เด็กกินยาก สาเหตุและวิธีปรับพฤติกรรมลูกกินข้าวยาก

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

เด็กกินยาก” ปัญหาคลาสสิกและประโยคคุ้นหู หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกน้อยตั้งแต่วัย 1-6 ขวบจะเจอกับปัญหานี้บ่อยแน่นอน บางครอบครัวทั้งขู่ ทั้งปลอบก็แล้วลูกก็ไม่ยอมกิน และเมื่อโดนบังคับหนักๆ เข้า เอามือเขี่ยจานข้าวออก แล้วบอกเราว่า “อิ่มค่ะ/ครับ
แต่เดี๋ยวก่อน…หากคุณพ่อคุณแม่ลองหยุดคิดซักนิด ลองคิดถึง “สาเหตุ” ว่าอะไร หรือ ทำไมลูกน้อยไม่ทานข้าว แล้วหาวิธีแก้กันไปให้ตรงจุด ทีละจุด น่าจะดีกว่ามานั่งกลุ้มใจและบ่นกับตัวเองว่า “ทำไมลูกไม่กินข้าว?

สาเหตุเด็กกินยาก

สนใจกิจกรรมใหม่รอบตัว

ธรรมชาติของเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไปจะเริ่มมีความสนใจต่อสิ่งรอบตัวมากขึ้น อะไรๆ ก็ดูจะสนุกไปซะหมด อยากที่จะเล่นสนุกอยู่ ส่วนหิวก็หิวนะคะ แต่อยากเล่นมากกว่า

เบื่อง่าย

เพราะลูกน้อยชอบเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ…เมนูอาหารก็เช่นกันถ้าเจอซ้ำบ่อยๆ ก็ไม่แปลกที่เค้าจะเบื่อ

สาเหตุหลักๆ มีอยู่ไม่กี่ข้อก็จริง แต่หน้าที่ของคุณแม่หนักกว่านั้นค่ะ^^ เพราะนอกจากจะต้องทำความเข้าใจลูกน้อยแล้ว ยังจะต้องช่วยบิ้วด์ลูกอีกต่างหาก มาดูวิธีบิ้วด์และแนวทางการปรับพฤติกรรมเด็กกินยากกันค่ะ

เด็กกินยากับแนวทางปรับพฤติกรรม

  • รับประทานอาหารพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เป็นการกระตุ้นลูกให้อยากทานข้าวและลูกมักชอบเลียบแบบผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ถือโอกาสนี้รับประทานผัก ผลไม้ให้ลูกเห็นด้วยก็ดีนะคะ เพื่อลูกจะได้ซึมซับพฤติกรรมนี้ไปด้วย
  • ไม่เปิดทีวีระหว่างรับประทานอาหาร รวมไปถึงมือถือหรือแทบเล็ต หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้ลูกไม่มีสมาธิกับการรับประทานอาหาร ส่งผลให้ลูกรับประทานได้น้อยลง
  • ให้เวลารับประทานอาหาร 30 นาที หรือจนกว่าคุณพ่อคุณแม่จะรับประทานเสร็จ หากลูกยังทานไม่เสร็จให้เก็บอาหารไปจากโต๊ะ เพื่อเป็นการ “ฝึกวินัย” ในการรับประทานอาหารให้ลูกอีกทางหนึ่ง
  • ตักอาหารให้พอดีที่ลูกทาน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่กระตุ้นให้ดูน่าทาน เพราะหากตักเยอะเกินไป บางทีแค่เห็นก็อิ่มแล้ว
  • สร้างบรรยากาศดีๆ ขณะรับประทานอาหาร ด้วยการพูดคุยสนุกสนาน และอย่าลืมชื่นชมลูกตามสมควร เมื่อลูกรับประทานได้เยอะขึ้นหรือหมดจานนะคะ
  • อย่าบังคับให้ลูกรับประทาน การบังคับให้ลูกทาน แน่นอนว่าจะทำให้ลูกมีทัศนคติไม่ดีเวลารับประทานอาหาร
    ทางที่ดี คุณแม่ลองปรับหน้าตาของอาหารให้ดูน่ารับประทานมากขึ้นด้วยการ อาจทำข้าวเป็นรูปตุ๊กตา ประดิษฐ์ตกแต่งให้มีสีสันน่าทาน หรือใช้จาน ชามที่มีลายการ์ตูนที่เด็กชอบ เป็นต้น
  • งดเว้นขนมขบเคี้ยวก่อนมื้ออาหาร ก่อนมื้ออาหารในที่นี้คือ ประมาณ 1-2 ชม. เพราะจริงๆ ธรรมชาติของเด็กกับขนมเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่ให้เค้าทานได้ค่ะ แต่ว่าต้องจำกัดปริมาณและดูเวลาที่เหมาะสม
  • อย่าถึงขั้นต้องลงโทษ ก่อนรับประทานข้าวคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจกับลูกก่อน เช่น หากลูกไม่รับประทานข้าว แม่จะงดขนมจนกว่าจะถึงเวลารับประทานข้าวในมื้อถัดไป ถ้ามื้อถัดไปลูกไม่รับประทานข้าวอีกแม่ก็จะงดขนมลูกอีก เป็นต้น
  • ชวนลูกเข้าครัวทำอาหารด้วยกัน นอกจากลูกจะได้ความสนุกจากการทำอาหารแล้ว ลูกยังตื่นเต้นกับจานที่ลูกทำเองอีกด้วยค่ะ เป็นการกระตุ้นความอยากทานอาหารได้อย่างดีทีเดียว

สิ่งที่ควรเลี่ยงถ้าลูกเป็นเด็กกินยาก

  1. น้ำหวาน นม หรือน้ำอัดลมระหว่างมื้อ เพราะจะทำให้กระเพาะน้อย ๆ ของลูกอิ่ม และย่อยไม่ทันสำหรับอาหารมื้อต่อไป
  2. ขนมกรุบกรอบ ขนมขบเคี้ยว และขนมหวาน หรือที่เรียกว่าของว่างต่าง ๆ
  3. ไม่ควรมีสิ่งที่มาเบี่ยงเบนความสนใจในการทานข้าวของลูกน้อย เช่น มือถือ ทีวี หรือแทบเล็ต

ผลเสียของการเป็นเด็กกินยาก

“ทำไมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกกินยาก ทั้งๆ ที่ เมื่อโตไปเกิน 5 หรือ 6 ขวบ พฤติกรรมเหล่านี้ของลูกก็จะหายเอง?”

…นั่นก็เพราะว่าถ้าหากเราปล่อยไว้เนิ่นนาน ลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะส่งผลเสียมากมายต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนี้ค่ะ

  1. ร่างกายเติบโตช้า เพราะขาดสารอาหารไปเสริมสร้างสมอง กล้ามเนื้อและกระดูก ส่งผลให้มีรูปร่างเล็ก ผอม อ่อนแอ ไม่มีกำลัง เจ็บป่วยง่าย
  2. ขาดวิตามินสำคัญในการไปดูแลเสริมสร้าง หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ส่งผลให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผิวหนังอักเสบ เลือดออกตามไรฟัน โลหิตจาง และกระดูกไม่แข็งแรง
  3. สมองทำงานช้า และล้าเร็ว
  4. ท้องผูก ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ เพราะขาดวิตามินและเกลือแร่ ที่มีส่วนทำให้ลำไส้ทำงานปกติ

สำหรับปัญหาเด็กกินยาก เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องเจออยู่แล้วค่ะ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป หรือถ้าคุณแม่จะเริ่มโมโหลูก ให้ “ตั้งสติแล้วสูดหายใจเข้าลึกๆ” ซัก 2-3 ครั้ง คุณแม่จะเย็นลงค่ะ เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP