การเล่นบทบาทสมมติสามารถช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกได้

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

ช่วงนี้ยังคงเป็นช่วงที่โรงเรียนยังปิดเทอมยาวอยู่เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด ดังนั้น ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็อาจคิดไม่ออกแล้วว่าจะชวนลูกทำกิจกรรมหรือเล่นอะไรดี บางทีก็เห็นลูกนั่งเล่นกับตุ๊กตา พูดอยู่กับตุ๊กตา แต่…รู้หรือไม่คะว่าสิ่งนั้นคือ ลูกกำลังเล่นบทบาทสมมติ (Role Playing) อยู่ซึ่งการเล่นบทบาทสมมนี้นับว่าเป็นเรื่องดีนะคะ เพราะกิจกรรมนี้สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ดีทีเดียว

หลักในการเล่นบทบาทสมมติ

สำหรับหลักในการเล่นบทบาทสมมตินั้น จะมีด้วยกัน 3 ข้อ ได้แก่

นำวัตถุหรือสิ่งของมาจินตนาการให้เป็นอย่างอื่น

เช่น การเอาลูกปัดหรือกระดุมมาทำเป็นเหรียญ หรือการเอาใบไม้ทำเป็นธนบัตร แทนเงินที่เอาไว้ซื้อของ เป็นต้น

สวมบทบาทใหม่ หรือ การสมมติ

เรียกว่าเป็นการสวมบทบาทใหม่ให้กับสิ่งของนั้นๆ โดยให้ต่างไปจากเดิม เช่น สมมติให้ตุ๊กตาหมีเป็นคนไข้ มาเข้ารับการรักษา หรือบางทีก็สวมบทบาทใหม่ให้ตัวเองเป็นซูเปอร์ฮีโร่ ไปปราบโจร เป็นต้น

จินตนาการเกี่ยวกับสถานที่นั้นใหม่

เช่น การกำหนดอาณาเขตของบ้านเสียใหม่ โดยอาจใช้ขอบประตูเป็นแนวกั้น ถ้าเลยขอบประตูนั้นไปก็เป็นตลาด เป็นต้น

ทักษะที่ได้จากการเล่นบทบาทสมมติ

ขึ้นชื่อว่า “การเล่น” ก็คือต้องสนุก ลูกมีความสุข และยิ่งถ้าเป็นในเรื่องของการเล่นบทบาทสมมตินอกจากจะสนุกแล้ว ลูกยังได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในหลาย ๆ ด้านอีกด้วยนะคะ ไปดูกันค่ะว่ามีด้านใดบ้าง

ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์

หลังจากที่ลูกเลือกแล้วว่าจะสวมบทบาทเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ลูกจะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นโดยการเชื่อมโยงบทบาทของตัวละครนั้น และแสดงออกตามบทบาทที่ลูกเลือก อาทิ ลูกเลือกที่จะเป็นอาชีพคุณหมอ ลูกก็จะต้องเชื่อมโยงจินตนาการไปว่า ถ้าเป็นคุณหมอ เวลาที่จะตรวจคนไข้หรือรักษาคนไข้ คุณหมอต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อเวลาที่ลูกไปหาคุณหมอจริง ๆ ลูกก็จะสังเกตว่าคุณหมอตรวจอะไร อย่างไรบ้างนั่นเองค่ะ

ทักษะด้านภาษา

เนื่องจากกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ภาษาและการสื่อสารเป็นหลัก โดยเสริมด้วยท่าทางให้สอดคล้องกับท่าทาง บางครั้งถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นลูกพูดคนเดียวโดยมีตุ๊กตาเป็นเพื่อน แสดงว่าลูกกำลังเล่นบทบาทสมมติตามจินตนาการของลูกอยู่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรอาศัยช่วงเวลานี้เล่นกับลูกนะคะ เพราะลูกกำลังอยู่ในวัยที่กำลังหัดพูด และที่สำคัญลูกจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ จากคุณพ่อคุณแม่อีกด้วยค่ะ

ทักษะทางสังคม

เพราะ “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” การเล่นบทบาทสมมติ ลูกจะได้เรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ๆ สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญ ลูกจะได้เรียนรู้ในเรื่องของการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีอีกด้วยนะคะ

ทักษะทางอารมณ์

เพราะเด็กในวัยปฐมวัยนี้ ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ กลับกันคือ ชอบแสดงออกอารมณ์และความรู้สึก ดังนั้น การให้ลูกได้เล่นบทบาทสมมติก็จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเต็มที่ โดยผ่านตัวละครที่ลูกสวมบทบาทอยู่ อาทิ ดีใจ เศร้า เสียใจ มีความทุกข์ มีความสุข ฯลฯ สำหรับข้อนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เป็นโอกาสในการสอนลูกได้นะคะว่าเมื่อตัวละครนั้น ๆ รู้สึกแบบนั้นแล้ว เค้ามีการแสดงออกอย่างไร และที่สำคัญเป็นการชี้ชวนให้ลูกได้รู้จักและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้อย่างถูกต้องอีกด้วยค่ะ

ทักษะด้านความจำ

การเล่นบทบาทสมมตินับเป็นการกระตุ้นความจำลูกได้ดีทีเดียวค่ะ เพราะลูกต้องเรียนรู้และจำว่าตัวละครนั้น ๆ ต้องทำอะไรบ้างหรือมีพฤติกรรมอะไรบ้าง เช่น ถ้าลูกชอบเล่นเป็นคุณหมอ คุณพ่อคุณแม่อาจจะกระตุ้นความจำลูกได้ เช่น

คุณแม่

คุณหมอคะ วันนี้ดิฉันรู้สึกเจ็บคอมากเลยค่ะ มีน้ำมูกด้วย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว คุณหมอช่วยตรวจให้ทีได้ไหมคะ?

ลูก

ได้ค่ะ

คุณแม่

ต้องตรวจอะไรก่อนคะคุณหมอ?

ลูก

วัดไข้ค่ะ

คุณแม่

ถ้ามีไข้ ต้องมีอุณหภูมิอยู่ที่เท่าไหร่คะคุณหมอ?

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้จะชวนลูกทำกิจกรรมอะไรดีในช่วงที่ต้องอยู่บ้านยาวอย่างนี้ ลองเลือกการเล่นบทบาทสมมติดูนะคะ เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีได้เลย ลูกจะได้ทั้งความสนุกและได้กระตุ้นพัฒนาการไปด้วย^^

อ้างอิง
Youngciety.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP