พัฒนา EF โลกนี้มี WI-FI ฉันใดเด็กก็จะต้องมี EF ฉันนั้น

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ

EF ย่อมาจาก Executive Function นับเป็นสิ่งพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรมี หากเด็กมี EF ที่ดี เขาก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะพวกเขาจะสามารถควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำได้ดี เปรียบเสมือนกับถ้าโลกนี้มี WI-FI เด็กก็ควรมี EF ที่ดีเช่นกัน แต่เนื่องจากมีปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวแปรในการฝึกสอนเด็ก นั่นก็คือ “พัฒนาการตามวัย” ความเข้าใจ ความอยากรู้ อยากลอง ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันค่ะว่าเด็กวัยไหนต้องการอะไร? และคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนลูกอย่างไรเพื่อให้ลูกได้มีพื้นฐาน EF ที่ดี

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะได้จากบทความนี้

เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกและสอนลูกได้อย่างถูกทางมากขึ้น วันนี้เราจะมาพูดกันใน 3 เรื่องนี้ค่ะ

  1. พัฒนาการเด็ก
  2. EF (Executive Function)
  3. ปรับพฤติกรรม

พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก (Epigenesis)

นับเป็นลำดับชั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สร้างชั้นที่ 1 เอาไว้อย่างดี ชั้นต่อ ๆ ไป ก็จะดีและง่ายขึ้น ถ้าสร้างชั้นที่ 1 ไว้อย่างแข็งแรง ชั้นต่อ ๆ ไปก็จะแข็งแรงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ปีแรก เช่น ถ้าสร้างพื้นฐานเอาไว้ดี ตอนมัธยมลูกเกเร แล้วคุณพ่อคุณแม่ทุบเขา ถ้าพื้นฐานดี อย่างมากก็กินเหล้าแล้วก็เลิก แต่ถ้าพื้นฐานไม่ดี หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ เขาอาจน้อยใจคิดฆ่าตัวตาย เพราะฉะ

เวลาวิกฤติ (Critical Period)

หมายถึงว่าเมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำก็ควรทำ และทำให้เหมาะสมกับวัย เช่น ชั้นที่ 1 คือ ช่วง 12 เดือนแรก ลูกอยากให้คุณพ่อคุณแม่ ‘อุ้ม กอด บอกรัก’ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ทำพอมาชั้นที่ 5 คือชั้นวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่อยาก ‘อุ้ม กอด บอกรัก’ ลูกก็ไม่เอาคุณพ่อคุณแม่แล้ว ลูกไม่กลับบ้าน หรือ ชั้นที่ 1 ลูกอยากให้ป้อนข้าว ป้อนนม แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ทำ พอมาชั้นที่ 5 เราจะไปป้อนนม ลูกก็ไม่กินแล้วค่ะ ลูกจะกินแต่เหล้าแล้วทีนี้

หน้าที่ (Function)

คือ เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ ลูกก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำเช่นกัน ซึ่งในแต่ละชั้นก็จะมีอยู่ 2 – 3 หน้าที่ที่ลูกต้องทำ

EF (Executive Function)

EF หรือ Executive Function หมายถึง ความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย (นิยามโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปนัดดา ธนเศรษฐกร)

EF ประกอบไปด้วย 3 ข้อที่สำคัญ คือ

การควบคุมตัวเอง (Self-Control)

คือ สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน (Focus) ไม่วอกแวก (Distraction) รู้จักประวิงเวลามีความสุข (Delay Gratification) หรือเรียกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวานนั่นเอง

ความจำที่พร้อมใช้ (Working Memory)

เมื่อถึงสถานการณ์ที่ต้องใช้ ความจำต้องพร้อมนำออกมาใช้ได้เสมอ คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยลูกได้ด้วยการเล่นและฝึกงานบ้าน เพราะทั้งสองกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความจำ และมีการบริหารความจำตลอดเวลา

การคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)

คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผ่านการปรับเปลี่ยนมุมมอง เพื่อให้ได้ถึงเป้าหมาย คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นและส่งแสริมลูกได้ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตั้งแต่วัย 2 – 7 ปี และในช่วง 8 – 12 ปี เพราะทั้งสองช่วงนี้ “สมอง” จะมีการวางโครงสร้างด้านตรรกะ การใช้เหตุผล แล้วจึงนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่นและพลิกแพลงต่อไปได้

ปรับพฤติกรรม

เพื่อให้การฝึกสอนลูกได้ผลอย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกในแต่ละช่วงวัยก่อน

แรกเกิด – 1 ปี : Self-Centered

ลูกจะคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
Animism : ทุกอย่างมีชีวิต เช่น ตุ๊กตาทุกตัวของเขามีชีวิต อย่าแยกเขาออกจากกัน
Magic : ความคิดเชิงเวทมนตร์ ที่ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเวทมนตร์
Phenomenalistic Causality : การจับแพะชนแกะ

อายุ 6 – 12 ปี : Concrete

มีความคิดในเชิงรูปธรรม คือ เห็นอย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นหมาก็เป็นหมา ไม่มีอะไรซับซ้อน

อายุ 12 – 18 ปี : Abstract

มีความคิดเชิงนามธรรม สมองสามารถให้ความหมายกับสิ่งที่เห็น และสามารถให้ความหมายกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้

EF เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับลูกน้อย สิ่งสำคัญคือ เรื่องของการเป็นต้นแบบที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่โมโหง่าย หรือรำคาญในสิ่งที่ลูกถามจะเท่ากับเป็นการบั่นทอนพัฒนาการและปิดกั้นการเรียนรู้ของลูกน้อยเลยทีเดียวค่ะ

อ้างอิง
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP