7 แนวทางสอนลูกให้รู้จักและรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

เวลาที่คนเรามีอารมณ์โมโห หรือโกรธ เราจะมองคนอื่นออกว่าตอนนี้เขารู้สึกอย่างไร ยกเว้นว่าคน ๆ นั้นจะเก็บอาการได้เก่งจริง ๆ แล้วถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา กับลูกของเราล่ะ เริ่มจากลูกก่อนก็ได้ค่ะ ถ้าลูกโกรธ ลูกก็จะงอแง หงุดหงิด เราเองมองออกถูกไหมคะ แต่อย่าลืมนะคะว่าตัวเราที่เป็นแม่ก็ต้องรู้เท่าทันตัวเองเช่นกัน

ในเมื่อเราดูลูกออกแล้วว่าตอนนี้เขากำลังหงุดหงิด โมโหอยู่ เราสามารถสอนเขาได้ตั้งแต่เล็ก ๆ นะคะ สอนให้เขารู้จักอารมณ์ตัวเอง และรับมือกับอารมณ์ตัวเองได้ ซึ่งแน่นอนค่ะ คุณแม่ต้องเริ่มทำก่อน ทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง

7 แนวทางสอนลูกให้รู้จักและรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง

ลูกเริ่มรู้สึกโกรธ

ลูกเริ่มรู้สึกโกรธ

เมื่อคุณแม่เริ่มสังเกตได้ว่าลูกเริ่มมีอารมณ์หงุดหงิด หรือโกรธ ขั้นตอนนี้ให้คุณแม่เริ่มบอกลูกได้เลยค่ะ ว่าเขารู้สึกอย่างไร เช่น ลูกจะแกะล้อรถของเล่นออกจากตัวรถ แต่ด้วยความที่มันแข็งมาก ด้วยแรงเด็กอาจทำให้ไม่แรงพอที่จะดึงออก เมื่อลูกดึงไม่ออก ก็โมโห หน้าแดง ทันทีที่แม่เห็นแบบนี้ ให้อธิบายกับลูกได้เลยค่ะ ว่า “แม่เข้าใจนะว่าหนูโกรธที่ดึงล้อออกไม่ได้

ขณะที่ลูกรู้สึกหงุดหงิด โกรธ หรือร้องไห้

ขณะที่ลูกรู้สึกหงุดหงิด โกรธ หรือร้องไห้

อันดับแรกเลย ประโยคที่คุณแม่ควรเลี่ยงเลยคือ “ไม่เอา ไม่ร้อง” “ไม่โกรธสิลูก” หรือ “หยุดร้องเดี๋ยวนี้เลยนะ” เป็นต้น เพราะอะไร? ก็เพราะว่าความรู้สึกโกรธได้เกิดขึ้นไปแล้ว ลูกหงุดหงิดแล้ว และก็ร้องไห้ไปแล้วด้วย ยิ่งถ้าคุณแม่ไปเบรกอารมณ์ลูกสิ่งที่คุณแม่จะได้รับกลับมาแทนคือ

  • ลูกไม่หยุดร้อง และยิ่งร้องมากขึ้น
  • ถ้าลูกเงียบได้แต่ลูกจะยังคงเก็บอารมณ์โมโหหรือหงุดหงิดไว้กับตัว สะสมไปเรื่อย ๆ ซึ่งไม่เป็นดีกับลูกในอนาคตแน่นอน

แต่…สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ ปล่อยให้ลูกร้องไห้ ให้เขาได้ปลดปล่อยความรู้สึกออกมา และให้เขา ได้อยู่กับตัวเองซักพัก แล้วจะดีขึ้นเอง

ถ้าลูกไม่สามารถคุมอารมณ์ได้

ถ้าลูกไม่สามารถคุมอารมณ์ได้

ให้คุณแม่พาลูกออกมาจากสถานการณ์หรือบรรยากาศตรงนั้นก่อน เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ เปลี่ยนจุดโฟกัสของเขาโดยไม่ให้เขาเห็นภาพ ณ จุดที่ทำให้เขามีอารมณ์โมโหก่อน

หาสิ่งที่จะทำให้อารมณ์ลูกเย็นลง

หาสิ่งที่จะทำให้อารมณ์ลูกเย็นลง

หลังจากที่พาลูกออกมาเปลี่ยนจุดโฟกัสแล้ว ให้หากิจกรรม หรือทำอย่างอื่นแทน เพื่อเป็นการทำให้อารมณ์ของลูกเย็นลง เช่น ชวนลูกเล่นตบมือ นับเลข ดื่มน้ำเย็น ๆ หรือเดินเล่น เป็นต้น

อารมณ์ลูกเย็นลง

อารมณ์ลูกเย็นลง

ดูโอกาสและจังหวะที่จะเข้าไปถามลูก เพื่อให้ลูกได้เล่าว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไร หากลูกยังไม่ต้องการเล่าให้ฟัง ณ ขณะนั้น ก็อย่างเพิ่งไปบังคับเขานะคะ รอจนกว่าเขาจะพร้อม เมื่อนั้นเค้าจะเล่าเอง

ลองขอความเห็นจากลูก

ลองขอความเห็นจากลูก

Two Way Communication” หรือ การสื่อสารสองทาง เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารระหว่างคุณแม่กับลูก ไม่ใช่ให้ลูกฟังคุณแม่อย่างเดียว ไม่อย่างนั้นคุณแม่จะไม่สามารถเข้าถึงลูกได้เลยว่าลูกรู้สึกหรือคิดอย่างไรกับวิธีการเลี้ยงของคุณแม่

กลับกัน การให้ลูกได้มีโอกาสออกความคิดเห็นว่ามีวิธีไหนอีกบ้างที่จะทำให้เขารับมือกับอารมณ์ของตัวเอง หรือจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมกับตัวลูกมากที่สุด อย่างน้อยก็ทำให้เราเห็นมุมมองของลูกได้อีกด้วยค่ะ

แม่ต้องรับมือกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ก่อน

แม่ต้องรับมือกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ก่อน

ข้อนี้สำคัญมากเลย เพราะหากลูกเห็นว่าเราไม่สามารถรับมือ และจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ ก็จะกลายเป็นว่าคุณแม่หงุดหงิดบ๊อยบ่อย ลูกก็จะเรียนรู้ และเข้าใจว่าคุณแม่ก็ไม่เห็นจัดการหรือควบคุมอารมณ์ของตัวเองเลย ฉะนั้นลูกก็ไม่เห็นจะต้องจัดการหรือควบคุมอารมณ์ตัวเองเช่นกัน เพราะควบคุมไปก็ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

จากที่กล่าวมาข้างต้นเรื่องของการรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ และตามมาด้วยการจัดการอารมณ์นั้นให้ได้ ยิ่งถ้าเราฝึกลูกได้ตั้งแต่เล็ก เขาจะเคยชินกับการรับมือ และจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง เมื่อทำบ่อย ๆ เข้า การจัดการกับอารมณ์ของลูกก็จะไวขึ้นและเก่งขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP