ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีแนวทางการดูแลรักษาอย่างไร

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

มีคุณแม่หลายคนค่ะที่ก่อนหน้าการตั้งครรภ์ มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่พอมาในช่วงตั้งครรภ์และมีอายุครรภ์ที่มากขึ้น กลับมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ซะอย่างนั้น วันนี้เราจะมาพูดคุยถึงเรื่องนี้กันค่ะว่าภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคนไหม? อาการเป็นอย่างไร? และส่งผลกระทบอย่างไรกับการตั้งครรภ์บ้าง?

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คืออะไร?

คือ ภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท หรือสูงกว่า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป หากมีอาการร้ายแรงอาจถึงขั้นคุณแม่เสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท เพียงอย่างเดียว เกิดได้เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึง 12 สัปดาห์หลังคลอด

ภาวะครรภ์เป็นพิษ และภาวะชัก

คุณแม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับ มีการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะที่มากกว่า 300 มิลลิกรัม ใน 24 ชั่วโมง โดยที่ก่อนหน้านี้คุณแม่ไม่เคยมีประวัติความดันโลหิตสูงเรื้อรังมาก่อน ร่วมกับ มีการตรวจพบไข่ขาวหรืออัลบูมิลในปัสสาวะ ซึ่งภาวะนี้จะกลับเป็นปกติเมื่อหลังคลอด

ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง

คุณแม่มีความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์หรือก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์

ความดันโลหิตสูงทับซ้อนความดันโลหิตสูงเรื้อรัง

คือ ก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์ก็มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังมาก่อนแล้ว และพอมาช่วงตั้งครรภ์ก็เกิดภาวะความดันโลหิตสูงทับซ้อนเข้ามาอีก

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์นั้น ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติ

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีแนวทางการรักษาอย่างไร?

หากคุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คุณหมอก็จะมีแนวทางการดูแลรักษาหลัก ๆ ดังนี้

พิจารณาจากความรุนแรงของโรคและอายุครรภ์

หากคุณหมอพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มมีความดันโลหิตสูง คุณหมอก็จะพิจารณาให้นอนโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดูอาการของทั้งคุณแม่และลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ประเมินดูความรุนแรงของอาการ ซึ่งในรายที่มีความอาการครรภ์เป็นพิษรุนแรง จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้ยากันชัก และยาลดความดันโลหิตสูง

ทั้งนี้ หากอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนด หรือภาวะของโรคมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น ซึ่งก็จะมีแนวทางการรักษาคือ อาจให้ยุติการตั้งครรภ์ ในรายที่อายุครรภ์ใกล้ครบกำหนด หรือปากมดลูกพร้อมชักนำการคลอดทางช่องคลอด แต่ถ้าหากปากมดลูกยังไม่พร้อม หรือมีข้อบ่งชี้อื่น ๆ อาทิ รกเกาะต่ำ หรือทารกตัวโตเกินไป คุณหมอก็อาจพิจารณาเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดคลอดแทน

หากอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด

คุณหมอจะพิจารณาว่ายังสามารถควบคุมภาวะของโรคได้ ก็จะให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป แต่ถ้าหากเห็นว่าภาวะของโรคมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ เพื่อประโยชน์ต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

ทำอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูงที่มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนใหญ่คุณหมอจะให้นอนพักเพื่อดูอาการอย่างใกล้ชิดที่โรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเอง และมีแนวทางปฏิบัติตัว ดังนี้ค่ะ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ไม่กังวล
  • หมั่นนับการดิ้นของลูกน้อยครรภ์ทุกวัน หรือหลังมื้ออาหาร
  • สังเกตอาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าจะมีภาวะของโรคที่รุนแรงขึ้น
  • ไปตรวจและติดตามอาการตามที่คุณหมอนัด

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน เพียงแต่คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง ดูว่ามีอาการอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ ที่สำคัญ คุณแม่ควรไปตรวจตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง ทั้งนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์สามารถหายได้หลังจากคลอดลูกแล้วอย่างช้าไม่เกิน 12 สัปดาห์หลังคลอด โดยที่คุณแม่ควรไปตรวจตามที่คุณหมอนัดทุกครั้งนะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP