คลอดก่อนกำหนด และ NICU ที่แม่ท้องควรรู้

การคลอดและหลังคลอด

ตลอดระยะเวลาที่แม่ตั้งครรภ์ไม่มีใครรู้ได้เลยว่าระหว่างการตั้งครรภ์จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง จะอุ้มท้องได้ครบ 9 เดือนหรือไม่ ร่างกายคุณแม่จะแข็งแรงดีไหม ลูกน้อยจะครบ 32 ไหม และอีกต่าง ๆ มากมาย การคลอดก่อนกำหนดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดจะมีความเกี่ยวเนื่องกับ NICU วันนี้เราจะมีมาทำความรู้จักในเรื่องนี้กันให้มากขึ้นค่ะ

การคลอดก่อนกำหนด คืออะไร?

การคลอดก่อนกำหนด” คือ การที่คุณแม่คลอดก่อนที่อายุครรภ์จะครบตามกำหนด 37 ส่วนตัวผู้เขียนเองคลอดเมื่อ อายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ เพราะครรภ์เป็นพิษ เรียกได้ว่า พอลูกคลอดออกมาตั้งแต่ในห้องคลอด ได้ยินเสียงลูกร้อง ได้เห็นหน้าลูกแป๊บเดียว พยาบาลต้องเอาเข้าตู้อบแล้วลงไปอยู่ที่ห้อง NICU ทันที

ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

หลัก ๆ แล้วประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

คุณแม่

  • อายุของคุณแม่ คือ น้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี ถือว่ามีความเสี่ยงค่ะ
  • หากคุณแม่มีโรคประจำตัวขณะตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน
  • มดลูกขยายตัวมากเกินไป เช่น มีครรภ์แฝด หรือมีภาวะน้ำคร่ำที่ผิดปกติ เป็นต้น
  • มดลูกมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ปากมดลูกสั้น
  • มีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้มีโอกาสเจ็บท้องก่อนกำหนดได้
  • เกิดการอักเสบในช่องคลอด
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  • มีฟันผุและมีการอักเสบของเหงือก

ลูกในครรภ์

  • หากลูกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซมหรือมีภาวการณ์ติดเชื้อ จะส่งผลให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

สัญญาณเตือนการคลอดก่อนกำหนด

  • ปวดหลังช่วงล่าง หรือบริเวณเอวต่อเนื่อง หรือเป็น ๆ หาย ๆ แม้จะพยายามเปลี่ยนท่าทางการนั่ง ยืน เดินแล้วก็ตาม
  • เจ็บท้องต่อเนื่องกัน 4 ครั้ง ใน 20 นาที หรืออาจจะเกิดได้เป็นระยะสั้น ๆ เนื่องมาจากการหดตัวของมดลูก
  • มีมูกหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • รับรู้ได้ว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ
  • มีอาการตัวบวมและมีความดันโลหิตสูง
  • ตาพร่ามัว มองเห็นแสงเป็นแฉก
  • จุกลิ้นปี่
  • ปวดศีรษะ ซึ่งกินยาแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง bangkokhospital.com

แม่โน้ต

แม่โน้ตมีอาการเด่น ๆ เลยนะคะ คือ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ และจุกที่ลิ้นปี เป็นต่อเนื่องกันในทุก 15 นาที จึงแจ้งคุณหมอ พอวันรุ่งขึ้นต้องผ่าตัดด่วน คลอดก่อนกำหนดค่ะ

NICU คืออะไร?

NICU ย่อมาจาก Neonatal Intensive Care Unit หรือหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต เป็นแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด อยู่ภายใต้ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด ในส่วนนี้จะมีทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางจากสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ร่วมกับสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์และทารกในครรภ์มาร่วมวินิจฉัยและทำการรักษากันอย่างใกล้ชิด เพราะทารกที่คลอดก่อนกำหนด อวัยวะภายในต่างๆ ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น เมื่อทานนมเข้าแล้ว แพทย์และพยาบาลต้องคอยกลับมาตรวจเช็คอีกรอบว่า นมในกระเพาะนั้นถูกย่อยไปหมดหรือไม่เป็นต้น
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการที่ทรุดหนักและป้องกันโรคแทรกซ้อน
นอกจากนี้ ทีมแพทย์และพยาบาลของ NICU จะคอยดูอาการของทารกและต้องทำน้ำหนักของทารกให้ขึ้นมาตามเกณฑ์ รวมถึงต้องมั่นใจได้ก่อนว่า เมื่อทารกกลับบ้าน คุณพ่อคุณแม่จะสามารถดูแลลูกน้อยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอุ้ม การให้นม การอาบน้ำ การให้ยา ฯลฯ เพื่อให้ทารกได้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงต่อไป

NICU รองรับทารกประเภทไหน?

  • มีภาวะพิการแต่กำเนิด
  • ทารกที่ต้องให้ออกซิเจน ต้องเฝ้าระวัง ต้องให้ยา หรือต้องมีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
  • ทารกที่ต้องมีการใช้กระบวนการหรือเครื่องมือพิเศษ เช่น การถ่ายเลือด
  • เกิดภาวะติดเชื้อ เช่น เริม หนองในเทียม หรือกลุ่มสเตรปโตตอตตัส บี
  • ทารกที่ได้รับยาหรือได้รับการช่วยชีวิตทันทีหลังคลอด
  • ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม
  • ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ รวมไปถึงคลอดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
  • มีปัญหาเรื่องระบบหายใจ

ทีมแพทย์และบุคลากรของ NICU มีใครบ้าง?

หลังจากที่คุณแม่คลอดน้องแล้ว น้องก็อยู่ในห้อง NICU ส่วนคุณแม่เองก็อยู่ที่ห้องพักฟื้นรวม 1 คืนก่อน คุณหมอสั่งงดน้ำ งดอาหาร 24 ชม. ปากแห้งมากเหมือนคนที่อยู่ท่ามกลางทะเลทรายซาฮาร่า เว้นเสียแต่ว่าอากาศไม่ได้ร้อนเท่า
อักวันต่อมา ได้ห้องพิเศษ พอพักฟื้นจนตัวเองรู้สึกว่าเดินไหวแล้ว ก็ขอคุณหมอลงไปเยี่ยมลูกที่ห้อง NICU เด็กทารกจะมีแพทย์ที่คอยดูแล 2 คนต่อทารก 1 คน และก็จะมีทีมพยาบาลที่เปลี่ยนเวรกันไป เรามาดูกันเลยค่ะว่า จริงๆ แล้วมีใครกันอีกบ้าง

  • สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Maternal-Fetal Medicine Specialist)
  • กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (Neonatologist) คือ กุมารแพทย์ที่ทำการรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะผิดปกติ โดยอาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • ทีมพยาบาลที่ผ่านการอบรม และฝึกฝน จนเชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลครรภ์ การคลอด รวมไปถึงการดูแลทารกหลังคลอดมาโดยตรง
  • ทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลระหว่างการผ่าคลอด
  • ทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลทารกแรกเกิดในภาวะวิกฤติ
  • ทีมพยาบาลผู้ประสานงานมารดา
  • ทีมพยาบาลผู้ประสานงานด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอุ้มให้นม หรือการกระตุ้นน้ำนม

วิธีรับมือที่คุณแม่ต้องทำเมื่อลูกอยู่ NICU

บอกได้เลยค่ะ ว่าลูกอยู่โรงพยาบาล แม่อยู่บ้าน วันๆ ไม่ได้คิดอะไรแล้วนอกจากรอเวลาปั๊มนม และคิดถึงแต่ลูก เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ตามที่ทางโรงพยาบาลกำหนด คือ 1,800 กรัม คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวดังนี้ค่ะ

  • มีวินัยในตัวเอง โดยปั๊มนมให้ได้ทุกๆ 2-3 ชม.
  • นำน้ำนมแม่ไปส่งที่ห้อง NICU เพื่อให้พยาบาลนำไปป้อนลูก

*** นมแม่สำคัญต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก หากลูกได้รับน้ำนมแม่ได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อทารกมากเท่านั้นค่ะ ขณะนั้นผู้เขียนได้มาแค่ 2 cc. ก็ต้องรีบเอาลงไปให้ลูกแล้วค่ะ

คุณแม่ที่มีร่างกายแข็งแรงมากก่อนการตั้งครรภ์ ใช่ว่าช่วงตั้งครรภ์แล้วจะแข็งแรงเสมอไป ดังนั้น การดูแลตัวเอง ไม่หักโหมทำงานหนัก ยกของหนัก หรือเดินมาก ๆ กินอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และที่สำคัญ หากพบอาการไม่ปกติอย่างไร รีบปรึกษาแพทย์ทันทีนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP