อาการครรภ์เป็นพิษ สามารถเกิดได้ระหว่างตั้งครรภ์แม่ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์

ในสังคมปัจจุบันหลายครอบครัวมีลูกเมื่ออายุมาก บางคนมีลูกเมื่ออายุเกิน 35 ปี เหตุเพราะต้องทำงานเก็บเงิน เตรียมพร้อมหากมีลูก ซึ่งนั่นก็หมายถึงความเสี่ยงที่ลูกไม่สมบูรณ์หรือครรภ์เป็นพิษก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เฉพาะหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีกลุ่มเดียวที่จะเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษจะพบได้เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป (ประมาณ 5-6 เดือน) แต่ระยะที่พบบ่อยที่สุดคือ 7 เดือนขึ้นไป โดยจะมีอาการหลักๆ ดังนี้

  • บวมตามร่างกาย ตั้งแต่เหนือตาตุ่มขึ้นมา กดแล้วมีรอยบุ๋ม หากบวมมากจะขึ้นที่เปลือกตา ลักษณะเวลาเราลืมตาจะเหมือนคนเพิ่งตื่นนอน ลืมตาได้ไม่เต็มที่ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (เกินสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม)
  • ความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 160/110 มม. ปรอท ขึ้นไป คุณแม่บางท่านขึ้นถึง 220/110 มม. ปรอท ก็มี มีอาการปวดศีรษะ ทานยาแก้ปวดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ตาพร่ามัว เห็นแสงไฟเป็นแสงวูบวาบหรือเป็นแฉก อาจตาบอดชั่วขณะ คลื่นไส้อาเจียน
  • จุกที่ลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก
  • ตรวจพบสารไข่ขาว (โปรตีนอัลบูมิน) ในปัสสาวะสูง ปกติแล้วเราจะไม่พบสารไข่ขาวในปัสสาวะเลย ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคไตบางชนิด แต่หากตรวจพบสารนี้ในครรภ์ที่มีค่าเท่ากับ 1+ ก็ถือว่าผิดปกติแล้วล่ะค่ะ

อาการครรภ์เป็นพิษแบ่งได้เป็น 2 ระยะ

  • ระยะก่อนชัก (Pre-eclampsia – พรีอีแคลมเซีย) ผู้ป่วยจะมีแค่อาการบวม ความดันโลหิตสูง และพบสารไข่ขาวในปัสสาวะสูง
  • ระยะชัก (Eclampsia – อีแคลมเซีย) ผู้ป่วยจะชักและอาจหมดสติได้ ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ถึงขั้นเสียชีวิตได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นในระยะก่อนชัก คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเองด้วยนะคะ เพราะจะมีอาการนำชักมาเป็นสัญญาณเตือนเราก่อน คือ ตาพร่ามัว หายใจไม่ออกเหมือนจุกที่ลิ้นปี่ ปวดศีรษะ หากเป็นมากอาจมีอาเจียนในบางราย ซึ่งถ้ามีอาการดังกล่าว ควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันทีค่ะ

ระดับความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ไม่รุนแรง

ในระดับนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่จะไม่เกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท และยังไม่พบภาวะแทรกซ้อน

ระดับรุนแรง

คุณแม่ตี่งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 160/110 มิลลิเมตรปรอท หรือมีการตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ อาทิ ไตทำงานลดลง ตับอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น

ระดับรุนแรงและมีภาวะชัก

ในระดับนี้คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการชัก เกร็ง หมดสติ บางรายอาจมีเลือดออกในสมอง หากคุณแม่เข้าระดับนี้ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด มิเช่นนั้นมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

ผู้ที่เสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • หญิงตั้งครรภ์แฝด
  • หญิงที่มีโรคประจำตัวก่อนการตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคไมเกรน เป็นต้น
  • หญิงที่มีระยะการตั้งครรภ์ห่างจากครั้งแรกมากกว่า 10 ปี
  • หญิงที่เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษในครั้งก่อน
  • หญิงที่มีพี่น้องหรือญาติสายตรงที่เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษมาก่อน เช่น มารดา พี่สาว หรือน้องสาวในท้องเดียวกัน เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยอาการครรภ์เป็นพิษ

เมื่อแพทย์สงสัยว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงในเรื่องของอาการครรภ์เป็นพิษ แพทย์จะทำการตรวจดังนี้ค่ะ

  • ตรวจร่างกาย
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจอัลตร้าซาวน์ เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

แล้ววางแผนการรักษาต่อไปค่ะ

การตรวจคัดกรองอาการครรภ์เป็นพิษ

แพทย์สามารถตรวจคัดกรองได้โดยดูจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การเจาะเลือด รวมถึงการอัลตร้าซาวน์ เพื่อดูการไหลเวียนของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูก โดยอาจมีการพิจารณาให้ยาแอสไพริน เพื่อป้องกันการเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงได้ถึง 60%

วิธีรักษาผู้ป่วยในภาวะครรภ์เป็นพิษ

หากมีอาการไม่มาก

คุณหมอจะให้พักฟื้นที่บ้าน เดินให้น้อยที่สุด พักผ่อนนอนหลับให้ได้มากที่สุด ห้ามมีเพศสัมพันธ์ เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง ฟังการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ วัดความดันอย่างสม่ำเสมอ และสังเกตอาการนำชักข้างต้น หากเริ่มมีอาการดังกล่าวให้รับไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

หากอยู่ในขั้นที่รุนแรง

โดยมีความดันมากกว่า 160/110 มม.ปรอท แพทย์จะให้นอนพักที่โรงพยาบาล ควบคุมน้ำและอาหาร พร้อมทั้งฉีดยากันชัก และฟังการเต้นของหัวใจของทารก ภายหลังการรับการรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น แพทย์จะพิจารณาทำคลอดต่อไป

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่การันตีได้ 100% แต่คุณแม่ก็สามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงได้นะคะ เช่น

  1. นอนหลับให้เพียงพอ
  2. ออกกำลังกายเบาๆ
  3. ดื่มน้ำให้มาก (ประมาณ 8 แก้วต่อวัน)
  4. งดทานอาหารรสจัด อาหารหมัก ดอง ของทอด ของมัน
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา หรือ กาแฟ
  6. เสริมแคลเซียม เพราะแคลเซียมสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนจากครรภ์เป็นพิษได้
  7. เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ทันที และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  8. หากคุณแม่รู้สึกว่ามี “อาการครรภ์ผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน

ตอนนี้ท้องได้ 5 เดือนแล้วมีตกขาวเยอะมากจะเป็นอันตรายอะไรไหม? พบกับ 9 อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ จะมีอาการอะไรบ้าง คลิกที่นี่ค่ะ

แม้ว่าในช่วงก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่จะมีร่างกายที่แข็งแรงก็จริง แต่เมื่ออยู่ในช่วงตั้งครรภ์สุขภาพของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปมาก คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารคุณแม่ควรหาข้อมูลด้วยนะคะว่า “ครรภ์เป็นพิษห้ามกินอะไร?” เพื่อที่จะไม่ไปกระตุ้นให้มีการคลอดก่อนกำหนด และถ้าหากไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นคืออะไร ควรไปปรึกษาแพทย์ด่วนค่ะ


ครรภ์เป็นพิษห้ามกินอะไร? อาการครรภ์เป็นพิษ หากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาหารที่ควรเลี่ยงเราได้รวบรวมไว้แล้ว ที่นี่ คลิกเลย

ข้อมูลอ้างอิง
Bangkokhospital.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP