ลูกกลัวเสียงประทัด จะปลอบใจอย่างไรดี

เลี้ยงลูก

เรื่องของความกลัวเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ หรือแม้แต่จะพยายามแก้ไข บางครั้งก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ดีกว่าไม่เริ่มที่จะแก้ไข “เรื่องของเสียงประทัด” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เด็กหลาย ๆ คนกลัว เพราะด้วยเสียงที่ดัง และดังอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการแตกกระจายของตัวประทัดเอง เมื่อเด็ก ๆ ได้เห็นก็ยิ่งทำให้รู้สึกหวาดกลัวมากขึ้นไปอีก และจะทำอย่างไรดีหากมีลูกขี้กลัว? จะทำอย่างไรกันดี วันนี้เรามีแนวทางมาแนะนำค่ะ

อาการของเด็กที่กลัวเสียงประทัด

โดยมากเด็กที่กลัวเสียงประทัด มักมีอาการ ดังนี้

  • ร้องโวยวาย, ร้องไห้ บางรายหากกลัวมากอาจกรีดร้องได้
  • ผวา และสั่นตลอดเวลาที่ได้ยินเสียงประทัด
  • มือ และเท้าชา
  • ใจสั่น, ใจเต้นแรง

สาเหตุที่ลูกกลัวเสียงประทัด

การที่ลูกน้อยกลัวเสียงประทัด เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

อายุยังน้อย

เพราะลูกเพิ่งเกิดมาได้แค่ 3 ปี 5 ปี เอง ดังนั้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่เขายังไม่รู้ในอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง และต้องเรียนรู้กันอีกในหลาย ๆ อย่าง เด็กจึงยังแยกไม่ออกว่า สิ่งไหนที่ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะด้วยเสียงที่ดังเมื่อผนวกเข้ากับจินตนาการของเด็กเองก็จะทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นมาได้

มีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับเสียง

เด็กอาจเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับเสียงมาก่อน เช่น อาจได้ยินเสียงที่ดัง ขณะที่อยู่คนเดียว จึงทำให้เกิดความระแวง จินตนาการต่อเองว่าเสียงนี้ต้องเป็นสัญญาณแห่งเรื่องราวที่ไม่ดี

รู้สึกไม่ปลอดภัย

เพราะเสียงที่ดัง หรือเสียงที่มีการเอะอะโวยวาย โดยมากเรามักเราจะเข้าใจว่าต้องมีเรื่องร้ายหรือเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นเด็ก ๆ ก็เช่นกันค่ะ

เคยถูกหลอกให้กลัว

ข้อนี้เกิดจากผู้ใหญ่ที่ต้องการให้เด็กหยุดทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งทันที ก็มักจะใช้วิธีการหลอก เช่น ถ้าเสียงประทัดมาแสดงว่าจะมีการปรากฎตัวของภูติผีปิศาจที่จะมารับตัวเด็กดื้อไปอยู่ด้วย

วิธีปลอบใจ เมื่อลูกกลัวเสียงประทัด

ความกลัวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะแก้ไขต้องอาศัยระยะเวลาค่ะ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็ยังมีส่วนสำคัญ ในการปลอบลูก และให้กำลังใจลูก ดังนี้

ฝึกให้ชิน

เพราะการที่คนเราได้ทำอะไรบ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดความคุ้นชิน รวมถึงในเรื่องความกลัวของเสียงประทัดเช่นกัน ให้คุณพ่อคุณแม่ลองเปิดเสียงประทัด หรือคลิปรายการที่มีเสียงประทัดให้ลูกฟัง แต่เปิดแบบเบา ๆ ลักษณะเหมือนว่าเราดูทีวีปกติ เปิดไว้สัก 10 วินาทีพอค่ะ ที่ว่าไม่ควรเปิดเสียงดัง เนื่องจากจะกลายเป็นเพิ่มความกลัวให้ลูกมากขึ้นได้

เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือ

หากต้องการพาลูกไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ แนะนำว่าควรเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยไปด้วยทุกครั้ง เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่าที่ใดจะมีการจุดประทัด อุปกรณ์ช่วยเหลือ ได้แก่ ที่ครอบหู, ตุ๊กตาตัวโปรด หรือแม้แต่ผ้าห่มที่ลูกใช้ประจำ

บอกล่วงหน้า

หากคุณพ่อคุณแม่จะพาลูกไปเที่ยวในสถานที่ที่คาดว่าน่าจะมีประทัด ให้บอกกับลูกล่วงหน้า เพื่อที่ลูกจะได้รับรู้, เข้าใจ และจะได้เตรียมตัวรับมือเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์นั้น ๆ และถ้าหากว่าเมื่อเจอกับเหตุการณ์จริงแล้ว ลูกยังคงแสดงความกลัว และไม่สบายใจที่จะอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกจากจุดนั้นทันที

แม่โน้ต

การที่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกออกจากสถานการณ์นั้น ๆ ทันที เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก คุณพ่อคุณแม่ต้องรักษา “ความเชื่อใจ” ที่ลูกมอบให้ไว้ให้ได้ค่ะ เมื่อลูกเกิดความเชื่อใจในตัวคุณพ่อคุณแม่แล้ว เขาก็จะพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ได้อีกในอนาคตค่ะ เพราะลูกรู้ว่าเมื่ออยู่กับคุณพ่อคุณแม่แล้ว เขารู้สึก “ปลอดภัย”

ไม่ดุลูก

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกได้ยินเสียงประทัด แล้วเกิดอาการกลัว สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเลยก็คือ การดุลูกด้วยเสียงที่ดัง เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเลิกกลัวเสียงประทัดที่ดังด้วยการดุลูกด้วยเสียงที่ดังเช่นกัน แบบนี้ยิ่งจะทำให้ลูกกลัวมากขึ้น

หากอาการมากขึ้น ควรพบแพทย์

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกมีอาการกลัวมากขึ้น อาทิ หายใจติดขัด, สั่นกลัว จนต้องเอามือมาปิดหู, ตาเลิ่กลั่ก หรือมีอาการสั่นกลัวมากอย่างเห็นได้ชัด แนะนำว่าควรรีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากมีแนวโน้มว่าลูกอาจมีอาการในกลุ่ม Phobia หรือที่เรียกกันว่า สภาวะการกลัวในขั้นต้นนั่นเอง

คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ดสบายใจเมื่อเห็นลูกมีอาการกลัวเสียงประทัด แต่การแก้ไขก็ควรค่อยเป็นค่อยไป และการแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การให้ความเข้าใจกับลูก และอ้อมกอดอันอบอุ่นของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP