ผ่าคลอดบล็อกหลังมีกี่แบบ? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?

การคลอดและหลังคลอด
JESSIE MUM

กับระยะเวลาที่นานกว่า 9 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต่างรอคอยที่จะเจอหน้าเจ้าตัวเล็ก แต่…ก่อนที่พ่อแม่จะเจอหน้าลูกเรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดซักหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าการคลอดแบบบล็อกหลังคืออะไร? มีวิธีการอย่างไร?และจะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่เรามาดูกันเลยค่ะ

การบล็อกหลัง คืออะไร?

การบล็อกหลัง มีวิธีการคือ คุณแม่จะนอนตะแคงงอตัว หรือนั่งก้มตัวห้อยขา (แล้วแต่แพทย์จะพิจารณา)แพทย์จะใช้เข็มสำหรับการบล็อกหลังแทงเข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างจนถึงช่องไขสันหลัง แล้วฉีดยาเข้าไป คุณแม่จะมีอาการชาบริเวณช่วงล่างของร่างกาย และจะขยับช่วงล่างไม่ได้ไม่มีผลต่อลูก วิธีนี้จึงเหมาะกับการผ่าตัดบริเวณส่วนล่างของร่างกาย

การบล็อกหลังมีกี่แบบ?

การบล็อกหลังแบบ Epidural

วิธีการ การบล็อกหลังแบบ Epidural

วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปที่กระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างในและจะค่อยๆ ปล่อยยาออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อออกไปคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลังที่เรียกว่า Dura ให้หมดความรู้สึก

ข้อดี การบล็อกหลังแบบ Epidural

หลังจากที่แพทย์แทงเข็มที่กระดูกสันหลังแล้ว คุณแม่จะหมดความรู้สึกตั้งแต่ช่วงเอวลงไปประมาณ 5 นาที ในบางรายอาจนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ได้รับ วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่ไม่เจ็บปวดกับการที่มดลูกบีบตัว ยังสามารถขยับตัวหรือเคลื่อนไหวได้ หรืออาจจะงีบหลับได้ระหว่างรอคลอด

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง การบล็อกหลังแบบ Epidural

  • อาจทำให้ปวดศีรษะ ในบางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน คัน และร่างกายสั่น แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะหายไปเอง
  • อาจทำให้ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานลดลง ส่งผลให้หากมีลูกคนที่สอง ต้องเลื่อนเวลาการคลอดออกไป 1 ชั่วโมง หรืออาจต้องใช้คีมช่วยคลอดร่วมด้วย

การบล็อกหลังแบบ Spinal Block

วิธีการ การบล็อกหลังแบบ Spinal Block

แพทย์จะใช้เข็มแทงเข้าไปที่บริเวณหลังส่วนล่างของคุณแม่เข็มจะเจาะผ่านไขกระดูกสันหลังชั้น Dura ตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลังทันที ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกชาตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ขณะเดียวกัน อาจทำให้ประสิทธิภาพในการคลอดลดลงด้วย การบล็อกแบบนี้ส่วนมากมักจะใช้กับคุณแม่ที่ใกล้คลอด เพราะยามีฤทธิ์อยู่ได้แค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น

ข้อดี การบล็อกหลังแบบ Spinal Block

  • ช่วยระงับความปวดได้ภายใน 1-2 นาที
  • ปริมาณยาที่ใช้น้อยกว่าแบบ Epidural

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง การบล็อกหลังแบบ Spinal Block

  • เนื่องจากยามีฤทธิ์ค่อนข้างสั้น ซึ่งอาจหมดฤทธิ์ก่อนทารกจะคลอด ซึ่งแพทย์จะไม่ทำการฉีดซ้ำเป็นครั้งที่สองดูแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์น้อยมาก เพราะยังไม่มีใครสามารถคำนวณเวลาการคลอดที่แน่นอนได้
  • ผลข้างเคียงอาจทำให้คุณแม่ปวดศีรษะ ตัวสั่น คลื่นไส้ และคัน

การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block

วิธีการ การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block

การบล็อกหลังแบบนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “เทคนิคแบบสองเข็ม” คือ การใช้เข็มเป็นเซ็ต แพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ซึ่งข้างในจะมีเข็มขนาดเล็กอยู่อีกอันเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะลงลึกไปที่แนวไขสันหลัง (Spinal) เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉียบพลัน หากการคลอดยังไม่เกิดขึ้นภายในที่ยาบล็อก Spinal ออกฤทธิ์ แพทย์จะใช้ยาบล็อกหลังอีกครั้งในระดับ Epidural ซึ่งจะออกฤทธิ์ช้าและอยู่ได้นานกว่าเข็มใหญ่ โดยไม่ต้องแทงเข็มซ้ำ

ข้อดี การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block

คุณแม่ยังสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ รอบข้างได้ เคลื่อนไหวร่างกายได้

แม่โน้ต

แม่โน้ตก็ใช้วิธีผ่าคลอดบล็อกหลังค่ะ เพราะตอนนั้นครรภ์เป็นพิษต้องคลอดก่อนกำหนด พอฉีดยาเข้าไป ไม่ถึง 5 นาที คุณหมอวิสัญญีแตะที่เท้าที่เท้าแม่โน้ต แม่โน้ตก็ไม่รู้สึกแล้วค่ะ รู้สึกว่าเวลาผ่านไปไวมาก แป๊บเดียว ได้ยินเสียง “อุแว๊ ๆ” แล้ว

ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block
ปวดศีรษะ ตัวสั่น คัน และคลื่นไส้

เหตุที่ไม่นิยมการผ่าคลอดแบบดมยา

ปัจจุบันไม่ค่อยได้นำมาใช้ในการผ่าตัดคลอดแล้ว เนื่องจากคุณแม่ที่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงจากภาวะปกติในทุกระบบของร่างกาย ทำให้การดมยาสลบมีความยากลำบากมากกว่า เช่น

  1. เสี่ยงต่อการสอดท่อหายใจเข้าไปไม่ได้ มีการสำลักอาหารเข้าปอด ส่งผลให้ปอดอักเสบติดเชื้อ อาจอันตรายถึงชีวิตได้
  2. เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน เสี่ยงต่อลูกน้อยด้วย
  3. การดมยาสลบจะต้องใช้ยาหลายชนิดฉีดร่วมกัน ผลเสียคือ อาจมีการส่งผ่านไปถึงลูกด้วย

ผ่าคลอดบล็อกหลัง ผลข้างเคียงของคุณแม่หลังคลอด

  1. การบล็อกหลังจะมีการใช้เข็มขนาดเล็ก เพื่อฉีดยาชาเข้าไปที่บริเวณกระดูกสันหลังที่อยู่ในระดับเดียวกับเอว ซึ่งอาจทำให้คุณแม่บางรายมีอาการเจ็บบริเวณหลัง หรืออาจเสียวร้าวไปที่ขา
  2. ผลของยาชาอาจทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด อาจส่งผลให้คุณแม่บางรายมีความดันโลหิตลดลง จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงที่มดลูกน้อยลง ทำให้ลูกน้อยอาจเกิดภาวะขาดออกซิเจนชั่วคราว ลูกน้อยจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
  3. หลังคลอดแล้ว คุณแม่จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรืออาจมีอาเจียนได้
  4. คุณแม่จะไม่สามารถขยับ หรือลุกเดินไปไหนมาได้ประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง
  5. ไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที เนื่องจากความเหนื่อยและเพลียของคุณแม่จากการคลอดลูก
  6. ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงโดยจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วง 12 ชั่วโมงแรก แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะคุณหมอและพยาบาลจะใส่สายสวนปัสสาวะช่วยค่ะ
  7. อาการปวดหลัง ซึ่งจะเป็นแค่ในช่วง 1 – 2 เดือนแรกหลังคลอด แต่มีบ้างในบางรายค่ะที่อาจเป็นนานหลายเดือน

ผ่าคลอดบล็อกหลังจะไม่เจ็บเลยในขณะคลอด แต่มันจะเจ็บตอนหลังคลอด คุณแม่ต้องดูแลแผลผ่าคลอดกันอย่างดีซักหน่อย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ว่าแต่ถ้า “บล็อกหลังคลอดธรรมชาติจะดีไหม เจ็บไหม?” ไปติดตามกันค่ะ


การบล็อกหลังคลอดธรรมชาติเป็นยังไง จะเจ็บไหม? จะมั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย? ทุกคำถามมีคำตอบในบทความนี้จากวิสัญญีแพทย์ คลิกที่นี่

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP