ลูกวัย 1 ขวบ เบื่ออาหาร สาเหตุ และวิธีแก้ไข

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

ปัญหาลูกวัย 1 ขวบ เบื่ออาหาร ไม่ยอมกินข้าว นับเป็นปัญหาคลาสสิกที่ทุกครอบครัวต้องเจอโดยเฉพาะในเด็กวัย 1 – 7 ปี เพียงความรุนแรงของปัญหาอาจต่างกันไปในแต่ละคน

จากการศึกษาของ พญ.วรุณา กลกิจโกวินท์ พบว่าแม่ที่มีลูกวัย 1- 3 ปี รายงานว่าลกมีปัญหาการกินร้อยละ 35.3 ส่วนวัย 3 – 5 ปี มีปัญหาร้อยละ 40.6 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่าปัญหาการกินของเด็กช่วงอายุ 4 ปี มีถึงร้อยละ 42
ข้อมูลอ้างอิง si.mahidol.ac.th

สาเหตุ ลูกวัย 1 ขวบ เบื่ออาหาร

เมื่อลูกน้อยไม่ยอมกินข้าว ซึ่งด้วยความไม่รู้ ความเข้าใจผิด และความรักความห่วงใยของคุณพ่อคุณแม่จึงเกิดเป็นความวิตกกังวลว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งนำมาสู่การแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด ดังนี้

เข้าใจว่าเด็กอ้วนคือเด็กที่แข็งแรง

ข้อนี้เป็นค่านิยมที่ผิด คิดว่าเด็กที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ปกตินั้นน่ารัก คุณพ่อคุณแม่จึงยัดเยียดอาหารให้

เข้าใจไปเองว่าลูกน้ำหนักน้อย

เมื่อคุณพ่อคุณแม่นำลูกตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นในวัยเดียวกันที่มีน้ำหนักเกิน จึงทำให้ลูกน้อยดูว่าผอมเกินไป

ไม่รู้ว่าธรรมชาติของเด็กอายุ 1 ขวบจะสนใจเรื่องกินน้อยลง

โดยปกติของเด็กแล้วในขวบปีแรกยังสนุกกับการกิน กินเก่ง โตเร็ว เด็กจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว เช่น น้ำหนักแรกเกิดประมาณ 3 กก. และจะเพิ่มเป็น 9 กก. เมื่ออายุได้ 1 ปี หลังจากนี้ไปจนถึง 10 ปี น้ำหนักจะขึ้นเฉลี่ยที่ 2 กก. โดยประมาณเท่านั้น

ไม่รู้ ไม่แน่ใจว่าลูกควรกินอาหารมาก-น้อยเท่าไหร่ต่อวัน

ส่วนใหญ่แล้วคุณพ่อคุณแม่จะห่วงกลัวลูกจะกินไม่อิ่ม จึงตักอาหารให้ซึ่งมักจะมากกว่าปริมาณที่ลูกกิน พออาหารเหลือจึงทำให้เข้าใจว่าลูกกินน้อย

ไม่รู้ว่าบางวันที่ลูกกินน้อยนั้น คือ เรื่องปกติ

เด็กคนเดียวกันก็มีความต้องการอาหารในแต่ละมื้อ แต่ละวันไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง อาทิ กิจกรรมที่ทำในวันนั้น สภาพอารมณ์และจิตใจ ความเจ็บป่วย แม้แต่สภาพอากาศก็มีผลเช่นกัน

ไม่รู้ว่าความต้องการปริมาณอาหารของเด็กต่างกันในแต่ละคน

แม้ว่าเด็กจะมีน้ำหนักเท่ากัน แต่ในแต่ละคนก็อาจกินอาหารที่มาก-น้อยต่างกันได้มากทีเดียว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอัตราในการใช้พลังงาน การย่อย การดูดซึม รวมถึงอัตราการเผาผลาญอาหารของเด็กแต่ละคนด้วยเช่นกัน

เทคนิคช่วยให้ลูกอยากกินอาหาร

  • เสิร์ฟทีละน้อย ๆ ก่อน ถ้าลูกกินหมดแล้ว ค่อยเติมให้ใหม่ หากกลัวว่าลูกไม่อิ่ม
  • งดของว่างระหว่างมื้อ โดยเฉพาะหากก่อนมื้ออาหารหลัก 1 ชั่วโมง
  • จำกัดเครื่องดื่มระหว่างมื้ออาหาร รวมถึงของเหลวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหวาน น้ำผลไม้ นม รวมถึงน้ำเปล่า เนื่องจากไปกินพื้นที่ในกระเพาะลูกน้อยทำให้ไม่หิวและกินข้าวได้น้อย
  • ใช้ Finger Food หรืออาหารที่ลูกน้อยสามารถหยิบจับมากินเองได้ โดยเตรียมไว้เป็นชิ้น ๆ นอกจากลูกจะได้ความสนุกแล้ว ยังเป็นการฝึกกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ทำงานประสานกันกับสายตาอีกด้วย
  • เตรียมอาหารที่มีสีสันและรูปร่างที่น่าสนใจ
  • ลองให้กินอาหารแบบเดียวกับที่คุณพ่อคุณแม่กิน บางครั้งลูกอาจเบื่ออาหารแบบเด็ก ๆ ก็เป็นได้ค่ะ
  • ให้ลูกนั่งกินข้าวด้วยกันกับคุณพ่อคุณแม่ และสร้างบรรยากาศในการกินที่ดี ลูกจะรู้สึกสนุกกับการที่ได้นั่งกินข้าวกันพร้อมหน้า
  • ปิดสิ่งเร้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทีวี แท็บเล็ต หรือมือถือ
  • ชวนเพื่อน ๆ มากินอาหารด้วยกันในบางมื้อ ลูกก็จะรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น
  • หลังเสิร์ฟอาหารแล้ว ให้รอดูทีท่าลูกประมาณ 20 นาที หากลูกยังเขี่ยข้าว เราค่อยออกปากเตือน หากเวลาผ่านไป 45 นาที ลูกยังคงเขี่ยอยู่ ไม่ยอมกิน คุณแม่สามารถเก็บโต๊ะไปได้เลย ไม่ติดสินบนลูก หรือแสดงอาการหงุดหงิด
แม่โน้ต

คุณแม่ควรทำความตกลงกับลูกก่อนการกินอาหารค่ะ ว่าจะให้เวลากินกี่นาที โดยทั่วไปสามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 30 – 45 นาที ค่ะ

  • ไม่บังคับให้ลูกกินข้าว เพราะความอยากอาหารและปริมาณอาหารที่เด็กต้องการในแต่ละวันนั้นต่างกัน
  • ชวนลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน เป็นการใช้พลังงาน เพื่อให้ลูกเกิดความอยากอาหาร

ก่อนการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจในธรรมชาติของลูก รู้ถึงปัญหาที่แท้จริงของลูกแล้ว การแก้ไขปัญหาก็ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพียงแต่ต้องใจเย็นและอาศัยระยะเวลาสักนิด อาจเริ่มจากการที่คุณแม่คิดเมนูใหม่ ๆ “เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ” แบบนี้ก็ได้ค่ะ แล้วสังเกตว่าลูกชอบเมนูไหน หลังจากนั้นก็ค่อยดัดแปลงเมนูอื่นเรื่อย ๆ ปัญหาลูกเบื่ออาหารก็จะค่อย ๆ ลงลง


อยากหาเมนูใหม่ให้ลูกวัย 1 ขวบ เผื่อลูกจะกินได้เยอะขึ้น? พบกับ 5 เมนูที่เพิ่มน้ำหนักให้ลูกน้อยวัย 1 ขวบ ได้ที่นี่ รับรองถูกใจแม่ ติดใจลูก คลิกเลย

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP