พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของทารกวัยแรกเกิด – 6 ปี นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ลูกน้อยควรได้รับการฝึกและการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะหากลูกน้อยไม่สามารถสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่หรือคนอื่น ๆ เข้าใจได้ว่าเขาต้องการอะไร ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ตอบสนองลูกได้ไม่ถูกต้องตามที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเกิดความหงุดหงิด นาน ๆ เข้าอาจกลายเป็นเด็กขี้โมโห เอาแต่ใจได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าในแต่ละช่วงวัยนั้น ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไปอย่างไรบ้าง เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ฝึกลูกได้อย่างถูกต้องและตรงกับช่วงวัยค่ะ
สารบัญ
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 1 เดือน
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2 – 3 เดือน
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 5 – 6 เดือน
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 9 เดือน
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 10 – 12 เดือน
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 1.6 ปี
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2 – 2.6 ปี
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2.6 – 3 ปี
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 3 – 4 ปี
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 4 – 5 ปี
- พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 6 ปี
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 1 เดือน
ความเข้าใจด้านภาษา
มีการตอบสนองต่อเสียงที่ดังได้ เช่น สะดุ้ง หรือมีการขยับตัว เป็นต้น
การแสดงออกทางภาษา
ส่งเสียงร้องเมื่อหิว หรือไม่สบายตัว เช่น อากาศร้อน หรือเปียกชื้น เป็นต้น
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2 – 3 เดือน
ความเข้าใจด้านภาษา
สนใจเสียงพูดของคนรอบข้าง เคลื่อนไหวตัว หรือหันตามเสียงของคุณแม่ สามารถยิ้ม หรือนิ่งฟังได้
การแสดงออกทางภาษา
สามารถทำเสียงอ้อแอ้ (Babbling) เมื่อมีความพึงพอใจหรือไม่พอใจได้
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 5 – 6 เดือน
ความเข้าใจด้านภาษา
รู้จักแยกทิศทางของเสียง สามารถหันหน้าไปตามทิศทางของเสียงได้แม่นยำขึ้น
การแสดงออกทางภาษา
- เริ่มมีการออกเสียงและเล่นเสียงต่าง ๆ ได้ เช่น มามา ดาดา ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เปล่งเสียงเพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจ หรือบอกความต้องการ
- เลียนเสียงตัวเอง เล่นกับเสียงตัวเอง โดยทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 9 เดือน
ความเข้าใจด้านภาษา
- สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย หรือไม่เอา
- หยุดเล่นเมื่อถูกคุณแม่ดุ หรือบอกว่าอย่า
การแสดงออกทางภาษา
- เริ่มพูดตามด้วยการเลียนเสียงและคำพูดของคุณพ่อคุณแม่และผู้อื่น
- ทำเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ
- พูดคำเดียว ซึ่งเขาถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นได้อย่างสมบรณ์
- มีเป้าหมายของการสื่อสาร
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 10 – 12 เดือน
ความเข้าใจด้านภาษา
- สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้มากขึ้น
- เมื่อถูกเรียกชื่อ จะหันหน้าไปหาได้อย่างถูกต้อง
- เข้าใจคำศัพท์ประมาณ 10 คำ
การแสดงออกทางภาษา
- เริ่มพูดคำพยางค์เดียวที่มีความหมาย เช่น แม่ หม่ำ
- ตอบคำถามด้วยการใช้ท่าทางง่าย ๆ
- ใช้ท่าทางร่วมกับเสียง เพื่อเรียกชื่อ หรือวัตถุ
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 1.6 ปี
ความเข้าใจด้านภาษา
- สามารถทำตามคำสั่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้
- เข้าใจคำห้ามง่าย ๆ ได้
- ชี้อวัยวะของร่างกายได้ถูกต้อง 1 – 3 อย่าง
- รู้จักชื่อคน สัตว์ และสิ่งของประมาณ 100 คำ
การแสดงออกทางภาษา
- พูดคำที่มีความหมายได้ประมาณ 10 – 15 คำ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น 1 พยางค์
- ใช้คำแทนหลายหน้าที่ได
- เริ่มนำคำ 1 พยางค์มาผสมเป็น 2 พยางค์ที่มีความหมายได้มากขึ้น
- บอกหรือสื่อสารความต้องการง่าย ๆ ได้ เช่น เอา ไม่เอา ไป ไม่ไป หม่ำ ไม่หม้ำ ให้ ไม่ให้
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2 – 2.6 ปี
ความเข้าใจด้านภาษา
- รู้จักและเข้าใจคำศัพท์มากขึ้น ประมาณ 500 คำ
- ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันได้
- รู้จักหน้าที่ที่ถูกต้องของสิ่งของนั้น ๆ ได้ เช่น หวี ต้องใช้หวีผม เป็นต้น
- เข้าใจประโยคคำถาม หรือคำสั่งสั้น ๆ ไม่ซับซ้อนได้ เช่น นี่อะไร พ่อไปไหน แม่อยู่ไหน
การแสดงออกทางภาษา
- พูดวลีหรือประโยคสั้น ๆ ได้ 2 – 3 พยางค์ โดยมีประธาน กริยา และกรรม
- พูดคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ ประมาณ 50 – 500 คำ
- สามารถพูดโต้ตอบได้
- บอกชื่อเล่นตัวเองได้
- ถามว่า “อะไร?” ได้
- สามารถบอกความต้องการได้เป็นประโยคมากขึ้น แต่อาจเรียงประโยคผิด
- เริ่มใช้คำเชื่อมประโยค “และ” ได้
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2.6 – 3 ปี
ความเข้าใจด้านภาษา
- เข้าใจคำศัพท์มากขึ้น 500 – 1,200 คำ
- ทำตามคำสั่งที่ใช้คำบุพบทหรือคำกริยาที่ยากขึ้นได้
- ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้
- เข้าใจเรื่องเล็กและใหญ่
การแสดงออกทางภาษา
- พูดประโยคที่ยาวขึ้น
- พูดคำศัพท์ได้ราว 900 คำ
- พูดคุยในเรื่องที่กำลังเกิดได้
- บอกชื่อเรียกและหน้าที่ของวัตถุได้
- ตอบคำถาม ใคร อะไร
- บอกความต้องการเมื่อจะเข้าห้องน้ำได้
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 3 – 4 ปี
ความเข้าใจด้านภาษา
- เข้าใจคำศัพท์ 2,400 – 3,600 คำ
- เรียนรู้การเข้าสังคมด้วยการพูดสื่อสาร
- เข้าใจคำบุพบทได้ เช่น บน ใต้ ข้างบน ข้างล่าง
- เข้าใจคำสั่งที่เป็นประโยคยาว ๆ เช่น กินข้าวเสร็จก่อนแล้วดูการ์ตูนได้
- เข้าใจคำวิเศษณ์ เช่น เก่ง สวย ใหญ่ เล็ก
การแสดงออกทางภาษา
- พูดคุยถามตอบได้ใจความมากขึ้น และพูดคุยได้นานขึ้น พูดยาว 3 – 4 คำ แต่อาจพูดไม่ชั
- พูดคำศัพท์ได้ราว 900 – 1,500 คำ
- ชอบซักถาม – เล่าเรื่องแบบถามคำตอบคำได้ แต่ยังไม่สามารถเล่าต่อเนื่องได้
- ชอบถามคำถาม อะไร ที่ไหน ใคร
- พูดเสียงสระได้ชัดทุกเสียง
- พูดเสียงพยัญชนะ ม น ห อ ย ค ว ป ก บ
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 4 – 5 ปี
ความเข้าใจด้านภาษา
- เข้าใจคำศัพท์ 3,600 – 5,600 คำ
- เข้าใจประโยคคำสั่งที่มี 2-3 ขั้นตอน
- เข้าใจรูปประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
- เข้าใจความหมายของจำนวนนับได้ไม่ต่ำกว่าจำนวน 3 เช่น หยิบกระโปรง 3 ตัว
การแสดงออกทางภาษา
- เด็กสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ดี นาคาขยายมาใช้มากขึ้น
- พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 2,000 คำ
- ลักษณะประโยคที่พูดมีความยาวคล้ายผู้ใหญ่มากขึ้น
- สามารถบอกชื่อจริงของตนเองได้
- สามารถเล่าเรื่องได้โดยมีเนื้อหาต่อเนื่องกัน
- ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังหรือดูได้
- ชอบถามว่า ทำไม เมื่อไหร่ อย่างไร
- เสียงพยัญชนะที่พูดได้ชัดเพิ่มขึ้น คือ ท ต ล จ พ ง ด
พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 6 ปี
ความเข้าใจด้านภาษา
- เข้าใจคำศัพท์ 13,500 – 15,000 คำ
- เข้าใจว่าสิ่งของมีคุณลักษณะเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร เช่น ปากกาและดินสอ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร หรือ หมากับแมวต่างกัน เหมือนกันอย่างไร
การแสดงออกทางภาษา
- พูดเป็นประโยคยาว 6 – 8 คำได้
- รู้จักใช้คำเปรียบเทียบ ขนาด รูปร่าง ลักษณะ
- เสียงพยัญชนะที่พูดชัดเพิ่ม คือ ส เสียง ส่วนเสียง ร จะชัดเมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป
เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของลูกน้อยวัยแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งจะเป็นการดีมากเลยค่ะหากคุณพ่อคุณแม่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกในด้านนี้ด้วยการชวนลูกพูดคุยในทุก ๆ วัน เพื่อพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของลูกน้อยที่เติบโตสมวัยค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง พิชย์ยุทธ์ สุนทรภิรพงศ์ (นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปฏิบัติการ สถาบันราชานุกูล)