ต้องบอกว่าเรื่องของ “การตั้งครรภ์” นั้นเป็นอะไรที่ sensitive มาก เรียกว่าหากต้องการตั้งครรภ์ต้องมีการเตรียมตัวของว่าที่คุณแม่ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอดกันเลยทีเดียว และเมื่อตั้งครรภ์แล้วว่าที่คุณแม่ก็จะต้องเจอกับอาการต่าง ๆ เช่น แพ้ท้อง มีความอ่อนไหวทางอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน ปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายทังสิ้น ฮอร์โมนคนท้องที่สำคัญมีอะไรบ้าง? ไปดูกันค่ะ
สารบัญ
ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง?
ฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (hCG)
เป็นฮอร์โมนตัวแรกที่ทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีการปฏิสนธิ จากเซลล์ในไข่ที่ถูกผสมและมาฝังตัวที่มดลูก และจะพัฒนากลายเป็นรกต่อไป
ในช่วงแรกที่ไข่เริ่มมีการผสมและรกยังเติบโตไม่เต็มที่ ฮอร์โมน hCG นี้จะมีหน้าที่ไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ และหากรกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว รกก็จำทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ แทนรังไข่ ส่วนฮอร์โมน hCG ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกระตุ้นรังก็ค่อยๆ ลดน้อยลงและหมดหน้าที่ไป
ฮอร์โมน hCG ส่งผลกับคุณแม่คือ จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียนในช่วงไตรมาสแรก หากคุณแม่คนไหนที่มีอาการแพ้ท้องมาก ๆ แสดงว่ามีฮอร์โมน hCG สูงนั่นเองค่ะ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ฮอร์โมน h CGจะกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อช่วยเสริมสร้างและทำให้เนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ อ่อนนุ่มขึ้น ยืดหยุ่นได้มากขึ้นในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และยังจากนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีก อาทิ
- กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เตรียมตัวให้ไข่ที่ผสมแล้วมาฝังตัว ซึ่งจะทำให้มดลูกของคุณแม่ขยาย ผนังมดลูกหนาขึ้น เสริมสร้างเนื้อเยื่อของเซลล์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้ตอนท้อง มดลูกจึงสามารถขยายใหญ่ได้เป็นหลายร้อยเท่า
- ซึ่งเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ครบกำหนด ทดลูกจะขยายจนมีความจุได้ถึง 3-5 จากก่อนท้องสามารถจุได้เพียง 10 มิลลิลิตรเท่านั้น นอกจากนี้ฮอร์โมนนี้ยังมีส่วนทำให้ผนังช่องคลอดหนาขึ้น ยืดขยายได้ดีขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยในท้องเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
- ช่วยกระตุ้นให้เลือดในร่างกายของคุณแม่ที่ท้องไหลเวียนได้มากขึ้นไปหล่อเลี้ยงที่มดลูก เพื่อนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงลูกน้อยในท้องนอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้องให้มีพัฒนาการที่สมวัย
- ฮอร์โมนนี้ยังมีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น ทำให้สารน้ำต่าง ๆ ในระบบไหลเวียนเลือดซึมออกมาได้ง่าย จึงทำให้คุณแม่มีอาการบวมน้ำได้ง่าย โดยเฉพาะหากต้องนั่ง ยืน หรือเดินนาน ๆ
- เพราะฮอร์โมนนี้เพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวน รวมไปถึงหลังคลอด คือ ทำให้เต้านมขยายใหญ่ขึ้น เพราะมีการสร้างและขยายของท่อน้ำนม
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
ฮอร์โมนนี้นอกจากจะทำงานเดี่ยวได้แล้ว ยังสามารถทำงานคู่กับฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิ ฮอร์โมนเอสโตรเจน อีกทั้งยังสามารถช่วยสนับสนุนและยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวอื่นไม่ให้ออกฤทธิ์ในช่วงเวลาที่ไม่จำเป็น เช่น
- ลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ในกรณีที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปทำให้มดลูกขยายและพร้อมที่จะมีการหดรัดตัว แต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนี้จะไปทำการยับยั้งอาการ ทำให้มดลูกไม่หดรัดตัวมาก ทำให้ทารกมาฝังตัวที่มดลูกได้ ไม่หลุดออกไป และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงเมื่อใกล้คลอด มดลูกก็จะเริ่มหดรัดตัว และคลอดลูกออกมาได้ค่ะ
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อปรับให้เยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัว คือ ทำให้หนาขึ้น มีเลือดมาเลี้ยงได้มากขึ้น ฯลฯ
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อยืดขยาย เป็นเหตุให้แม่ปวดเมื่อยได้ง่าย
- ฮอร์โมนนี้ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไปหล่อเลี้ยงมดลูก นำอาหาร และออกซิเจนในสู่ลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยให้สมบูรณ์แข็งแรง
ฮอร์โมน Human Placental Lactogen (HPL)
เป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนตัวสำคัญที่ถูกผลิตขึ้นภายในรก เป็นฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับภาวะการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยมักพบว่า มีโอกาสเกิดได้ประมาณ 1 – 14% ฮอร์โมนตัวนี้จะเริ่มสร้างตั้งแต่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งประมาณสัปดาห์ที่ 12 มีหน้าที่
- ช่วยสลายไขมัน เพื่อให้เลือดของคุณแม่และทารกมีกรดไขมันที่สูงขึ้น ยับยั้งการนำกลโคสเข้าสู่เซลล์คุณแม่ที่จะส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่ต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น
- ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคสจากสารอาหารอื่น ๆ ส่งผลให้สารอาหารประเภทโปรตีนและกลูโคส สามารถผ่านไปยังลูกน้อยในครรภ์มากขึ้น
- มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเต้านมคุณแม่ เพื่อเตรียมผลิตน้ำนมให้ลูกได้ในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของลูกน้อยหลังคลอด
เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นภายในรก มีหน้าที่ส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์และกระตุ้นต่อมน้ำนมภายในเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมลูก
ข้อมูลอ้างอิง poboad.com
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไร?
จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่….
- หากก่อนตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
- หากอยู่ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเป็นได้ว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้อาจล้มเหลว ซึ่งถือเป็น การแท้งโดยธรรมชาติ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ รู้ได้อย่างไร?
- ส่งผลให้คุณแม่นอนไม่หลับ
- มือเย็น ตัวเย็น
- มีอาการวูบ ๆ วาบ ๆ หนาว ๆ ร้อน ๆ
- เหงื่ออกมาในเวลากลางคืน
- ปวดศีรษะ
ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเหล่านี้ แม้จะไม่ทั้งหมดที่กล่าวมา แต่เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ควรปรึกษาแทพย์ทันทีนะคะ
จากเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง เชื่อว่าคุณแม่คงเคยได้ยินชื่อมาบ้าง ฮอร์โมนแต่ละตัวก็จะส่งผลต่างกันไปในแต่ละด้าน ฮอร์โมนจะมีผลกระทบในเรื่องใดอีกบ้าง? ในเรื่องของอารมณ์ล่ะ? ฮอร์โมนตัวไหนที่มีผลอารมณ์? “ฮอร์โมนคนท้อง อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?” เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่กังวล (แต่คุณพ่ออาจกังวลมากกว่า) ซึ่งไม่ว่าร่างกายหรืออารมณ์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องไม่เครียด พยายามทำใจสบาย ทำอารมณ์ให้แจ่มใส่อยู่เสมอ เหล่านี้จะส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ค่ะ