คุณแม่ทุกท่านได้ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 8 ท้องของคุณแม่ทุกคนได้ขยายใหญ่มากขึ้น ทารกก็ดิ้นจนคุณแม่สัมผัสได้มาก จากการที่ทารกมีขนาดร่างกายที่สมบูรณ์ขึ้น แรงก็มากขึ้นเช่นกัน การลุกการเดินก็ต้องมีจังหวะที่เหมาะสม เพราะขนาดท้องและน้ำหนัก แต่คุณแม่ใกล้คลอดในอีก 1 เดือนจะทราบหรือไม่ทราบนักว่าอาการของตัวคุณแม่ขณะนี้จะมีอาการอะไรบ้าง แล้วช่วงเดือนนี้จะต้องเตรียมตัวอย่างไร และอาหารทานสิ่งใดจะดีหรือไม่ดี
สารบัญ
อาการที่คุณแม่จะพบ
การหายใจ
อาการที่พบเจอจากเดือนก่อนหน้า อาการนี้จะยังคงอยู่กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น มดลูกจะมีการบีบตัวมากขึ้น ทำให้ไปบดเบียดกระบังลม ทำให้การหายใจติดขัด หายใจไม่เต็มที่ คุณแม่ควรนั่งท่าที่สบายเหมาะสม นั่งตัวตรง หายใจช้าๆ และลึกๆ จะช่วยได้
ท้องแข็ง
เกิดจากมดลูกที่บีบตัว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของคนตั้งครรภ์ แต่หากมีอาการท้องแข็งและปวดเป็นเวลานาน ทั้งที่ยังไม่ครบกำหนดคลอด อาจจะมีการคลอดก่อนกำหนดได้
เจ็บอวัยวะเพศ
หรืออุ้มเชิงกรานขยาย ซึ่งทารกกลับหัว ทำให้หัวของทารกไปกดทับเส้นประสาทบริเวณเชิงกรานคุณแม่จึงมีอาการปวดขึ้นมา ควรลดการเดินลง นั่งพัก หรือนอนพักผ่อน หากยังมีอาการอยู่ควรพบแพทย์
เท้าบวม
เนื่องจากทารกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มดลูกอาจไปกดทับเส้นเลือด การไหลเวียนของเลือดจึงช้าลง เลือดอาจครั่งบริเวณเข่า จึงเกิดอาการบวม แต่หากอาการบวมที่มือ รอบดวงตา หรือใบหน้า อาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของครรภ์เป็นพิษได้ ควรเข้าพบแพทย์ด่วน
น้ำหนักตัว
ทารกในช่วงนี้มีขนาดตัวประมาณ 16–18 นิ้ว เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าน้ำหนักลูกก็ย่อมมีผลกับน้ำหนักแม่ไปด้วย และเพราะขนาดตัวทารกใหญ่ขึ้นมดลูกจึงกดทับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งหากทารกดิ้นแรงคุณแม่จะปัสสาวะบ่อย หรืออาจเล็ดราดได้ ฉะนั้นคุณแม่จึงไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
คุณแม่จะเห็นได้ว่าอาการของครรภ์เดือนที่ 8 จะไม่ต่างจากเดือน 7 เท่าไรนัก แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจไป คุณแม่ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนินๆ นอกจากจะเตรียมเสื้อผ้าของใช้ของลูกที่กำลังจะคลอดแล้ว คุณแม่ควรเตรียมอะไรบ้าง หากเกิดว่ามีช่วงที่อาจเกิดอาการคลอดก่อนกำหนด
- ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน โลชั่น เป็นต้น
- เสื้อผ้า ได้แก่ ชุดชั้นในสำหรับในนมลูก กางเกงชั้นใน เสื้อผ้า 1 ชุด
- ของใช้ของลูก เช่น เสื้อผ้า ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าห่อตัว ผ้าอ้อม หมวก ขวดนม
- บัตรประจำตัว เอกสารบันทึกการตั้งครรภ์ หรือบัตรที่จำเป็นอื่นๆ
สิ่งของเหล่านี้คุณแม่อาจเตรียมไว้ตั้งแต่เดือนที่ 7 ก็ได้ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และควรจะระบุจุดว่างของกระเป๋าเพื่อให้คุณพ่อ หรือบุคคลอื่นๆ ทราบไว้ล่วงหน้า เพราะถึงเวลาอาจจะวุ่นวายได้
สิ่งที่คุณแม่ต้องดูแลตัวเองไม่ขาดคือ ระวังอุบัติเหตุ หรือการกระทบแรงๆ กับร่างกาย หากมีอาการเวียนศีรษะไม่ควรฝืนร่ากาย และที่สำคัญอาหารที่คุณแม่ทาน ยังมีผลกับทารกด้วย คุณแม่ควรทานอาหารที่ให้ประโยชน์ และมื้ออาหารให้ทานแต่พอควร แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ จะได้ไม่พบกับอาการท้องอืด จุดแน่นได้ ทั้งนี้อาหารที่ควรทานไม่ควรทานมี ดังนี้
อาหารที่คุณแม่ควรทาน
อาหารที่ได้วิตามิน แร่ธาตุ
ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้ ถั่ว ปลา ไข่แดง เนื้อไม่ติดมัน ตับ
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
อาหารที่ให้โปรตีน เช่น ถั่ว ไข่ขาว เต้าหู้ ปลา เนื้อส่วนอกไก่ นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง
อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว มันฝรั่ง ธัญพืช มันฝรั่ง ตระกูลถั่ว
อาหารที่ให้ไขมัน เช่น ไข่ ถั่ว ปลา
สารอาหารมีไฟเบอร์สูง
ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวโพด ถั่วดำ อะโวคาโด ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น
น้ำ
น้ำเปล่าต้มสุก ควรดื่มให้ได้วันละ 8 แก้ว หรือน้ำผักผลไม้
อาหารที่คุณแม่ไม่ควรทาน
เครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์
อาทิ กาแฟ โกโก้ น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาหารไม่สุก
เช่น เนื้อกึ่งสุกกึ่งดิบ ปลาสด ไข่กึ่งสุกกึ่งดิบ ควรปรุงให้สุกเสมอ
อาหารสำเร็จ
อาทิเช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป เป็นต้น และอาหารค้างคืน
ขนมหวาน
ทานได้แต่ไม่ควรทานมาก หรือทานทุกวัน ควรเลือกทานผลไม้แทน ผลไม้บ้างชนิดก็ให้ความหวานเช่นกัน
ใกล้วันที่คุณแม่รอคอยขึ้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ให้มากขึ้น หากมีอาการให้หยุดพักนิ่งๆ เพื่อตรวจอาการเอง การทานอาหารมื้ออาหารแบ่งได้วันละ 4-6 มื้อ คุณแม่ลองจัดสรรเวลาทานที่พอเหมาะ อาการท้องอืดจะได้ไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้อายุครรภ์ขณะนี้ยังออกกำลังกายได้ แต่ไม่ควรหักโหมเกินไป ให้ออกเท่าที่ทำได้ และอยู่ในความดูแลของผู้รู้ เท่านี้คุณแม่นอกจากจะมีความพร้อมแล้ว ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงไปตลอดวันหลังคลอดเลยได้ค่ะ