ตกเลือดหลังคลอด อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้ไหม

การคลอดและหลังคลอด

การจะมีลูกได้แต่ละคนนั้น คุณแม่ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม ดูแลเค้าให้ดีตั้งแต่ในท้อง แต่ใช่ว่าหลังคลอดแล้วจะสบายนะคะ ไม่ค่ะ…อย่าคิดอย่างนั้น 555 เพราะแม้หลังคลอดลูกแล้ว คุณแม่ก็ต้องใส่ใจตัวเอง สังเกตร่างกายตัวเองว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะ “การตกเลือดหลังคลอด” เพราะมีอันตรายหรือชีวิตได้ การตกเลือดมีอาการอย่างไร ถ้าเกิดขึ้นกับคุณแม่แล้วจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ

อาการตกเลือดหลังคลอด คืออะไร?

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ ได้อธิบายเกี่ยวกับภาวะตกเลือดหลังคลอดไว้ว่า ภาวการณ์ตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage) หมายถึง หลังจากคุณแม่คลอดทารกและคลอดรกเสร็จสิ้นแล้ว หาก…

กรณีธรรมชาติ (ทางช่องคลอด)

ยังมีเลือดออกมากกว่าหรือเท่ากับ 500 มิลลิลิตร และมากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 มิลลิลิตร

กรณีผ่าคลอด

ยังมีเลือดออกมาก เรียกได้ว่า มีปริมาณมากจนผิดปกติ จนทำให้มีอาการหน้าซีด หรือเวียนศีรษะ

สาเหตุของการเกิดภาวะตกเลือด

การตกเลือดหลังคลอดทันที (Early or Acute postpartum hemorrhage)

เป็นภาวะการตกเลือดแบบฉับพลัน เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง โดยสาเหตุอาจมาจากมีการฉีกขาดในโพรงมดลูก หรือกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ได้ ซึ่งเป็นกรณีที่พบบ่อย

การตกเลือดระยะหลัง (Late postpartum hemorrhage)

เป็นภาวะที่มีเลือดออกมากหลังคลอดไปแล้ว 24 ชั่วโมงไปจนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งสาเหตุส่วนที่พบบ่อยที่สุดในกรณีนี้คือ การติดเชื้อ

อาการตกเลือดหลังคลอด

หลังคลอดคุณแม่ลองสังเกตตัวเองด้วยนะคะว่ามีอาการดังกล่าวนี้หรือเปล่า

  • เลือดออกเป็นลิ่มๆ หน้ามืด วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม
  • หากคุณแม่กลับมาบ้านแล้ว ยังมีเลือดสดๆ ออกมา อาจเริ่มมีเลือดออกทีละน้อย แล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้น
  • มีไข้
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดมดลูก

ทั้งนี้ ทั้งนั้น คุณแม่ต้องแยกให้ออกระหว่าง “เลือดออก” กับ “น้ำคาวปลาหลังคลอด” ซึ่งโดยปกติแล้วน้ำคาวปลาน้ำหลังคลอดจะมีสีแดงอยู่ประมาณ 2-3 วัน แต่จะมีปริมาณน้อย ผ่านไป 1 สัปดาห์ก็จะจางลง และไม่ควรมีอาการปวดท้องนะคะ

การรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด

เพราะการตกเลือดมี 2 แบบ ดังนั้น การรักษาจะเป็นดังนี้ค่ะ

ภาวะที่ตกเลือดอย่างเฉียบพลัน

รักษาโดย…

  • หากฉีกขาดทางช่องคลอด คุณหมอจะเย็บแผลให้
  • หากมีเศษรกหรือเยื่อหุ้มเด็กค้างในโพรงมดลูก คุณหมอจะทำการขูดมดลูก
  • หากมีการเสียเลือดมาก คุณหมอจะให้เลือด และให้สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว

ภาวะตกเลือดหลังคุณแม่กลับไปพักรักษาตัวที่บ้านแล้ว

หากคุณแม่ยังมีอาการเลือดออกมากส่วนมากมักมาจากการติดเชื้อ หรือไม่ก็อาจมีเศษรกค้างอยู่ในโพรงมดลูก คุณหมอจะทำการอัลตร้าซาวน์ หากมีตกค้างคุณหมอจะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อน แล้วอาจพิจารณาขูดมดลูกต่อไป

แต่ถ้าคุณแม่ยังคงมีเลือดออกมาก คุณหมออาจให้นอนพักที่โรงพยาบาล เพื่อดูอาการซึ่งอาจเป็นการให้น้ำเกลือ หรือเลือดต่อไป

อาการแทรกซ้อนจากภาวะตกเลือด

อากาแทรกซ้อนโดยมากมักเกิดจากการที่เสียเลือดมาก เช่น

  • มีอาการซีด
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่มีน้ำนมพอที่จะเลี้ยงลูก เพราะความที่เสียเลือดมาก ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนที่ควบคุมการผลิตน้ำนมไม่พอ
  • ไตวาย
  • เลือดไม่แข็งตัว
  • เสียชีวิต

การป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด

ฝากครรภ์ทันที

หลังจากที่คุณแม่ทราบแน่ชัดจากคุณหมอแล้วว่าตั้งครรภ์ แนะนำให้ฝากครรภ์ทันที เพื่อรับคำแนะนำ และยาบำรุงร่างกายทั้งของคุณแม่และลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยค่ะ

สำรวจประวัติด้านสุขภาพของครอบครัวตัวเอง

เช่น มีพ่อ แม่ หรือมีคนในครอบครัวคนใดเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ มีภาวะเลือดจางหรือไม่ หรือหากท้องนี้เป็นท้อง 2 ก่อนหน้านี้เคยมีการตกเลือดมาก่อนหรือไม่ หรือมีใครเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ เพราะโรคเหล่านี้ หากเคยเกิดซ้ำแล้ว คุณแม่ก็จะมีโอกาสในการเกิดซ้ำได้มากกว่าคุณแม่คนอื่น ๆ

หมั่นใส่ใจ ดูแลตัวเอง

หมั่นตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอว่าในแต่ละวันคุณแม่พบอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ รวมถึงต้องดูแลตัวเองด้วยการทานอาหารให้หลากหลาย ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอ

ทานยาบำรุงให้สม่ำเสมอ

หลังจากฝากครรภ์แล้วคุณหมอจะให้ยาบำรุงมา ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม โฟเลต และธาตุเหล็ก เพื่อเป็นการบำรุงครรภ์

ไปตรวจร่างกายตามที่คุณหมอนัด

ข้อนี้สำคัญมากค่ะ เพื่อให้คุณหมอได้ดูแล และประเมินอาการในแต่ละเดือน

แม่โน้ต

วันที่แม่โน้ตอุ้มท้องเข้าวันแรกของเดือนที่ 7 นั้น คุณหมอพบว่าแม่โน้ตมีความดันสูงผิดปกติ (180/110) ซึ่งสรุปแล้วมีภาวะครรภ์เป็นพิษค่ะ แต่คุณหมอช่วยไว้ได้ทันทั้งแม่และลูก

การตกเลือดเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่คุณแม่ต้อคอยสังเกตตัวเองด้วยนะคะ ว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นที่เข้าข่ายจะตกเลือดหรือไม่ รู้เร็ว ก็จะรักษาได้เร็วค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง haamor.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP