ฮอร์โมนคนท้อง ที่สำคัญ ต่ำไป เสี่ยงแท้ง

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ต้องบอกว่าเรื่องของ “การตั้งครรภ์” นั้นเป็นอะไรที่ sensitive มาก เรียกว่าหากต้องการตั้งครรภ์ต้องมีการเตรียมตัวของว่าที่คุณแม่ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอดกันเลยทีเดียว และเมื่อตั้งครรภ์แล้วว่าที่คุณแม่ก็จะต้องเจอกับอาการต่าง ๆ เช่น แพ้ท้อง มีความอ่อนไหวทางอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน ปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายทังสิ้น ฮอร์โมนคนท้องที่สำคัญมีอะไรบ้าง? ไปดูกันค่ะ

ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง?

ฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (hCG)

เป็นฮอร์โมนตัวแรกที่ทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีการปฏิสนธิ จากเซลล์ในไข่ที่ถูกผสมและมาฝังตัวที่มดลูก และจะพัฒนากลายเป็นรกต่อไป

ในช่วงแรกที่ไข่เริ่มมีการผสมและรกยังเติบโตไม่เต็มที่ ฮอร์โมน hCG นี้จะมีหน้าที่ไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ และหากรกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว รกก็จำทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ แทนรังไข่ ส่วนฮอร์โมน hCG ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกระตุ้นรังก็ค่อยๆ ลดน้อยลงและหมดหน้าที่ไป

ฮอร์โมน hCG ส่งผลกับคุณแม่คือ จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียนในช่วงไตรมาสแรก หากคุณแม่คนไหนที่มีอาการแพ้ท้องมาก ๆ แสดงว่ามีฮอร์โมน hCG สูงนั่นเองค่ะ

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ฮอร์โมน h CGจะกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อช่วยเสริมสร้างและทำให้เนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ อ่อนนุ่มขึ้น ยืดหยุ่นได้มากขึ้นในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และยังจากนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีก อาทิ

  • กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เตรียมตัวให้ไข่ที่ผสมแล้วมาฝังตัว ซึ่งจะทำให้มดลูกของคุณแม่ขยาย ผนังมดลูกหนาขึ้น เสริมสร้างเนื้อเยื่อของเซลล์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้ตอนท้อง มดลูกจึงสามารถขยายใหญ่ได้เป็นหลายร้อยเท่า
  • ซึ่งเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ครบกำหนด ทดลูกจะขยายจนมีความจุได้ถึง 3-5 จากก่อนท้องสามารถจุได้เพียง 10 มิลลิลิตรเท่านั้น นอกจากนี้ฮอร์โมนนี้ยังมีส่วนทำให้ผนังช่องคลอดหนาขึ้น ยืดขยายได้ดีขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยในท้องเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
  • ช่วยกระตุ้นให้เลือดในร่างกายของคุณแม่ที่ท้องไหลเวียนได้มากขึ้นไปหล่อเลี้ยงที่มดลูก เพื่อนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงลูกน้อยในท้องนอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้องให้มีพัฒนาการที่สมวัย
  • ฮอร์โมนนี้ยังมีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น ทำให้สารน้ำต่าง ๆ ในระบบไหลเวียนเลือดซึมออกมาได้ง่าย จึงทำให้คุณแม่มีอาการบวมน้ำได้ง่าย โดยเฉพาะหากต้องนั่ง ยืน หรือเดินนาน ๆ
  • เพราะฮอร์โมนนี้เพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวน รวมไปถึงหลังคลอด คือ ทำให้เต้านมขยายใหญ่ขึ้น เพราะมีการสร้างและขยายของท่อน้ำนม

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ฮอร์โมนนี้นอกจากจะทำงานเดี่ยวได้แล้ว ยังสามารถทำงานคู่กับฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิ ฮอร์โมนเอสโตรเจน อีกทั้งยังสามารถช่วยสนับสนุนและยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวอื่นไม่ให้ออกฤทธิ์ในช่วงเวลาที่ไม่จำเป็น เช่น

  • ลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ในกรณีที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปทำให้มดลูกขยายและพร้อมที่จะมีการหดรัดตัว แต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนี้จะไปทำการยับยั้งอาการ ทำให้มดลูกไม่หดรัดตัวมาก ทำให้ทารกมาฝังตัวที่มดลูกได้ ไม่หลุดออกไป และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงเมื่อใกล้คลอด มดลูกก็จะเริ่มหดรัดตัว และคลอดลูกออกมาได้ค่ะ
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อปรับให้เยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัว คือ ทำให้หนาขึ้น มีเลือดมาเลี้ยงได้มากขึ้น ฯลฯ
  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อยืดขยาย เป็นเหตุให้แม่ปวดเมื่อยได้ง่าย
  • ฮอร์โมนนี้ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไปหล่อเลี้ยงมดลูก นำอาหาร และออกซิเจนในสู่ลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยให้สมบูรณ์แข็งแรง

ฮอร์โมน Human Placental Lactogen (HPL)

เป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนตัวสำคัญที่ถูกผลิตขึ้นภายในรก เป็นฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับภาวะการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยมักพบว่า มีโอกาสเกิดได้ประมาณ 1 – 14% ฮอร์โมนตัวนี้จะเริ่มสร้างตั้งแต่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีหน้าที่

  • ช่วยสลายไขมัน เพื่อให้เลือดของคุณแม่และทารกมีกรดไขมันที่สูงขึ้น ยับยั้งการนำกลโคสเข้าสู่เซลล์คุณแม่ที่จะส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่ต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น
  • ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคสจากสารอาหารอื่น ๆ ส่งผลให้สารอาหารประเภทโปรตีนและกลูโคส สามารถผ่านไปยังลูกน้อยในครรภ์มากขึ้น
  • มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเต้านมคุณแม่ เพื่อเตรียมผลิตน้ำนมให้ลูกได้ในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของลูกน้อยหลังคลอด

เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นภายในรก มีหน้าที่ส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์และกระตุ้นต่อมน้ำนมภายในเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมลูก
ข้อมูลอ้างอิง poboad.com

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไร?

จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่….

  • หากก่อนตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
  • หากอยู่ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเป็นได้ว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้อาจล้มเหลว ซึ่งถือเป็น การแท้งโดยธรรมชาติ

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ รู้ได้อย่างไร?

  • ส่งผลให้คุณแม่นอนไม่หลับ
  • มือเย็น ตัวเย็น
  • มีอาการวูบ ๆ วาบ ๆ หนาว ๆ ร้อน ๆ
  • เหงื่ออกมาในเวลากลางคืน
  • ปวดศีรษะ

ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเหล่านี้ แม้จะไม่ทั้งหมดที่กล่าวมา แต่เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ควรปรึกษาแทพย์ทันทีนะคะ

จากเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง เชื่อว่าคุณแม่คงเคยได้ยินชื่อมาบ้าง ฮอร์โมนแต่ละตัวก็จะส่งผลต่างกันไปในแต่ละด้าน ฮอร์โมนจะมีผลกระทบในเรื่องใดอีกบ้าง? ในเรื่องของอารมณ์ล่ะ? ฮอร์โมนตัวไหนที่มีผลอารมณ์? “ฮอร์โมนคนท้อง อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?” เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่กังวล (แต่คุณพ่ออาจกังวลมากกว่า) ซึ่งไม่ว่าร่างกายหรืออารมณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องไม่เครียด พยายามทำใจสบาย ทำอารมณ์ให้แจ่มใส่อยู่เสมอ เหล่านี้จะส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ค่ะ


ตั้งครรภ์ได้ 2 เดือนแล้ว ทำไมอยู่ดี ๆ ภรรยาก็ร้องไห้ บางทีก็ปรี๊ดแตก? เพราะคนท้องมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลต่ออารมณ์ จะเป็นอย่างไร? ส่งผลต่อลูกหรือไม่? คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP