ลูกชอบพูดแทรก แก้ไขอย่างไรดี

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ
JESSIE MUM

เมื่อลูกยังอยู่ในวัยทารก คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจคิดในใจว่า “ถ้าลูกพูดได้ คงจะดี เราคงไม่เหงา” เวลาผ่านไปลูกโตขึ้น เข้าสู่วัย 2 ขวบ ลูกเริ่มเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นเริ่มสื่อสารเป็นคำได้บ้าง เมื่อเข้าวัย 3 ขวบ ลูกเริ่มพูดได้มากขึ้น จวบจนวัย 5 ขวบ ช่วงนี้ลูกเริ่มพูดเป็นประโยคได้มากขึ้น คราวนี้พูดไม่หยุดเลย แต่ประเด็นสำคัญที่การพูดของลูกเป็นเรื่องกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ ลูกชอบพูดแทรก แต่วันนี้คุณพ่อคุณแม่คลายกังวลได้แล้วค่ะ เพราะโน้ตมีวิธีแก้ไขในเรื่องนี้มาฝากค่ะ

สารบัญ

ลูกชอบพูดแทรก สาเหตุ

การที่จะให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มการปรับพฤติกรรมลูกในเรื่องของการพูดแทรกนั้น จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่จะต้องรู้ถึงสาเหตุก่อน ซึ่งมีหลายสาเหตุ ดังนี้

ลูกต้องการเรียกร้องความสนใจ
สังเกตง่าย ๆ ค่ะ ถ้าระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่นั่งเล่นอยู่กับลูก แต่ลูกก็ไม่ได้พูด ไม่ได้เล่าอะไรมาก แต่ทันทีที่คุณพ่อคุณแม่มีการพูดคุยโทรศัพท์หรือคุยกับคนอื่น แล้วลูกน้อยก็เริ่มพูดเยอะขึ้น เล่าโน่น เล่านี่ให้ฟัง แบบนี้ฟังธงได้เลยค่ะว่า ลูกต้องการเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ลูกไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่สนใจคนอื่นมากกว่าเขา

ลูกมีอาการสมาธิสั้น
ด้วยพื้นฐานอาการสมาธิสั้นคือ เด็กจะไม่มีความอดทน ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถอยู่กับที่ได้นาน ๆ เขาจะเดิน จะวิ่ง จะต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และรอไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ลูกมักพูดแทรก และนอกจากนี้ยังมีอาการอื่นพ่วงมาด้วยเมื่อไม่ได้ดั่งใจ เช่น ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ขี้ลืม ฟังอะไรก็ฟังได้ไม่จบ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกจะมีอากาสมาธิสั้นหรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ได้ค่ะ

ลูกไม่เข้าใจสถานการณ์
เพราะเด็กยังเล็กเกินไปที่จะเข้าใจสถานการณ์ เขายังไม่รู้ว่าช่วงไหนควรพูดหรือไม่ควรพูด ซึ่งิบางครั้งลูกก็คิดว่าจะสามารถพูดเมื่อไหร่ก็ได้ในยามที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะเมื่อลูกพูดเมื่อไหร่คุณพ่อคุณแม่จะหยุดฟังทุกครั้ง ลูกเพียงแค่อยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้น ๆ ด้วย การพูดแทรกของลูกส่งผลให้การคุยระหว่างคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่คนอื่นต้องหยุดชะงักไป

วิธีแก้ไข ลูกชอบพูดแทรก

คราวนี้เรามาดูในส่วนของวิธีแก้ไขหรือวิธีปรับพฤติกรรมลูกชอบพูดแทรกกันค่ะ ไปไล่เรียงกันทีละข้อเลย

วิธีแก้ไข ลูกเรียกร้องความสนใจ

  • เริ่มจากการจับเข่าคุยกับลูกให้เป็นกิจจะลักษณะ เพื่อให้ลูกได้รู้ว่าเรื่องเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความใส่ใจ
  • พูดคุยกับลูกอย่างเปิดอกถึงสาเหตุว่าเพราะอะไรลูกถึงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจในช่วงเวลานั้น เพื่อให้ลูกได้ระบายความรู้สึกออกมา
  • ทำข้อตกลงระหว่างกันโดยให้ลูกช่วยคิดก็ได้ค่ะ เพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่าก็มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและตั้งกติกาในบ้าน โดยเน้นย้ำว่า ลูกต้องอดทนรอ หากคุณพ่อคุณแม่ติดสายหรือติดธุระอื่นอยู่
  • ชมเชยลูกตามสมควร หากลูกสามารถปฏิบัติได้ตามที่ตกลงกัน
  • ทำตามสัญญา หากลูกรอได้ เช่น จะทำขนมหรือทำอาหารที่ชอบให้ทาน หรือจะพาไปเล่นที่สวนสาธารณะ เป็นต้น

วิธีแก้ไข ลูกที่มีอาการสมาธิสั้น

  • จากการเลี้ยงดู และพฤติกรรมส่วนตัว สาเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการหากิจกรรมที่เสริมสร้างสมาธิให้กับลูก ได้แก่ การวาดรูป การระบายสี การปั้น หรือการปะติดกระดาษสีต่าง ๆ เป็นต้น
  • จากกรรมพันธุ์ สาเหตุนี้เป็นอาการที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ลักษณะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ ซึ่งแพทย์จะประเมินดูอาการว่ามีอะไรที่น่ากังวลหรือไม่ ทั้งนี้แพทย์อาจจ่ายยามาให้ทาน และจำเป็นที่จะต้องพบแพทย์ให้ตรงตามนัดทุกครั้ง

วิธีแก้ไข ลูกที่ไม่เข้าใจสถานการณ์

  • ระหว่างการสนทนาของผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่สามารถแสดงท่าทางเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ลูกรู้ได้ เช่น ยกมือเล็กน้อย โดยที่ไม่ได้มีทีท่าว่าจะดุลูก
  • เมื่อเสร็จธุระแล้ว ให้ออกมาพูดคุยกับลูก สอบว่ามีอะไรที่จะแชร์ให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง และสอนลูกว่าควรรอให้คนอื่นพูดจบก่อน เราถึงจะพูดได้
  • หากลูกบอกว่าต้องการจะเข้าไปพูดคุยด้วย ต้องอธิบายให้ลูกฟังและเข้าใจเกี่ยวกับมารยาทในการสนทนากับผู้อื่น

เพราะเด็กเล็ก ๆ ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ซึ่งหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือ หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูก หากมีอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร เราควรหาสาเหตุก่อน เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้หาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ลูกก็จะเป็นเด็กที่มีมารยาทอย่างที่คุณพ่อคุณแม่วาดหวังไว้ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP