ลูกไม่ยอมกินนมแม่ ทำอย่างไรดี

การเลี้ยงลูกวัยแรกเกิด-1 ขวบ
JESSIE MUM

อาจมีคุณแม่บางคนที่เผชิญกับปัญหาลูกน้อยไม่ยอมกินนมแม่ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ดูดได้ปกติดี อาการนี้เป็นสัญญาณที่ลูกน้อยพยายามจะสื่อสารกับคุณแม่ค่ะว่าต้องมีสิ่งผิดปกติอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะจากทั้งคุณแม่เองหรือจากทั้งลูกน้อย กรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทารกทุกคนนะคะ เป็นเพียงบางคนเท่านั้น

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมกินนมแม่นั้น สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ ดังนี้

เกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ลูกน้อยอาจมีอาการหูอักเสบติดเชื้อ ส่งผลให้ขณะที่ลูกดูดนมแล้วมีอาการเจ็บในหู หรืออาจเกิดจากความเจ็บป่วยทั่วไป รวมไปถึงหลังการรับวัคซีน ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเครียดจึงไม่อยากกินนม
ชินกับการดูดขวดมาก่อน ทารกบางคนเคยดูดนมจากขวดมาก่อน (อาจเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวดไว้) ที่ใช้แรงดูดน้อยกว่าการดูดนมแม่ ทารกจึงติดใจการดูดจากขวดมากกว่า
เจ็บเหงือก เพราะฟันจะขึ้น ลูกน้อยอาจเจ็บเหงือกเพราะฟันจะขึ้น อาจมีแผลในช่องปาก มีเชื้อรา รวมถึงอาจเจ็บคอ เนื่องจากอาการหวัด
ท่าอุ้มให้นมที่ผิดท่า ท่าอุ้มให้นมมีความสำคัญมากค่ะ เพราะท่าอุ้มที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลให้ลูกน้อยไม่สบายตัว และปฏิเสธเต้าแม่ได้เช่นกัน
ลูกน้อยห่างจากแม่นานเกินไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามที่คุณแม่ต้องจากลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยสับสน เพราะตารางชีวิตเปลี่ยนไปมาก จึงทำให้ลูกน้อยไม่คุ้นเคยที่จะดูดเต้าคุณแม่
ไม่สบาย หายใจไม่สะดวก เพราะทารกยังไม่สามารถหายใจทางปากได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการแน่น หรือคัดจมูกจึงทำให้ลูกน้อยไม่อยากกินนนม
ปริมาณน้ำนมแม่ที่ลดลง เนื่องจากคุณแม่บางคนให้นมผสมกับลูกน้อยมากกว่าการเข้าเต้า จึงส่งผลให้ปริมาณน้ำนมของคุณแม่ลดลง ทำให้ลูกต้องใช้แรงดูดมาก
มีสิ่งเร้าอื่น ๆ รอบตัว ในขณะที่ลูกกินนมแม่นั้น รอบ ๆ ตัวลูกมีสิ่งเร้า เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของลูกไป อาทิ เสียงดังจากนอกบ้าน เสียงแตรรถ เสียงทีวี และเสียงจากของเล่น เป็นต้น

วิธีแก้ไขให้ลูกยอมกินนมแม่

หากลูกน้อยไม่ยอมกินนนมแม่ คุณแม่อย่าเพิ่งท้อใจไป มาลองวิธีเหล่านี้ดูค่ะ

เปลี่ยนท่าให้นม ท่าให้นมลูกมีความสำคัญมากค่ะ เพราะถ้าคุณแม่อุ้มลูกไม่ถูกต้องลูกจะไม่สบายตัว ทำให้ลูกไม่อยากดูดนมได้ (คลิกที่นี่ > “4 ท่าให้นมลูกยอดนิยมพร้อมท่าทางที่ถูกต้อง

มีท่าให้นมลูกแบบอื่น ๆ อีกไหมที่สบายทั้งแม่และลูก? เรารวมท่ายอดฮิตในการให้นมลูกไว้ที่นี่แล้ว

บริหารเวลาเพื่อให้เวลาลูกมากขึ้น คุณแม่บางคนต้องทำงานนอกบ้าน ออกจากบ้านแต่เช้ากลับบ้านมาลูกก็หลับแล้ว ลองปรับเปลี่ยนซักนิดค่ะ ลองบริหารเวลาใหม่ เพื่อให้เวลาลูกมากขึ้น เพื่อการใกล้ชิดกันมากขึ้น
ให้ลูกเข้าเต้าตรงเวลา คุณแม่ควรจัดตารางการให้นมลูกที่ตรงเวลาในทุกวัน เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ถึงเวลากินนม คุณแม่จะให้เข้าเต้าทุกครั้ง นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการคัดเต้านมและท่อน้ำนมอุดตันได้อีกด้วยค่ะ
เมื่อลูกหิวนม ให้ลูกเข้าเต้าทุกครั้ง สำหรับเด็กบางคนจะหิวบ่อย ถ้าเป็นแบบนี้ คุณแม่สามารถให้ลูกเข้าเต้าได้เลยค่ะ อย่าเพิ่งกังวลว่าจะตามใจลูกเกินไปหรือเปล่า ลูกจะกินนมไม่ตรงเวลาหรือเปล่า แต่เราควรทำให้ลูกกลับมาเข้าเต้าคุณแม่ได้ก่อน
กอดลูก อุ้มลูกมากขึ้น ร้อยทั้งร้อยค่ะ ลูกน้อยต้องการความรัก ความอบอุ่นจากคุณแม่ บางครั้งคุณแม่ได้อุ้มเค้า พาเค้าเดินเล่น แค่นี้เค้าก็มีความสุขมากแล้วค่ะ และเมื่อปริมาณความรัก ความสุขมีมากพอ ลูกน้อยจะเริ่มเข้าเต้าคุณแม่เอง
จัดบรรยากาศห้องให้สบาย อากาศถ่ายเทสะดวก คุณแม่ควรจัดห้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เงียบ สงบ พร้อมกับให้ลูกเข้าเต้า โดยที่คุณแม่สามารถนั่งบนเก้าอี้โยกช้า ๆ ได้แบบเพลิน ๆ (ย้ำว่าช้า ๆ นะคะ ไม่อย่างนั้นลูกอาจสำลักได้)
เปลี่ยนวิธีการให้นม เช่น จากเดิมคุณแม่อาจให้เข้าเต้าแล้วลูกปฏิเสธ ก็อาจเปลี่ยนมาเป็นการให้นมจากถ้วย หรือหลอดหยดแบบนี้ก็ได้ค่ะ

คุณแม่ลองพิจารณาดูนะคะว่ามีสาเหตุไหนที่ตรงหรือใกล้เคียงกับที่ลูกน้อยกำลังเป็นอยู่บ้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ คุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ดุลูก ไม่หงุดหงิด เพราะลูกสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของคุณแม่ค่ะ ยิ่งถ้าเป็นในกรณีที่ลูกเคยดูดขวดมาก็จะต้องใช้ความพยายามซักหน่อย แต่สำหรับทารกบางคนที่เคยดูดขวดมาก่อน แต่อยู่มาวันหนึ่งก็ไม่ดูดขวดซะอย่างนั้น คลิกที่นี่ > “อยู่ดี ๆ ลูกก็ไม่ยอมดูดขวด ทำอย่างไรดี


เมื่อก่อนลูกยังดูดนมจากขวดได้ อยู่ ๆ ลูกก็ไม่ยอมดูดซะอย่างนั้น ทำอย่างไรดี? พบกับสาเหตุ พร้อมทั้งวิธีแก้ไขได้ที่นี่ คลิกเลย

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP