งถ้าหากคุณแม่มีปริมาณน้ำนมเพียงพอแต่น้ำหนักลูกไม่ขึ้น โดยทั่วไปแล้วเด็กที่กินนมแม่จะอึประมาณ2-3 ครั้ง/วัน ถ้าเด็กที่เป็นโรคนี้ ลูกจะกินเก่งและอึบ่อยมาก แต่น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่า อึนั้นต้องมีปัญหาบางอย่าง

ปกติแล้วถ้าเด็กได้นมเพียงพอ จะอึ 2-3 ครั้ง/วัน กรณีนี้ที่เป็นโรคนี้ เราจะเห็นว่าลูกกินเก่งและอึบ่อยมาก แต่น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่า อึนั้นมีปัญหาอะไรบางอย่าง
ข้อมูลอ้างอิง breastfeedingthai.com

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกท้องเสียจากการแพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง

มีผื่นขึ้นตามตัว

ผื่นที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเม็ดเล็ก ๆ บริเวณใบหน้า ศีรษะ หน้าผาก ในบางรายอาจพบขึ้นบริเวณด้านนอกแขน ข้อศอก ข้อมือ รวมถึงตามลำตัว อาจเป็นในระยะเวลาอันสั้น เดี๋ยวก็หาย แต่ก็จะกลับมาเป็นใหม่

ถ่ายเป็นมูกเลือด

ถ้ามีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดแบบนี้ แสดงว่ามีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ส่งผลให้ลำไส้อัดเสบเรื้อรัง และทำให้ลูกมีปัญหาในการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหาร ทั้งนี้ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วย

ถ่ายท้อง ท้องเสียเรื้อรัง

อาการนี้อาจไม่ได้เป็นทันทีที่กินนมเข้าไป คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการลูกน้อยบ่อย ๆ เช่นหลังจากที่ลูกน้อยกินนมเข้าไปแล้ว ทิ้งระยะเวลาประมาณ 30 นาที ลูกน้อยมีอาการท้องเสียหรือไม่ ถ้าหากมีอาการถ่ายเหลวมากกว่า 2 – 3 ครั้ง ในวันเดียวกัน ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์ แต่ถ้าหากคุณแม่ยังไม่แน่ใจในอาการคุณแม่ควรศึกษา “วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อลูกท้องเสีย” เอาไว้ก่อนก็ได้นะคะ


ทารกท้องเสีย เพราะอะไรได้บ้าง? มีวิธีสังเกต พร้อมวิธีรับมืออย่างไร? ไปติดตามกันเลยค่ะ

อาเจียน

ถ้าลูกน้อยดื่มนมวัวหรืออาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวเข้าไป แล้วลูกอาเจียน สำรอก หรือแหวะออกมาในทุกครั้งที่ดื่มแบบนี้ให้สันนิษฐานไว้เลยค่ะว่าลูกอาจแพ้โปรตีนจากนมวัวหรืออาหารกลุ่มเสี่ยง

ร้องงอแงมากผิดปกติ

หลังจากที่ลูกน้อยดื่มนมวัวเข้า แล้วมีอาการร้องงอแง หงุดหงิด นั่นแสดงว่านมไม่ย่อย จึงทำให้ลูกท้องอืด อึดอัด จึงร้องกวนคุณแม่ได้

น้ำมูกไหลเรื้อรัง

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจเข้าใจว่าลูกน้อยเป็นหวัดธรรมดา แต่ให้สังเกตแบบนี้ค่ะ ถ้าหากลูกน้อยมีน้ำมูกไหลทุกครั้งหลังดื่มนมวัว แสดงว่าอาจมีอาการของการแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงได้ ควรปรึกษาแพทย์

หอบ

หากลูกหายใจแล้วมีเสียงวี้ด ๆ ร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย อกกระเพื่อม ซึ่งถือเป็นอาการของระบบทางเดินหายใจของลูกน้อยที่มีแนวโน้มว่าจะแพ้อาการกลุ่มเสี่ยงหรือแพ้โปรตีนในนมวัว ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง

ลูกอึบ่อยแต่น้ำหนักไม่ขึ้น

โดยทั่วไปถ้าลูกกินบ่อย อึบ่อยแต่น้ำหนักไม่ขึ้น ก็มีโอกาสเป็นไปได้จาก 1 ใน 2 ประเด็น คือ

กินนมส่วนต้นมาก โดยไม่ถึงส่วนท้าย

เพราะน้ำนมส่วนต้นของคุณแม่โดยทั่วไปจะมีแลคโต๊สมาก และส่วนท้ายจะมีปริมาณไขมันมาก ถ้าตรวจอึจะไม่เจอเม็ดเลือดขาว พูดง่ายๆ ว่าน้ำนมส่วนต้นของคุณแม่มีปริมาณน้ำมากกว่าไขมัน จึงทำให้ย่อยเร็ว จึงอึบ่อย
วิธีแก้ไข
ก่อนเอาลูกเข้าเต้าให้คุณแม่ปั๊มนมส่วนหัวออกมาก่อนแล้วเก็บไว้ซักประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยเอาลูกเข้าเต้าโดยกินให้เกลี้ยงเต้าก่อน แล้วค่อยย้ายไปอีกข้างหนึ่ง ข้อนี้ไม่เกี่ยวกับการแพ้แพ้อาหาร เพราะคุมอาหารยังไงก็ไม่หาย
หรือในคุณแม่บางคนที่มีปริมาณไขมันในนมค่อนข้างน้อย แนะนำว่าควรทานอาหารเหล่านี้เพื่อเสริมโอเมก้า 3 ในน้ำนมซึ่งเป็นสารตั้งต้นของดีเอชเอ อาทิ อะโวคาโดวันละ 1 ผล เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดงา เมล็ดแฟล็กซ์วันละ 2 ช้อนโต๊ะ

แพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง

โปรตีนกลุ่มเสี่ยง เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง แป้งสาลี ไข่ ซีฟู้ด ถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ผักผลไม้สีๆ เป็นต้น ซึ่งลักษณะของอึก็มีหลากหลาย เช่น เป็นน้ำ เป็นฟอง เป็นมูกเขียว มูกเหลือง มูกเลือด อาจจะมีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ได้ ซึ่งบางครั้งอึจะมีลักษณะตามที่กล่าวมาข้างต้นก็จริง แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าก็ยังไม่สามารถสรุปได้ 100% ว่าลูกจะมีอาการผิดปกติ จนกว่าจะนำอึไปให้คุณหมอตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หากพบว่ามีเม็ดเลือดขาวปนออกมาแบบนี้ถึงเรียกว่า ผิดปกติ

การทดสอบการแพ้ในเด็ก

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยอาจมีอาการแพ้อาหากกลุ่มเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะมีวิธีทดสอบดังนี้

  • เริ่มจากการซักถามประวัติและสอบถามอาการ
  • ตรวจร่างกายและประเมินจากการการสังเกต
  • ทำการทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง (Skin prick test) ซึ่งลูกน้อยไม่ต้องกินยาแก้แพ้ก่อนการตรวจ 1 สัปดาห์ และจะสามารถทราบผลได้ภายใน 30 นาที
  • ทดสอบด้วยการตรวจเลือด วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถหยุดยาแก้แพ้ได้ หรือมีผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในเลือด (specific IgE) ที่สอดคล้องกับประวัติและอาการที่เป็น จะทราบผลภายใน 3 สัปดาห์
  • ทดสอบด้วยการกินอาหารที่คาดว่าแพ้ (oral food challenge test) โดยแพทย์จะให้เริ่มนปริมาณที่น้อย ๆ คือ 5 – 10% ของปริมาณที่กินปกติทั่วไป หากไม่มีอาการแพ้ก็จะเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า ในทุก ๆ 15 นาที พร้อมกับเฝ้าดูอาการ ทั้งนี้ วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และอยู่ในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่มีพร้อมทั้งยาและอุปกรณ์ในการช่วยชีวิต

ข้อมูลอ้างอิง phyathai.com

นอกจากนี้ยังสามารถดูได้จากจำนวนครั้งที่ลูกอึ เช่น ถ้าอึวันละ 2 ครั้ง หรือไม่ได้อึทุกวัน แบบนี้น่าจะปกติ เพราะหากอาการเริ่มดีขึ้นแล้ว ถ่ายน้อยลงแล้ว คุณแม่ค่อยเอาอาหารกลับมาลองอีกครั้ง ทีละอย่าง แล้วสังเกตจากจำนวนครั้งที่อึแทนได้ค่ะ ไม่ต้องนำอึมาตรวจทุกครั้งที่เจอมูก แต่หากลูกถ่ายหลายครั้ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมาจากอาหารที่ทานเข้าไป และงดอาหารนั้น ๆ

ทั้งนี้ถึงแม้ว่าคุณหมอจะตรวจเจอเม็ดเลือดขาวแล้วก็ตาม แต่ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็นคือ เม็ดเลือดขาวจากการติดเชื้อ หรือ จากการแพ้อาหาร ซึ่งคุณหมอจะส่งเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุต่อไป ดังนั้น เวลาที่ลูกทานอะไรเข้าไป แล้วมีอาการผิดปกติ ถ่ายบ่อยแบบมีมูกซึ่งคุณแม่คิดว่าไม่น่าจะปกติ ลูกร้องงอแงตลอดเวลา หรือถ่ายบ่อยจนก้นแดง เพื่อความสบายใจลองพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ อย่างน้อยจะได้รับคำแนะนำและวิธีการรักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP