จำเป็นหรือไม่…หากแม่เป็นโรคลิ้นหัวใจ ต้องยุติการตั้งครรภ์

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ก่อนการตั้งครรภ์ หลายครอบครัวที่มีการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ก็จริง ทุกอย่างโอเคหมด ร่างกายมีพร้อมดี แต่ระหว่างการตั้งครรภ์ บางคนพบว่ามีอาการแทรกซ้อนเข้ามาจนทำให้ต้องยุติการตั้งครรภ์ บางรายอาจครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้แท้งหรือต้องคลอดก่อนกำหนดได้

แต่…อีกหนึ่งข้อสงสัยว่า “หากคุณแม่เป็นโรคลิ้นหัวใจ ต้องยุติการตั้งครรภ์เลยหรือไม่?” เรื่องนี้มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาร่วมกันจะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

ทำความรู้จักกับโรคลิ้นหัวใจ

เป็นอีกหนึ่งภัยใกล้ตัวที่ระยะแรกยังไม่แสดงอาการ แม้แต่ช่วงวัยรุ่นก็อาจจะมีอาการแปลกๆ มาบ้างแต่ก็ยังไม่ชัดเจน จนอายุประมาณ 40-50 ปี อาการจะชัดเจนขึ้น ผู้ที่เป็นจะมีอาการเหนื่อยง่าย หอบ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย เป็นลมบ่อย เรียกได้ว่าเป็นบ่อยจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันกันเลยทีเดียว บางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เพราะหัวใจล้มเหลว

สาเหตุของโรคนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจตั้งแต่กำเนิด จะทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนปกติ

ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์อย่างไร?

การตั้งครรภ์มีผลทำให้ร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมากถึงมากที่สุดค่ะ 555 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นทั้งน้ำหนักที่มาจากการกินของคุณแม่และน้ำหนักของลูกน้อย รวมไปถึงฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่ออารมณ์ที่แปรปรวนซึ่งในส่วนของหัวใจในกรณีที่คุณแม่เป็นลิ้นหัวใจอยู่แล้ว การทำงานของหัวใจก็หนักอยู่แล้ว แต่เมื่อตั้งครรภ์หัวใจก็จะยิ่งทำงานหนักขึ้นไปอีก เต้นแรงและเร็วขึ้น จึงส่งผลให้คุณแม่มีอาการทรุดลงได้ง่ายกว่าปกติ

กรณีที่คุณแม่เป็นโรคลิ้นหัวใจอยู่แล้ว ผลกระทบมีดังนี้

  1. ทารกในครรภ์มีโอกาสได้รับโรคนี้ผ่านทางกรรมพันธุ์
  2. ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ เพราะเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจของคุณแม่ไปเลี้ยงไม่พอ

** คุณแม่จะรู้ได้ก็เมื่อมีอายุครรภ์ได้ 5 เดือนแล้ว ซึ่งคุณหมอจะทำการเจาะน้ำคร่ำและอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสอบสุขภาพของทารกในครรภ์

เป็นโรคลิ้นหัวใจ อยากมีลูกจะเป็นไปได้หรือไม่?

สำหรับผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจอยู่แล้ว แต่อยากมีลูก คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดให้เรียบร้อยก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งการเปลี่ยนลิ้นหัวใจนี้หลักๆ มี 2 ชนิด คือ

ลิ้นหัวใจที่ทำจากโลหะ

ซึ่งแบบนี้ต้องทานยาละลายลิ่มเลือดไปตลอดชีวิต ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์และอาจทำให้ลูกพิการได้

ลิ้นหัวใจที่ทำจากเนื้อเยื่อ

ผู้ป่วยต้องทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นเวลา 3 เดือน แล้วไม่จำเป็นต้องทานอีกต่อไป แต่เนื้อเยื่อนี้จะมีอายุการใช้งานที่ 10 ปี ซึ่งหากลิ้นหัวใจเสื่อมหรือตีบ ต้องมาผ่าตัดแก้ไขใหม่

เพิ่งรู้ว่าตัวเองเป็นโรคลิ้นหัวใจ ขณะตั้งครรภ์

หากตั้งครรภ์แล้ว เพิ่งพบว่าคุณแม่เป็นโรคลิ้นหัวใจ คุณหมอจะพิจารณาจากระดับความรุนแรง

  • หากไม่รุนแรง สามารถดูแลครรภ์ใกล้ชิดร่วมกับคุณหมอได้
  • หากรุนแรงมาก คุณหมอจะพิจารณาจากอายุครรภ์ ซึ่งถ้าอายุครรภ์ไม่เกิน 2-3 เดือน คุณหมอจะยุติการตั้งครรภ์ด้วยการขุดมดลูก แต่หากอายุครรภ์เกิน 5 เดือนแล้ว คุณหมอจะดูแลและประคับประคองไปจนกว่าอายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ แล้วทำการผ่าคลอด

ระดับความรุนแรงที่พบในคุณแม่ สามารถดูได้จากอาการที่ปรากฏเป็นหลัก หรือเรียกว่า Functional Class แบ่งได้เป็น 4 แบบ ดังนี้

  • Class 1 ยังสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติโดยไม่มีอาการอ่อนเพลีย หอบเหนื่อย ใจสั่น หรือแน่นหน้าอก
  • Class 2 แม้จะทำกิจกรรมปกติ แม้เพียงเล็กน้อย ก็เริ่มเหนื่อย ใจสั่น หรือแน่นหน้าอก
  • Class 3 แม้จะทำกิจกรรมปกติ แม้เพียงเล็กน้อย จะเริ่มเหนื่อย ใจสั่น หรือแน่นหน้าอก อาทิ ขึ้นบันไดเพียง 2 ขั้นก็มีอาการที่เห็นได้ชัดแล้ว
  • Class 4 แม้นั่งเฉยๆ ก็เหนื่อย หอบ ใจสั่น หรือแน่นหน้าอก

หากคุณแม่ยังอยู่ใน Class 1 และ Class 2 ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด เนื่องจากขณะตั้งครรภ์หัวใจของคุณแม่จะสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าคนปกติ 40% เพราะมีลูกน้อยอยู่ในครรภ์ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 8 สัปดาห์และสูงสุดจะอยู่ในช่วงกึ่งกลางของการตั้งครรภ์

แต่หากคุณแม่อยู่ใน Class 3 และ Class 4 ต้องพบคุณหมอทันที เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งหากคุณแม่มีการผ่าตัดลิ้นหัวใจประเภทเนื้อเยื่อมาก่อน ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ แต่หากเป็นประเภทโลหะ อาจต้องหยุดทานยาละลายลิ่มเลือดแล้วเปลี่ยนมาเป็นยาฉีดแทนตามคุณหมอสั่ง

สำหรับผู้หญิงที่ยังไม่มีลูก ควรตรวจความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายเราสมบูรณ์พร้อมที่จะมีลูก หรืออย่างน้อยหากพบความผิดปกติอะไร เรายังสามารถแก้ไขได้ก่อนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แล้วค่อยมีลูกก็ยังไม่สายค่ะ

อ้างอิง นายแพทย์วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล rakjakjai.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP