ทำไมลูกชอบดูดนิ้ว พร้อมวิธีแก้ไขและปรับพฤติกรรม

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วง 3 เดือน – 3 ขวบ อาจจะกำลังปวดหัวกับพฤติกรรมลูกอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “ลูกชอบดูดนิ้ว” เพราะคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ก็กลัวว่าฟันลูกจะไม่สวย และที่สำคัญ จะส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพของลูกได้เมื่อโตขึ้นและต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม

ทำความเข้าใจทำไมลูกชอบดูดนิ้ว

ก่อนจะไปเริ่มที่สาเหตุเราไปพูดถึงตอนท้ายกันก่อนเลย (เอ้ย…ไม่ใช่) โน้ตอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้กันก่อน

เด็กในวัย 1-3 ขวบ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีพฤติกรรมที่ชอบดูดนิ้วเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บางคนก็เริ่มดูดนิ้วตั้งแต่อายุได้ 3 เดือนเลยก็มี ซึ่งความจริงแล้ว ทารกเริ่มมีการดูดนิ้วได้ตั้งแต่ในท้อง เพราะเป็นการกระตุ้นระบบประสาทของทารกเอง เป็นอย่างนี้เรื่อยมาจนกระทั่งหลังคลอด

ในช่วง ขวบปีแรก ทารกจะใช้การดูดนิ้วเพื่อเป็นการปลอบใจตัวเอง กล่อมตัวเอง หรือในเวลาที่เค้ารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย มีความกังวล อาทิ ง่วง เหนื่อย หิว เบื่อ หรือเพลีย เป็นต้น หรือบางคนอาจดูดนิ้วเพื่อเป็นการทดแทนจากการที่ไม่ได้ดูดขวดนม

สาเหตุที่ลูกชอบดูดนิ้ว

  • เบื่อ
  • กลัว หรือกังวล
  • ปลอบใจตัวเอง
  • ขาดความมั่นใจ
  • ขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่
  • กล่อมเพื่อให้ตัวเองหลับ
  • หิว
  • ความเครียดในการต้องปรับตัวหลายๆ อย่างหลังออกจากท้องแม่

วิธีแก้และปรับพฤติกรรมลูกชอบดูดนิ้ว

เลือกของเล่นที่ใช้มือเล่นเป็นหลัก

เช่น คีย์บอร์ดของเล่น หรือของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียงกระดิ่ง เป็นต้น เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ ให้ลืมไปเลยว่าเค้าอยากดูดนิ้ว

ดึงนิ้วมือลูกทันมีเมื่อเห็นว่ากำลังจะเข้าปาก

แต่ แต่ แต่ แต่….ต้องย้ำกันซักนิดหนึ่งก่อนค่ะ เพราะว่าท่าทางของคุณแม่นั้นสำคัญมากเวลาที่จะดึงนิ้วมือลูกออกจากปาก เช่น ทันทีที่คุณแม่เห็นลูกเอานิ้วเข้าปาก คุณแม่ควรเอานิ้วออกจากด้วยท่าทีที่นุ่มนวล ไม่อย่างนั้นจะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเครียด รู้สึกถูกขัดใจ แล้วการดูดนิ้วจะหนักหน่วงกว่าเดิม

ไม่ควรใช้ยาขมป้ายนิ้ว หรือพันพลาสเตอร์ยาที่นิ้ว

เพราะจะทำให้ลูกเครียดยิ่งกว่าเดิม ลูกจะรู้สึกว่าเค้าไม่มีที่ที่จะระบายออก ทีนี้การเลิกดูดนิ้วก็จะยากขึ้นกว่าเดิม

หากิจกรรมทำระหว่างวัน

เช่น การออกกำลังกายเบา แบบพอสมควร เล่นของเล่น (ที่ใช้มือเป็นหลัก) หรือพาไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ ฯลฯ แบบเพลิน เพื่อให้กลางคืนลูกนอนง่ายขึ้นไม่ต้องดูดนิ้วเพื่อกล่อมตัวเอง หรือแม้แต่กลางวัน ถ้าลูกมีกิจกรรมเพลินๆ เค้าก็จะไม่คิดดูดนิ้วเลยค่ะ

กิจกรรมก่อนนอน

เพื่อเป็นการกล่อมลูกแทนการให้ลูกดูดนิ้ว คุณพ่อคุณแม่อาจหานิทานมาเล่าให้ลูกฟัง หรือร้องเพลงกล่อม เพื่อให้ลูกหลับได้ง่ายขึ้น

ไม่บังคับ ดุ หรือตีลูก

ไม่ใช้วิธีเหล่านี้ในการให้ลูกเลิกดูดนิ้ว เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังแถมเป็นการเพิ่มความเครียด ความกลัวให้กับลูกมากขึ้น ซึ่งเจ้าสองตัวนี้แหละที่เป็นตัวการทำให้ลูกดูดนิ้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ควรจะค่อยๆ พูด ชักชวนด้วยท่าทีที่นุ่มนวล ให้กำลังใจ และชื่นชมเมื่อลูกไม่ดูดนิ้วในวันนั้นๆ แทน

ในเด็กบางรายอาจเลิกดูดนิ้วเองได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตจากสาเหตุ เช่น ถ้าลูกยังเป็นทารกแล้วเค้าดูดนิ้ว ในช่วงเวลาที่หิวพอดี พอคุณพ่อคุณแม่ป้อนสมเสร็จลูกก็ไม่ดูดนิ้วต่อ หากโตขึ้น ในวัยที่เค้าสามารถพูดสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้วว่าเค้าหิว พฤติกรรมการดูดนิ้วก็จะหายได้เองค่ะ

“อีกหนึ่งทางแก้คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตพฤติกรรมลูกว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรแล้วแก้ที่สาเหตุนั้น”

แต่ถ้าลูกอายุได้ 4 – 5 ขวบ แล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าจะเลิกดูดนิ้วซักที แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมลูกชอบดูดนิ้วดีกว่าค่ะ การดูดนิ้วเป็นธรรมชาติของเด็กก็จริง แต่การปล่อยให้ลูกดูดนิ้วไปนานๆ จะมีผลเสียหลายอย่างตามมาเมื่อลูกโตขึ้น

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP