ลูกกินข้าวช้ามาก ชอบอมข้าว เพราะอะไร?

เลี้ยงลูก
JESSIE MUM

อีกหนึ่งปัญหาปวดหัวที่คลาสสิกสำหรับผู้ที่เป็นคุณพ่อคุณแม่นั่นก็คือ ลูกกินข้าวช้า ลูกกินยาก ลูกไม่ยอมเคี้ยวข้าว ป้อนข้าวเข้าปากแล้ว เผลอเป็นไม่ได้ต้องอมข้าวตลอด ซึ่งปัญหาที่ตามมาจากการอมข้าวจะมีตามมาอีกมามายทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันผุ รวมถึงลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้น้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุยในประเด็นนี้กันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ลูกกินข้าวช้า หรืออมข้าว รวมถึงวิธีปรับพฤติกรรม ไปติดตามกันเลยค่ะ

พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าลูกกินข้าวช้า อมข้าว

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มั่นใจว่าลูกเข้าข่ายเป็นเด็กกินข้าวช้า หรืออมข้าวหรือไม่ ให้ลองสังเกตจากพฤติกรรมเหล่านี้ค่ะ ถ้ามีมากกว่า 3 ข้อก็ใช่เลย

ขาดการฝึกการทานข้าวที่ถูกต้อง

เป็นไปได้ว่าลูกยังไม่แน่ใจว่าอาหารชนิดไหนที่สามารถกลืนได้เลย หรืออาหารชนิดไหนที่ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อน จึงทำให้อมข้าวไว้ก่อนยังไม่กล้ากลืนลงไป

ต่อต้านจากการถูกบังคับให้กิน

เป็นไปได้ว่าก่อนหน้านี้เด็ก ๆ เคยถูกคุณพ่อคุณแม่ดุมาก่อน เด็กจึงเกิดความฝังใจ และจะยิ่งทำให้เขาไม่อยากกินข้าว คือการที่คุณพ่อคุณแม่ดุลูก บังคับให้ลูกกินข้าวได้กลายเป็นภาพจำของเด็ก ๆ ว่าไม่อยากนั่งกินข้าวกับคุณพ่อคุณแม่เลย เพราะกลัวโดนดุอีก บรรยากาศการกินข้าวก็เสียไปได้

แม่โน้ต

ประเด็นนี้ในชีวิตจริง แม่โน้ตก็ไม่ได้หมายถึงว่าต้องให้คุณพ่อคุณแม่ตามใจลูก หากลูกไม่กินข้าวนะคะ เพียงแต่ถ้าเราเห็นว่าลูกไม่ยอมกินไม่ยอมเคี้ยว ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผลและความจริงว่า “ถ้าหนูยังอมข้าวแบบนี้ฟันหนูจะผุ หรือถ้าหนูไม่กลืนข้าว หนูจะน้ำหนักน้อยและป่วยง่าย หนูจะต้องกินยาด้วยนะ” เหล่านี้ เป็นต้นค่ะ

มีสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจ

ได้แก่ การเปิดทีวี, มือถือ หรือแทปเล็ต ขณะกินข้าว เพราะสิ่งเหล่านี้จะดึงดูดเด็กให้เพลิดเพลินกับความสนุกจนลืมเคี้ยวข้าวได้

ใช้เวลาทานข้าวนาน

โดยปกติแล้วตามหลักทฤษฎี ระยะเวลาในการกินข้าวไม่ควรเกิน 30 นาที แต่สำหรับโน้ตอาจจะยืดหยุ่นให้เป็นสัก 45 นาที แต่ถ้าหากเกินกว่านี้ แสดงว่าลูกไม่อยากกินข้าวแล้วล่ะค่ะ

ต้องคอยเตือนให้เคี้ยวและกลืน

แม้ว่าในระหว่างการกินข้าว จะไม่มีสิ่งเร้า ไม่มีสิ่งที่จะทำให้ลูกเบี่ยงเบนความสนใจ แต่ลูกก็ยังกินข้าวช้า หรืออมข้าวอยู่ดี พร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเตือนให้ทั้งเคี้ยวและกลืน แบบนี้ก็เข้าข่ายว่าลูกไม่อยากกินข้าวค่ะ

เคี้ยวตลอดแต่ไม่กลืน

เมื่อข้าวเข้าปากลูก ลูกก็เคี้ยว คุณพ่อคุณแม่ก็เห็นว่าลูกเคี้ยวตลอด แต่…ทำไมลูกไม่ยอมกลืนสักที

วิธีปรับพฤติกรรมลูกอมข้าว

การปรับพฤติกรรมลูกต้องอาศัยระยะเวลา แต่ไม่ใช่เรื่องที่เกินความสามารถของคุณพ่อคุณแม่แน่นอน มีอะไรบ้างไปติดตามกันค่ะ

เป็นต้นแบบที่ดี

เริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ก่อนค่ะ ด้วยการตั้งใจกินให้ลูกเห็นทุก ๆ วัน และทุก ๆ ครั้งที่กินข้าว เรียกได้ว่าควรฝึกตัวเองให้เป็นนิสัยก่อน เชื่อเถอะว่าเมื่อลูกได้เห็นคุณพ่อคุณแม่แบบนี้ในทุก ๆ ครั้งที่กินข้าว ลูกจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ค่ะ

ฝึกลูกให้เคารพเรื่องเวลา

เคารพเวลา หมายถึง ถ้ากำหนดเวลาให้กินข้าวภายใน 30-40 นาทีก็ควรทำให้เสร็จตามนั้น เพราะเมื่อลูกโตขึ้น ต้องออกไปเรียนรู้การใช้ชีวิตกับคนในสังคม ลูกจะได้คุ้นชินค่ะ

กำหนดปริมาณให้พอดีกับที่ลูกกิน

เพราะหากลูกเห็นปริมาณอาหารที่มากเกินไป ลูกอาจจะรู้สึกว่าไม่อยากกิน เพราะเยอะเกินไป

ปิดสิ่งเร้าทุกอย่าง

เพื่อให้ลูกได้โฟกัสอยู่ที่การกินข้าวแต่เพียงอย่างเดียว

ไม่ควรยอมลูกมากนัก

หากลูกยังไม่ยอมกลืนข้าว แล้วสุดท้ายลูกบอกว่าอิ่มแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรยอมลูกมากนัก ถ้าลูกไม่ยอมกลืนข้าวจริง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกเลยค่ะ ว่าเพราะอะไรหนูถึงไม่กลืนข้าว ด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบปกตินะคะ ไม่ดุลูก

แม่โน้ต

เรื่องของการพูดคุยกับลูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคิดว่าลูกยังเล็ก เขาคงไม่เข้า ความจริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยค่ะ โน้ตเลี้ยงลูกด้วยวิธีการพูดคุยแบบผู้ใหญ่เลยค่ะ เน้นเรื่องเหตุผลเป็นหลัก แล้วพูดให้กระชับ ไม่อย่างนั้นลูกอาจหลุดโฟกัสได้ มาตอนนี้ลูกเป็นเด็กที่มีเหตุผล เข้าใจอะไรได้ค่อนข้างง่ายเลยทีเดียว คุณพ่อคุณแม่ลองนำไปปรับใช้ก็ไม่ว่ากันนะคะ

ไม่ควรกินขนมก่อนเวลาข้าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนเวลาข้าว 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ลูกกินข้าวได้น้อยลง

เรื่องที่ลูกกินข้าวช้า หรืออมข้าวต้องมีสาเหตุ มีที่มาที่ไปค่ะ เพียงแต่ให้คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตพฤติกรรมของลูกดูนะคะ ว่าเพราะอะไร ซึ่งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มองเห็นทางออกได้อย่างถูกทางอีกด้วยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP