การลงโทษลูกแบบ Time Out หากไม่ได้ผล มา Time In กันดีกว่าไหม?

การเลี้ยงลูกวัย 3-5 ขวบ

วันนี้ผู้เขียนมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ “ทฤษฎี Time Out & Time In” มาฝากค่ะ เชื่อเลยว่าหลายครอบครัวอาจได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ Time Out คลาดเคลื่อนไป ซึ่งจะส่งผลให้การนำไปใช้ก็ผิดเพี้ยนไปด้วย ที่สำคัญ จากที่คุณพ่อคุณแม่หวังว่าลูกจะสำนึกผิด แต่กลับกลายเป็นได้ลูกที่เก็บกดหรือยิ่งไปผิดทางแทน
สิ่งที่ผู้เขียนจะนำมาบอกเล่าในวันนี้ เพียงเพื่อต้องการให้คุณพ่อคุณคุณแม่ได้พิจารณาเลือกใช้วิธีการสอนลูกให้เหมาะสมกันไปในแต่ละคน เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน

การลงโทษลูกด้วยวิธี Time Out คืออะไร?

คุณหมอ Edward Christophersen, Ph. D หนึ่งในผู้ริเริ่มวิธี Time Out ระบุว่า การลงโทษลูกด้วยวิธี Time Out คือ การแยกเด็กออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหานั้น ซึ่งวิธี Time Out ที่ถูกต้องนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กได้ใช้เวลาในการสงบสติอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ทันทีที่เด็กสงบลงก็จะสามารถกลับเข้าไปทำยังสิ่งก่อนหน้าได้

นอกจากนี้ คุณหมอยังกล่าวต่อว่า ยังมีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านเข้าใจผิดว่า Time Out คือ การจัดให้เด็กนั่งบนเก้าอี้หรือหันหน้าเข้ามุมเพื่อสำนึกผิด โดยต้องนั่งอยู่อย่างนั้นนาน 1 นาทีต่ออายุเด็ก เช่น 2 นาที สำหรับ เด็กอายุ 2 ขวบ เป็นต้น

วิธีการใช้ทฤษฎี Time Out

  1. เตือนลูกก่อนค่ะ เช่น “ถ้าหนูยังไม่หยุดพฤติกรรมนี้ แม่จะใช้วิธี Time Out กับหนูนะคะ” เป็นต้น
  2. หากลูกไม่หยุดพฤติกรรมนั้น ให้คุณแม่อธิบายถึงสาเหตุที่ต้องให้ลูกทำ Time Out เพื่อให้ลูกรับรู้และเข้าใจ ถึงความต้องการที่แท้จริงของคุณแม่
  3. เลือกมุมสงบให้ลูก เช่น มุมห้องนอน เป็นต้น
  4. จับเวลาตามช่วงอายุ ดังนี้
    • เด็กวัย 2 ขวบ : เริ่มจาก 2 นาที ก่อน
    • เด็กวัย 3 ขวบ : เริ่มจาก 3 นาที
    • เด็กวัย 4 ขวบ : เริ่มจาก 4 นาที
    • เด็กวัย 5 ขวบ : เริ่มจาก 5 นาที เป็นต้น
  5. ถ้าลูกยังมีพฤติกรรมที่โวยวาย ร้องไห้งอแง ให้คุณแม่อยู่กับลูกก่อน อย่าเพิ่งเดินหนีจากลูกไป เพราะจะทำให้ลูกเข้าใจว่าแม่ไม่รักเขา รอจนกว่าลูกจะเริ่มสงบลงก่อน
  6. เมื่อครบตามเวลาที่กำหนดไว้ ให้คุณแม่อธิบายกับลูก นั่งทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง ว่าเพราะอะไรถึงต้องให้ลูกทำ Time Out และบอกลูกว่า “พฤติกรรมใดคือ พฤติกรรมที่ถูกต้อง” ซึ่งหลังจากที่ลูกใจเย็นลงแล้ว ค่อยให้ไปเล่นต่อ

ผลเสียของการใช้ Time Out ผิดวิธี

  1. จากการศึกษาของ Dr. Daniel J.Siegel (Clinical professor of psychiatry at the UCLA School of Medicine) ด้วยการสแกนสมอง พบว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสมองเด็กที่ถูกจับแยกอย่างผิดวิธีนี้ เหมือนกับเด็กที่รู้สึกว่าตัวเองถูกทำร้ายร่างกาย
  2. สำหรับเด็กเล็กอาจยังไม่เข้าใจเหตุผล เค้ายังคิดเองไม่ได้ เด็กก็จะไม่สำนึกผิด แถมยังจะเข้าใจว่าเป็นความใจร้ายของคุณพ่อคุณแม่แทน
  3. บางคนจะใช้เวลานี้ในการตำหนิตัวเอง ทำให้เด็กเห็นค่าตัวเองลดลง (Self-esteem)
  4. การใช้ Time Out กับเด็กเล็ก เค้าจะรับรู้ว่าเวลาที่เค้ากำลังเผชิญกับปัญหา เค้าจะถูกพ่อแม่บังคับให้อยู่ตามลำพัง ลองคิดดู หากลูกมีความรู้สึกติดตัวแบบนี้ไปจนโต เวลาลูกมีปัญหา เค้าจะอยากพึ่งพ่อแม่มั้ย?
  5. เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ เค้ายังไม่สามารถเข้าใจเหตุผลได้มากพอ แต่ยังต้องพึ่งการช่วยแก้ปัญหาและสงบสติอยู่ ดังนั้น การใช้วิธีนี้ในเด็กที่เล็กมากๆ อาจเป็นการทำลายความสัมพันธ์หรือสายใยรักระหว่างลูกและพ่อแม่ได้

Time In คือ อะไร?

เมื่อใดก็ตามที่ลูกงอแง โวยวาย หงุดหงิด จะเอาแต่ใจตัวเองขึ้นมา หรือไม่สามารถแก้ปัญหาตรงหน้าได้ แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะจับให้ไปนั่งแยกเข้ามุมเหงาๆ คนเดียว และคอยแต่นั่งดูเค้า หรือบางครอบครัวอาจไม่สนใจเลยก็มี ให้เปลี่ยนเป็น…การทำให้เค้ารู้ว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถอยู่กับลูกได้ เพื่อให้ลูกสงบลง บางครั้งเพียงแค่การนั่งข้างๆ กัน หามุมสงบนั่งด้วยกัน โอบกอดลูก ค่อยๆ สอนหรือปลอบ (ไม่ใช่ต่อว่าหรือต่อรองนะคะ) เพื่อให้เค้าสงบลง ที่สำคัญ วิธีจะเป็นการทำให้เค้ารู้ว่าไม่ว่าลูกจะมีอารมณ์อย่างไรหรือจะต้องแก้ปัญหาที่ยากเย็นแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเค้าเสมอ
ในระหว่างที่นั่งอยู่ด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ช่วงนี้ชี้บอกอารมณ์ของลูกในตอนนั้น เพื่อให้เค้าได้เรียนรู้และรู้จักกับอารมณ์ของตนเอง และเป็นการบอกให้เค้าว่าเราเข้าใจเค้า

ข้อดีของการใช้ Time In

  1. คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เวลานี้ในการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก แสดงออกซึ่งความรัก ความเข้าใจ และเมื่อลูกต้องเผชิญกับปัญหา คุณพ่อคุณแม่จะอยู่เคียงข้างพร้อมที่จะช่วยลูกแก้ปัญหาเสมอ
  2. ลูกน้อยจะได้อุ่นใจว่ายังมีคุณพ่อคุณแม่อยู่เคียงข้าง เพื่อช่วยให้ลูกเรียนรู้อารมณ์ตนเอง รวมถึงวิธีการที่จะช่วยให้เค้าเย็นลง
  3. เด็กเล็กจะเรียนรู้ว่า เมื่อเค้ามีปัญหา คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ผลักใสเค้าให้อยู่อย่างเดียวดาย แต่จะรอจนกว่าเค้าจะเย็นลง คุณพ่อคุณแม่ถึงจะยอมรับ
  4. เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม บ่อยครั้งเกิดจากการที่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร บางครั้งเค้าแค่ต้องการเรียกร้องความรัก ความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ แต่ไม่รู้ว่าต้องแสดงออกอย่างไร การใช้ Time In จะช่วยให้ลูกได้รับการตอบสนองในทางบวก สร้างความรัก ความผูกพันที่ดีได้ แถมยังเป็นการทำให้ลูกได้เรียนรู้วิธีเรียกร้องความรักอย่างถูกวิธีอีกด้วยค่ะ

หากบ้านไหนใช้ Time Out แล้วพฤติกรรมของลูกยังคงเหมือนเดิม ไม่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ลองหันมาใช้ Time In ดูนะคะ ผู้เขียนไม่ได้บอกว่า Time Out ไม่ดี หรือมาชักชวนให้เลิกใช้ Time Out แต่ผู้เขียนเพียงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ได้ร่วมสร้างความรัก ความผูกพันที่ดีในครอบครัว เพราะยิ่งลูกได้รับความรัก ความเข้าใจอย่างถูกวิธีมากเท่าไหร่ เมื่อเค้าเติบโตขึ้น เค้าจะเป็นคนดีคนหนึ่งของครอบครัวและสังคมค่ะ


มีวิธีอะไรที่จะลงโทษลูกให้ผลโดยที่ไม่ต้องตีบ้าง? รวมวิธีดี ๆ ในการลงโทษลูกโดยที่ไม่ต้องตีเอาไว้ที่นี่แล้วค่ะ คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP