พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของทารกวัยแรกเกิด – 6 ปี

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของทารกวัยแรกเกิด – 6 ปี นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ลูกน้อยควรได้รับการฝึกและการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะหากลูกน้อยไม่สามารถสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่หรือคนอื่น ๆ เข้าใจได้ว่าเขาต้องการอะไร ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ตอบสนองลูกได้ไม่ถูกต้องตามที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเกิดความหงุดหงิด นาน ๆ เข้าอาจกลายเป็นเด็กขี้โมโห เอาแต่ใจได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าในแต่ละช่วงวัยนั้น ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดไปอย่างไรบ้าง เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ฝึกลูกได้อย่างถูกต้องและตรงกับช่วงวัยค่ะ

สารบัญ

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 1 เดือน

ความเข้าใจด้านภาษา

มีการตอบสนองต่อเสียงที่ดังได้ เช่น สะดุ้ง หรือมีการขยับตัว เป็นต้น

การแสดงออกทางภาษา

ส่งเสียงร้องเมื่อหิว หรือไม่สบายตัว เช่น อากาศร้อน หรือเปียกชื้น เป็นต้น

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2 – 3 เดือน

ความเข้าใจด้านภาษา

สนใจเสียงพูดของคนรอบข้าง เคลื่อนไหวตัว หรือหันตามเสียงของคุณแม่ สามารถยิ้ม หรือนิ่งฟังได้

การแสดงออกทางภาษา

สามารถทำเสียงอ้อแอ้ (Babbling) เมื่อมีความพึงพอใจหรือไม่พอใจได้

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 5 – 6 เดือน

ความเข้าใจด้านภาษา

รู้จักแยกทิศทางของเสียง สามารถหันหน้าไปตามทิศทางของเสียงได้แม่นยำขึ้น

การแสดงออกทางภาษา

  • เริ่มมีการออกเสียงและเล่นเสียงต่าง ๆ ได้ เช่น มามา ดาดา ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เปล่งเสียงเพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจ หรือบอกความต้องการ
  • เลียนเสียงตัวเอง เล่นกับเสียงตัวเอง โดยทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 9 เดือน

ความเข้าใจด้านภาษา

  • สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย หรือไม่เอา
  • หยุดเล่นเมื่อถูกคุณแม่ดุ หรือบอกว่าอย่า

การแสดงออกทางภาษา

  • เริ่มพูดตามด้วยการเลียนเสียงและคำพูดของคุณพ่อคุณแม่และผู้อื่น
  • ทำเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  • พูดคำเดียว ซึ่งเขาถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นได้อย่างสมบรณ์
  • มีเป้าหมายของการสื่อสาร

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 10 – 12 เดือน

ความเข้าใจด้านภาษา

  • สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้มากขึ้น
  • เมื่อถูกเรียกชื่อ จะหันหน้าไปหาได้อย่างถูกต้อง
  • เข้าใจคำศัพท์ประมาณ 10 คำ

การแสดงออกทางภาษา

  • เริ่มพูดคำพยางค์เดียวที่มีความหมาย เช่น แม่ หม่ำ
  • ตอบคำถามด้วยการใช้ท่าทางง่าย ๆ
  • ใช้ท่าทางร่วมกับเสียง เพื่อเรียกชื่อ หรือวัตถุ

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 1.6 ปี

ความเข้าใจด้านภาษา

  • สามารถทำตามคำสั่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้
  • เข้าใจคำห้ามง่าย ๆ ได้
  • ชี้อวัยวะของร่างกายได้ถูกต้อง 1 – 3 อย่าง
  • รู้จักชื่อคน สัตว์ และสิ่งของประมาณ 100 คำ

การแสดงออกทางภาษา

  • พูดคำที่มีความหมายได้ประมาณ 10 – 15 คำ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น 1 พยางค์
  • ใช้คำแทนหลายหน้าที่ได
  • เริ่มนำคำ 1 พยางค์มาผสมเป็น 2 พยางค์ที่มีความหมายได้มากขึ้น
  • บอกหรือสื่อสารความต้องการง่าย ๆ ได้ เช่น เอา ไม่เอา ไป ไม่ไป หม่ำ ไม่หม้ำ ให้ ไม่ให้

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2 – 2.6 ปี

ความเข้าใจด้านภาษา

  • รู้จักและเข้าใจคำศัพท์มากขึ้น ประมาณ 500 คำ
  • ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันได้
  • รู้จักหน้าที่ที่ถูกต้องของสิ่งของนั้น ๆ ได้ เช่น หวี ต้องใช้หวีผม เป็นต้น
  • เข้าใจประโยคคำถาม หรือคำสั่งสั้น ๆ ไม่ซับซ้อนได้ เช่น นี่อะไร พ่อไปไหน แม่อยู่ไหน

การแสดงออกทางภาษา

  • พูดวลีหรือประโยคสั้น ๆ ได้ 2 – 3 พยางค์ โดยมีประธาน กริยา และกรรม
  • พูดคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ ประมาณ 50 – 500 คำ
  • สามารถพูดโต้ตอบได้
  • บอกชื่อเล่นตัวเองได้
  • ถามว่า “อะไร?” ได้
  • สามารถบอกความต้องการได้เป็นประโยคมากขึ้น แต่อาจเรียงประโยคผิด
  • เริ่มใช้คำเชื่อมประโยค “และ” ได้

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 2.6 – 3 ปี

ความเข้าใจด้านภาษา

  • เข้าใจคำศัพท์มากขึ้น 500 – 1,200 คำ
  • ทำตามคำสั่งที่ใช้คำบุพบทหรือคำกริยาที่ยากขึ้นได้
  • ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้
  • เข้าใจเรื่องเล็กและใหญ่

การแสดงออกทางภาษา

  • พูดประโยคที่ยาวขึ้น
  • พูดคำศัพท์ได้ราว 900 คำ
  • พูดคุยในเรื่องที่กำลังเกิดได้
  • บอกชื่อเรียกและหน้าที่ของวัตถุได้
  • ตอบคำถาม ใคร อะไร
  • บอกความต้องการเมื่อจะเข้าห้องน้ำได้

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 3 – 4 ปี

ความเข้าใจด้านภาษา

  • เข้าใจคำศัพท์ 2,400 – 3,600 คำ
  • เรียนรู้การเข้าสังคมด้วยการพูดสื่อสาร
  • เข้าใจคำบุพบทได้ เช่น บน ใต้ ข้างบน ข้างล่าง
  • เข้าใจคำสั่งที่เป็นประโยคยาว ๆ เช่น กินข้าวเสร็จก่อนแล้วดูการ์ตูนได้
  • เข้าใจคำวิเศษณ์ เช่น เก่ง สวย ใหญ่ เล็ก

การแสดงออกทางภาษา

  • พูดคุยถามตอบได้ใจความมากขึ้น และพูดคุยได้นานขึ้น พูดยาว 3 – 4 คำ แต่อาจพูดไม่ชั
  • พูดคำศัพท์ได้ราว 900 – 1,500 คำ
  • ชอบซักถาม – เล่าเรื่องแบบถามคำตอบคำได้ แต่ยังไม่สามารถเล่าต่อเนื่องได้
  • ชอบถามคำถาม อะไร ที่ไหน ใคร
  • พูดเสียงสระได้ชัดทุกเสียง
  • พูดเสียงพยัญชนะ ม น ห อ ย ค ว ป ก บ

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 4 – 5 ปี

ความเข้าใจด้านภาษา

  • เข้าใจคำศัพท์ 3,600 – 5,600 คำ
  • เข้าใจประโยคคำสั่งที่มี 2-3 ขั้นตอน
  • เข้าใจรูปประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
  • เข้าใจความหมายของจำนวนนับได้ไม่ต่ำกว่าจำนวน 3 เช่น หยิบกระโปรง 3 ตัว

การแสดงออกทางภาษา

  • เด็กสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ดี นาคาขยายมาใช้มากขึ้น
  • พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 2,000 คำ
  • ลักษณะประโยคที่พูดมีความยาวคล้ายผู้ใหญ่มากขึ้น
  • สามารถบอกชื่อจริงของตนเองได้
  • สามารถเล่าเรื่องได้โดยมีเนื้อหาต่อเนื่องกัน
  • ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังหรือดูได้
  • ชอบถามว่า ทำไม เมื่อไหร่ อย่างไร
  • เสียงพยัญชนะที่พูดได้ชัดเพิ่มขึ้น คือ ท ต ล จ พ ง ด

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กวัย 6 ปี

ความเข้าใจด้านภาษา

  • เข้าใจคำศัพท์ 13,500 – 15,000 คำ
  • เข้าใจว่าสิ่งของมีคุณลักษณะเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร เช่น ปากกาและดินสอ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร หรือ หมากับแมวต่างกัน เหมือนกันอย่างไร

การแสดงออกทางภาษา

  • พูดเป็นประโยคยาว 6 – 8 คำได้
  • รู้จักใช้คำเปรียบเทียบ ขนาด รูปร่าง ลักษณะ
  • เสียงพยัญชนะที่พูดชัดเพิ่ม คือ ส เสียง ส่วนเสียง ร จะชัดเมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป

เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของลูกน้อยวัยแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งจะเป็นการดีมากเลยค่ะหากคุณพ่อคุณแม่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกในด้านนี้ด้วยการชวนลูกพูดคุยในทุก ๆ วัน เพื่อพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของลูกน้อยที่เติบโตสมวัยค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง พิชย์ยุทธ์ สุนทรภิรพงศ์ (นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปฏิบัติการ สถาบันราชานุกูล)

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP