มาดูกันว่าคุณแม่นักปั๊มจะมีน้ำนมเพียงพอกับลูกน้อยหรือไม่

นมแม่

กระแสนมแม่มาแรงจริงๆ แต่ก็ต้องยอมรับถึงคุณค่าและสารอาหารที่ดีต่อร่างกายและสมองของลูกอย่างมหาศาลคุณแม่จึงควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งการปั๊มนมแม่บ่อยๆ จะทำให้ร่างกายสร้างน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูก

คุณแม่ควรกำหนดปริมาณน้ำนมไว้เป็นพื้นฐานคร่าวๆ ว่าจะปั๊มให้ได้เท่าไหร่ในรอบ 24 ชั่วโมง เช่น ถ้าให้ลูกดูดนม 8 ครั้งต่อวัน ก็เท่ากับว่าลูกต้องการนมประมาณ 3 ออนซ์ต่อ 1 มื้อ ทุก 3 ชั่วโมง ปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็ไม่ควรต่ำกว่ามื้อละ 3 ออนซ์ หากต้องการเก็บน้ำนมเป็นสต็อกไว้ก็ต้องปั๊มให้บ่อยขึ้นการจะปั๊มนมได้ตามเกณฑ์คือตามปริมาณการกินของลูก ร่างกายก็สร้างในปริมาณเท่านี้แค่พอให้ลูกกิน แต่จะไม่มีน้ำนมเหลือไว้เก็บสต็อก คุณแม่บางท่านก็โชคดี ที่น้ำนมไหลมาเทมาราวกับเขื่อนแตก จนเกินปริมาณที่ลูกต้องการกินในแต่ละวัน แต่ก็นับเป็นเรื่องดีเลยค่ะ

เพราะคุณแม่สามารถทำสต็อกน้ำนมสำรองไว้ให้ลูกกินได้อีกนาน แต่หากคุณแม่เห็นว่าสต็อกน้ำนมมีมากเกินไป ก็ให้ปั๊มเพียงเต้าเดี่ยวต่อครั้ง แทนที่จะปั๊มพร้อมกันทั้งสองข้าง เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้สร้างน้ำนมเพิ่มไปอีก แล้วค่อยสลับข้างกันปั๊มเอาค่ะ

น่าเสียดายที่ในสังคมเรา มีคุณแม่หลายท่านมีน้ำนมอย่างเพียงพอที่จะให้ลูกได้ดื่มกิน แต่ไม่สะดวกที่จะทำสต็อก เหตุผลจากการต้องทำงาน ต้องห่างลูก เศรษฐานะ จึงทำได้เพียงปั๊มน้ำนมส่วนเกินนี้ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์

ถ้าปั๊มได้น้ำนมน้อยไปจะทำอย่างไร?

  • สำรวจดูว่าแต่ละวันปั๊มนมบ่อยแค่ไหน ซึ่งควรจะปั๊มให้ได้ทุก 3 ชั่วโมง ข้างละ 15-20 นาที วันละ 8 ครั้ง
  • รักษาระยะห่างในการปั๊มแต่ละครั้งไม่ให้ห่างกันเกิน 3 ชั่วโมง เพราะจะทำให้เต้านมเกิดอาการคัดตึง แล้วพอน้ำนมไม่ถูกปล่อยออกมา ร่างกายก็เข้าใจว่าสงสัยจะเลิกให้นมลูกแล้ว จึงหยุดการสร้างน้ำนมไปโดยปริยาย
  • ทำใจสบายๆ อย่าเครียด ก่อนปั๊มประมาณ 3-5 นาที ให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ สักแก้ว

ปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมต่อลูกในแต่ละวัย

วัยแรกเกิด – อายุ 1 เดือน

ให้ปริมาณตามน้ำหนักคือ 5 ออนซ์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน โดยควรแบ่งให้เป็น 6 มื้อ เช่น ลูกหนัก 4 กิโลกรัม ก็ควรจะได้กินนม 20 ออนซ์ต่อวัน อาจขาดหรือเกินได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ และนำนมปริมาณนั้นแบ่งออกให้ได้ 6-8 มื้อ ก็จะได้ประมาณ 3 ออนซ์ต่อมื้อนั่นเอง

วัย 1-6 เดือน

ให้ปริมาณตามน้ำหนักคือ 4 ออนซ์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน โดยควรแบ่งให้เป็น 6 มื้อ เช่น ลูกหนัก 6 กิโลกรัม ก็ควรจะได้กินนม 24 ออนซ์ต่อวัน อาจขาดหรือเกินได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ และนำนมปริมาณนั้นแบ่งออกให้ได้ 6-8 มื้อ ก็จะได้ประมาณ 4 ออนซ์ต่อมื้อนั่นเองจะเห็นว่าพอลูกเริ่มโตขึ้น ปริมาณการให้นมในแต่ละมื้อก็จะเพิ่มขึ้น อย่าสับสนกับสูตรข้างบนที่ดูน้อยลงเมื่อเทียบกับวัยแรกเกิดนะคะ และไม่ควรให้นมลูกมากเกินไป เพราะจะส่งผลให้น้ำหนักเกินมาตรฐานได้ค่ะ

วัย 6-12 เดือน

ให้ปริมาณตามน้ำหนักคือ 3.6 ออนซ์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับเด็กในช่วงวัยนี้จะเริ่มทานอาหารอ่อนๆ ได้แล้ว ก็จะมีเสริมเข้ามาอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ โดยแบ่งให้มื้อนมตามวัยดังนี้

เด็ก 6-8 เดือน ควรแบ่งมื้อนมเป็น 5-6 มื้อ และอาหารเสริม 1 มื้อ
เด็ก 9-11 เดือน ควรแบ่งมื้อนมเป็น 4-5 มื้อ และอาหารเสริม 2 มื้อ
เด็ก 12 เดือน ควรแบ่งมื้อนมเป็น 4-5 มื้อ และอาหารเสริม 3 มื้อ

เช่น ลูกวัย 7 เดือน หนัก 7.5 กิโลกรัม ก็ควรจะได้กินนม 27 ออนซ์ต่อวัน อาจขาดหรือเกินได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ อาจปัดเป็น 30 ออนซ์ แล้วแบ่งเป็น 5 มื้อๆ ละ 6 ออนซ์ แล้วให้อาหารเสริม 1 มื้อ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP