“ลูกป่วย” คำ ๆ นี้เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อยากได้ยินกันเลยใช่มั้ยคะ เพราะเวลาที่ลูกเจ็บป่วยกันที เราก็สงสารจนอยากจะเป็นแทนซะเอง ยิ่งเวลาต้องป้อนยาลูกนะ…ไม่อยากคิดอีกเหมือนกัน เพราะลูกกินยายากถึงยากมาก คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็เป็นห่วง อยากให้ลูกหาย แต่ลูกก็ร้องไห้ดิ้นไปดิ้นมา ป้อนยากซะเหลือเกิน แต่วันนี้ผู้เขียนมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากค่ะ
สารบัญ
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ก่อนป้อนยาลูก
- อ่านฉลากยาทุกครั้ง ปริมาณยาที่ต้องป้อนต่อครั้ง ป้อนกี่ครั้งต่อวัน หลังหรือก่อนอาหาร
- กินยาตามแพทย์สั่ง โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อต้อกินให้หมดถึงแม้ลูกน้อยจะหายแล้วก็ตาม
- ถ้าไม่เข้าในส่วนไหน เช่น เรื่องตัวยา หรือวิธีการป้อนยาที่ถูกต้อง ควรถามคุณหมอหรือเภสัชกรให้แน่ใจทุกครั้ง
- เตรียมอุปกรณ์ป้อนยาให้พร้อม ก่อนการป้อนทุกครั้ง
วิธีการป้อนยาให้ลูกแต่ละช่วงวัย
เด็กแรกเกิด – 1 เดือน
การป้อนยาสำหรับเด็กในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ “จุกนม” ที่ลูกทานนมเป็นประจำ ให้เอายาใส่ที่จุกนม แล้วเอาให้ลูกดูด เด็กในวัยนี้พอมีอะไรมาเข้าปาก เค้าก็จะดูดเองโดยอัตโนมัติค่ะ หากเค้าดูดยาหมดแล้ว ให้รีบนำจุกออกทันที ไม่เช่นนั้นลูกจะดูดลมเข้ากระเพาะ จะทำให้ลูกน้อยท้องอืดหรืออาจแหวะนมได้ค่ะ
เด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
เด็กอายุ 1 – 6 ปี
ในบางครั้งเด็กโตต้องกินยาปฏิชีวนะชนิดแคปซูล เพราะถ้าเป็นยาน้ำ เค้าต้องกินในปริมาณที่มาก แต่หากลูกยังกลืนยาได้ยาก เรามีวิธีค่ะ
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
- ใช้หลอดฉีดยาพลาสติก เลือกขนาดให้เหมาะกับปริมาณยาที่จะป้อนให้ลูก ซึ่งมีหลายขนาด เช่น 1 ซี.ซี., 2.5 ซี.ซี. และ 10 ซี.ซี. หรือจะใช้เป็นหลอดหยดยา (Dropper) แต่หลอดหยดยาจะมีแค่ 1 ซี.ซี. เท่านั้น อาจจะลำบากหากลูกต้องทานยาที่มากกว่า 1 ซี.ซี. เพราะต้องป้อนกันหลายครั้ง
ป้อนยาทีละขนาน
กรณีที่ลูกต้องกินยาหลายขนาน คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจนำยามาบดรวมกันแล้วกินในคราวเดียว จนบางทีทำให้กลิ่นและสีของยาเปลี่ยนไปจนลูกไม่ทานเลยก็มี ซึ่งการนำยามาบดรวมกันนี้ อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา อาจทำให้ยามีฤทธิ์เพิ่มขึ้น เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือมีฤทธิ์ลดลง ส่งผลเสียต่อการรักษา ทำให้ผลในการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร จะดีที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่ป้อนยาทีละขนานนะคะ
อุปกรณ์สำหรับป้อนยาลูก
หลอดฉีดยาพลาสติก (Syringe) สำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ขวบ หากใช้หลอดฉีดยานี้ในการป้อนก็จะทำให้ป้อนง่ายขึ้น โดยด้านข้างหลอดจะมีตัวเลขระบุ ซี.ซี. ไว้ โดย…
- 1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
- 1 ช้อนชา = 5 ซี.ซี
ในที่นี้ต้องย้ำกันก่อนนะคะ ว่า “ช้อนชา” ไม่ใช่ใช้ช้อนชงกาแฟมาป้อนยาให้ลูกนะคะ และเช่นเดียวกัน “ช้อนโต๊ะ” ก็ไม่เอาช้อนทานข้าวมาป้อนยานะคะ แต่ควรใช้ช้อนหรือหลอดฉีดยาพลาสติกที่คุณหมอและเภสัชกรเตรียมไว้ให้เท่านั้นค่ะ
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในเด็ก
มีไข้แบบไหนควรซื้อยาใช้เอง แบบไหนควรไปพบแพทย์
หากลูกตัวร้อนไม่ควรใช้หลังมือวัดไข้ลูกแต่ควรใช้ปรอทวัดไข้จะให้ค่าที่แม่นยำกว่า โดยให้ลูกหนีบไว้ที่รักแร้ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเอาออกมาอ่านค่า
- อุณหภูมิที่มากกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส ควรให้ยาพาราเซตามอล ร่วมกับการเช็ดตัวลูกด้วยน้ำอุ่น
- หากอุณหภูมิมากกว่าหรือเท่ากับ 40 องศาเซลเซียส ให้ยาแล้วไข้ก็ไม่ลด ควรพาไปพบแพทย์
หากอ่านค่าอุณหภูมิได้มากกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส ควรเริ่มให้ยาลดไข้พาราเซตามอลร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น โดยเช็ดย้อนรูขุมขน และเช็ดเน้นบริเวณข้อพับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนและขา ควรเช็ดตัวไปเรื่อยๆ จนกว่าไข้จะลด หากไข้ไม่ลดหลังจากการให้ยาครั้งแรกนาน 4 ชั่วโมง สามารถให้ยาลดไข้ซ้ำได้ และให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่หากมีไข้เกิน 3 วัน หรือมีไข้สูงมาก เช่น เกิน 40 องศาขึ้นไป หรือไข้สูงลอยให้ยาแล้วไข้ไม่ลด ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดอาการชักได้
ข้อมูลอ้างอิง ภญ.ปิลันธนา เขมะพันธุ์มนัส
หากลูกอาเจียนควรให้ยาซ้ำหรือไม่
คุณพ่อคุณแม่หลายคนเมื่อป้อนยาลูกแล้วลูกร้องไห้อาเจียนออกมา จะป้อนอีกก็กลัวได้รับยาเกินขนาด ครั้นจะไม่ป้อนก็กลัวลูกได้ยาไม่ครบ มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ ถ้าป้อนยาลูกแล้วลูกอาเจียนปั๊บสามารถป้อนยาใหม่ได้ทันที แต่ถ้าป้อนยาไปแล้ว ซักพักหนึ่งลูกค่อยอาเจียน แบบนี้ให้ข้ามไปในมื้อถัดไปค่ะ
อย่าผสมยาลงในขวดนม
เนื่องจากแคลเซียมในนมอาจจับกับยาบางชนิด ทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ และหากลูกกินนมไม่หมดในคราวเดียวจะทำให้ลูกได้รับยาไม่ครบตามขนาดที่ควรได้รับ
วิธีเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง
ควรเก็บไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน และตรวจดูอายุของยาก่อนใช้ทุกครั้ง หากไม่มีตู้ยาควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ที่สำคัญ คือ ต้องไม่วางยาไว้ใกล้กับขวดน้ำดื่มค่ะ
ลูกกินยายากก็ว่าเหนื่อยแล้วนะ มีบ้านไหนที่มีลูกเป็นเด็กกินยากบ้างคะ โน่นก็ไม่กิน นี่ก็ไม่ถูกปาก นั่นก็ไม่เอา หากต้องการปรับพฤติกรรมเด็กกินยาก คุณแม่สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ค่ะ “เด็กกินยาก สาเหตุและวิธีปรับพฤติกรรมลูกกินข้าวยาก”