ท้องอ่อน ๆ ทำไมปวดหลัง พร้อมวิธีรับมือ

การตั้งครรภ์

คุณแม่ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกบางคน อาจมีอาการปวดหลังได้ บางคนปวดตลอดเวลาแต่มีอาการไม่รุนแรง บางคนอาจปวดรุนแรงตั้งแต่ช่วงล่าง ไปจนถึงหลังส่วนบน ซึ่งอาจต้องนอนพักหลายวันทีเดียว คุณแม่มือใหม่บางคนอาจมีอาการปวดจนเกิดความกังวล ว่าเพราะอะไรเพิ่งท้องอ่อน ๆ แต่กลับมีอาการปวดหลัง วันนี้เรามีสาเหตุ พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดมาแนะนำค่ะ

ท้องอ่อน ปวดหลัง เกิดจากอะไร?

คุณแม่ที่ท้องอ่อน หรือท้องในช่วงไตรมาสแรกอาจมีอาการปวดหลัง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

ฮอร์โมน

ฮอร์โมนที่ว่านี้คือ รีแลกซ์ติน (Relaxtin) ที่ถูกสร้างขึ้นจากรังไข่ เป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นให้เอ็น และกระดูกเชิงกรานมีการขยายตัว เพื่อรองรับกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความเครียด

บางครั้งคุณแม่มือใหม่อาจเกิดความกังวลโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหดเกร็ง เส้นเอ็นตึง แบบนี้ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดได้

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

น้ำหนักที่ว่านี้คือ น้ำหนักที่มดลูกขยายตัว, น้ำหนักของน้ำคร่ำ ฯลฯ ทั้งหมดนี้กระดูกสันหลังจะมีหน้าที่ที่ต้องแบกรับไว้ทั้งหมด

ได้รับแคลเซียมน้อยไป

ในขณะที่ทารกกำลังเจริญเติบโตนั้น ร่างกายของคุณแม่จำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากพอ เพราะแคลเซียมส่วนหนึ่งในร่างกายของคุณแม่ต้องแบ่งไปให้ลูกน้อยด้วย การปวดหลังจึงเป็นสัญญาณหนึ่งว่าคุณแม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่น้อยเกินไป

มดลูกกำลังขยายตัว

ด้วยมดลูกที่กำลังมีการขยายตัวเพื่อรองรับการเติบโตของทารกในครรภ์ อวัยวะภายในจึงมีการขายและยืดออก

วิธีรับมือท้องไตรมาสแรก ปวดหลัง

การปวดหลังของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกสามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ ซึ่งเรามีวิธีรับมือในเบื้องต้น เพื่อเป็นการบรรเทาอาการดังนี้

ควรทราบเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสม

โดยรวมแล้วคุณแม่จะมีน้ำหนักที่ขึ้นมาไม่เกิน 10 -12 กิโลกรัมตลอดอายุการตั้งครรภ์ค่ะ โดยที่ทุกครั้งที่คุณแม่ไปพบคุณหมอตามนัด คุณหมอก็จะคำนวณค่า BMI ออกมาค่ะ

ค่อย ๆ เคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง

จริง ๆ แล้วการเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวังเริ่มตั้งแต่คุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้วค่ะ เพราะแม้ว่าจะตั้งครรภ์อ่อน ๆ หากคุณแม่มีการเคลื่อนไหวตัวที่เร็วเกินไป และไม่ระมัดระวัง ตัวอ่อนที่เกาะอยู่ก็อาจหลุดได้ นั่นแปลว่า เกิดการแท้งนั่นเอง

ไม่ควรนั่งนานเกินไป

การนั่งอยู่กับที่นานเกินไป อาจทำให้คุณแม่ปวดหลัง ปวดไหล่ได้ ทางที่ดี คุณแม่ควรขยับตัวลุกเดินทุก ๆ 1 ชั่วโมง เพื่อยืดเส้นยืดสายบ้าง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการปวดหลังได้

เลือกเสื้อชั้นในสำหรับคนท้อง

ข้อนี้สำคัญค่ะ เพราะเสื้อในธรรมดาที่เคยใส่อยู่ก่อนท้อง จะไม่รองรับการขยายขนาดของลำตัวและหน้าอก สายเสื้อในอาจจะรั้งบริเวณบ่าเป็นเวลานาน แบบนี้ก็จะทำให้ปวดหลังได้เช่นกัน

ปรับเก้าอี้ และท่าทำงาน

สำหรับช่วงท้องไตรมาสแรก คุณแม่บางคนอาจยังทำงานอยู่ ควรเช็คระดับ และระยะของเก้าอี้ทำงาน และความสูงของการวางมือที่แป้นพิมพ์ให้มีความพอดีนะคะ โดยดูได้จากเมื่อเราวางมือที่คอมพิวเตอร์แล้ว ข้อมือกับแขนควรเป็นแนวเดียวกัน

สำหรับเก้าอี้ทำงาน ให้คุณแม่หาหมอนรองหลังมาช่วยพยุงหลัง รวมถึงหาที่วางเท้าวางไว้ใต้โต๊ะ เพื่อให้เลือดไม่ไหลตกเท้ามากเกินไป เป็นเหตุให้เท้าบวมได้

เลี่ยงการยกของหนัก

เพราะการยกของหนัก แล้วก้มผิดท่าอาจส่งผลเสียได้ทั้งต่อทารกในครรภ์ และหลังคุณแม่ได้ค่ะ โดยเฉพาะช่วงท้องอ่อน ๆ นี้ เสี่ยงแท้งได้เลยทีเดียว

มีอุปกรณ์การนอนที่เหมาะสม

นอกจากหมอนที่ใช้นอนกันทุกวัน ๆ แล้ว ในช่วงที่ตั้งครรภ์นี้ คุณแม่อาจหาหมอนรองสำหรับคนท้องมาช่วยพยุงท้องด้วยก็จะดีนะคะ โดยเฉพาะเมื่อน้ำหนักท้องมากขึ้น หมอนรองนี้จะช่วยพยุงและรับน้ำหนักท้องได้เป็นอย่างดี ช่วยให้คุณแม่หลับสบายมากขึ้น

ออกกำลังให้เหมาะสม

เป็นการออกกำลังกายที่เน้นการยืดเส้นยืดสายมากกว่าที่จะไปกระโดดแอโรบิคนะคะ การออกกำลังกายเบา ๆ ได้แก่ การเล่นโยคะ หรือการเดินช้า ๆ เพื่อการผ่อนคลาย เป็นต้น

การปวดหลังแม้ว่ายังท้องอ่อน ๆ นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ และคุณแม่สามารถแจ้งคุณหมอที่ดูแลคุณแม่ได้เลย เผื่อว่าเป็นข้อมูลให้คุณหมอได้ใช้ประกอบการดูแลคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP