ทารกไม่กลับหัว จะอันตรายไหม มีวิธีแก้ไขอย่างไร

การตั้งครรภ์

เมื่อคุณแม่อุ้มท้องมาแล้ว 9 เดือน เมื่อใกล้คลอด ทารกไม่กลับหัว ซึ่งถือว่าอันตรายพอควร คุณแม่จำเป็นต้องมีความรู้และพร้อมรับมือปัญหาจากการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อม และเพื่อไม่ให้คุณแม่เกิดความกังวลใจ เรามาดูกันค่ะว่าสาเหตุของทารกไม่กลับหัว เกิดจากอะไรได้บ้าง และจะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน

ทารกไม่กลับหัว เกิดจากอะไรได้บ้าง

การที่ทารกไม่กลับหัวนั้น ถือว่าเป็นอุปสรรคในการคลอดที่ยากลำบากอย่างมากสำหรับคุณแม่ ซึ่งเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งที่จากตัวคุณแม่เองและตัวของทารก ซึ่งแพทย์จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด หากพบว่าทารกไม่กลับหัว โดยสาเหตุจะแบ่งออก ดังต่อไปนี้

  • การไม่ได้สัดส่วนของอุ้งเชิงกรานและศีรษะของทารก โดยจะมีลักษณะของศีรษะทารกที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าอุ้งเชิงกราน
  • คุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือมากจนเกินไป
  • ทารกภายในครรภ์ มีความผิดปกติ เช่น ทารกไม่มีสมอง หรือทารกหัวบาตร
  • เกิดเนื้องอกภายในอุ้งเชิงกรานของคุณแม่
  • ความผิดปกติของรก

ทำไมเมื่อถึงกำหนดคลอด ทารกจึงเอาหัวลง

การกลับหัวของทารกนั้น ถือว่าเป็นท่าทางในการเตรียมพร้อม สำหรับการใกล้ถึงกำหนดคลอด ซึ่งเป็นท่าทางปกติเมื่อถึงเวลาคลอดนั่นเอง โดยมีสาเหตุ ดังนี้

ลักษณะของมดลูก

ในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์มดลูกของคุณแม่จะมีลักษณะของโพรงมดลูกทรงกลมและมีน้ำคร่ำอยู่ภายใน ซึ่งเมื่อมีทารกอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำ ทารกจะสามารถหมุนและเคลื่อนไหวภายในครรภ์ได้หอยู่ตลอดเวลา และเมื่ออายุครรภ์เพิ่มมากยิ่งขึ้นลักษณะของมดลูกที่เคยเป็นทรงกลม จะกลายเป็นวงรีแทนและขนานไปกับกระดูกสันหลัง ทำให้มดลูกมีความกระชับและโอบรัดทารกไว้ ไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนเคย

ความตึงของกล้ามเนื้อมดลูก

เมื่อน้ำคร่ำน้อยลงกว่าการตั้งครรภ์ในระยะแรก กล้ามเนื้อของมดลูกจะมีความตึงที่คล้ายกับยางยืด แม้จะโอบรัดตัวทารกไว้แต่ก็มีความหยืดหยุ่นเพื่อรองรับขนาดตัวของทารกที่มีการขนาดตัวที่ใหญ่มากขึ้น

นั่นจึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่าลูกไม่กลับหัวอันตรายไหม ซึ่งหากทารกไม่กลับหัวก็อาจสร้างความลำบากให้กับคุณแม่ในการคลอดได้ เนื่องจากมดลูกที่มีการปรับเปลี่ยนลักษณะให้เข้ากับตัวทารกมากยิ่งขึ้น และโอบอุ้มตัวทารกไว้ ทำให้ทารกไม่สามารถกลับหัวได้ เนื่องจากเหลือพื้นที่ในการเคลื่อนไหวที่น้อยลงตามไปด้วย

ทารกไม่กลับหัว จะคลอดลูกอย่างไร

เพื่อคลายกังวลให้กับคุณแม่ ในปัจจุบันทางออกที่ดีที่สุดที่แพทย์แนะนำเมื่อพบว่าทารกไม่กลับหัวตามกำหนดระยะเวลาที่คาดไว้ แพทย์อาจจะพิจารณาในการผ่าตัดคลอดแทนการคลอดปกติ แม้ว่าการเลือกผ่าตัดคลอดแต่มีความเสี่ยงแต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าการคลอดแบบปกติอยู่มาก

ซึ่งกระบวนการในการผ่าตัดคลอดนั้น คุณแม่อาจจะมีความกังวลใจว่าจะไม่ได้พบหน้าลูกเมื่อทำการคลอดออกมาแล้วอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้วิธีในการบล็อกไขสันหลังแทนในการใช้ยาสลบ เพื่อให้คุณแม่ยังมีสติอยู่ครบถ้วนและสามารถรับรู้กระบวนการในการคลอดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงได้มองเห็นและชื่นชมทารกเมื่อลืมตาออกมาดูโลกภายนอกอีกด้วยค่ะ

ถ้าไม่ผ่าคลอด จะคลอดธรรมชาติได้ไหม

แม้จะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กทารกที่ไม่กลับหัว ที่จะทำการคลอดแบบธรรมชาติ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถทำได้ แพทย์จะมีการประเมินเงื่อนไขต่าง ๆ ภายในครรภ์ของคุณแม่ โดยแบ่งปัจจัยออก ดังต่อไปนี้

หากเป็นครรภ์แรก

หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก แพทย์จะมีการพิจารณาและคาดคะเนน้ำหนักของทารกภายในครรภ์ร่วมด้วย ซึ่งครรภ์แรกของคุณแม่โดยส่วนใหญ่นั้น ทารกมักจะมีน้ำหนักที่มากกว่า 2,500 กรัม ซึ่งเป็นการยากสำหรับคุณแม่ที่ไม่เคยเบ่งคลอดเลย และมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจน เนื่องจากใช้เวลาในการทำคลอดที่ค่อนข้างนาน และศีรษะของทารก อาจติดอยู่ภายในช่องคลอดเป็นเวลานานอีกด้วย

ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว

และทารกมีน้ำหนักที่น้อยกว่า 2,500 กรัม แพทย์จะมีการพิจารณาจากอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ ว่ามีความเหมาะสมในการทำคลอดแบบธรรมชาติหรือไม่

การหมุนตัวช่วยทารก

เป็นเทคนิคในปัจจุบันที่สามารถทำได้ แต่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง  อาจทำให้เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนการคลอด และไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากความเจ็บปวดจากการหมุนตัว

จะเห็นได้ว่าทารกที่ไม่กลับหัวนั้นสามารถทำการคลอดแบบธรรมชาติได้แต่จะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ก่อน แพทย์จะทำการตรวจอย่างถี่ถ้วนถึงสาเหตุและหาแนวทางการแก้ไขโดยไม่เป็นอันตรายต่อตัวแม่และทารก อย่างไรก็ตามการผ่าคลอดยังเป็นวิธีในการคลอดสำหรับทารกที่ไม่กลับหัวได้อย่างปลอดภัยมากที่สุดทั้งต่อคุณแม่และทารกค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP