พัฒนาการของทารกในครรภ์ สัปดาห์ 1-40 แต่ละสัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

พัฒนาการตั้งครรภ์
JESSIE MUM

เชื่อว่าคุณแม่หลายคนคงพอทราบกันมาบ้างใช่ไหมคะว่าเมื่อเรามีลูกน้อยในท้อง การเปลี่ยนแปลงย่อมขึ้นร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนไป ฮอร์โมนในร่างกายก็เปลี่ยนไป ลูกน้อยก็จะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้โน้ตนำเอาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณแม่เอาไว้แล้วค่ะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-40 เราไปดูกันเลยค่ะว่าพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มีอะไรบ้าง

สารบัญ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 และ 2

สัปดาห์นี้คุณแม่จะมีประจำเดือนเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์นั้นจะนับสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์โดยนับจากวันแรกหลังจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งที่อยู่ของไข่ภายในรังไข่หรือฟอลลิเคิล (follicle) จะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการตกไข่ อาการนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 14 วันหลังจากมีประจำเดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 3

หลังจากไข่ตก (หรือก็คือการที่ไข่ของผู้หญิงถูกปล่อยออกมาเพื่อการปฏิสนธิ) และเกิดการปฏิสนธิ ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โครโมโซมของคุณพ่อคุณแม่จะทำงานโดยการกำหนดเพศ สีตา สีผม รวมถึงลักษณะอื่น ๆ ของทารกค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4

หลังจากการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะเริ่มออกเดินทางผ่านท่อนำไข่ และไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูก เพื่อรับสารอาหารจากคุณแม่ต่อไป มาตอนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 1/25 นิ้ว ซึ่งจะมาพร้อม ๆ กับพัฒนาการของหัวใจ ดวงตา ขา แขน สมอง และไขสันหลัง

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5

มาสัปดาห์นี้หากคุณแม่ยังนึกไม่ออกว่าทารกในครรภ์นั้นมีขนาดเท่าไหร่ ให้ดูที่ปลายปากกาค่ะ ซึ่งพัฒนาการของทารกในสัปดาห์นี้ก็คือ ตัวอ่อนจะแยกเป็นสามชั้นอย่างชัดเจน เริ่มจาก

  • เนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) คือส่วนของเนื้อเยื่อที่จะพัฒนาไปเป็นผิวหนังและระบบประสาทของทารก
  • เนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) ส่วนนี้จะพัฒนาไปเป็นกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบสืบพันธุ์
  • เนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) จะพัฒนาไปเป็นเยื่อบุชั้นในของระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจในส่วนของหลอดลม ปอด ขั้วปอด ตับ กระเพาะปัสสาวะ และอื่น ๆ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 6

สัปดาห์นี้คุณแม่จะเริ่มรับรู้ถึงการเต้นของหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ได้แล้วค่ะจากการอัลตร้าซาวน์ โดยหัวใจของลูกน้อยจะเต้นอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ประมาณ 150 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ประมาณ 2 เท่า และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น หัวใจของลูกน้อยก็จะเต้นช้าลง

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7

สำหรับสัปดาห์นี้ แขนและขาของลูกน้อยในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการดีขึ้น เติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของใบหน้า หู ฟัน และลิ้นก็เริ่มมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นทีละน้อยเช่นกันค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 8

จากตัวอ่อนจะเริ่มมีพัฒนาการที่เติบโตมากขึ้นจนกลายเป็นทารกตัวน้อย ๆ แล้วค่ะ เริ่มมีการสร้างเปลือกตา หัวใจ ต่อมรับรส รวมไปถึงกระดูกก็จะมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสัปดาห์นี้ทารกน้อย ๆ นี้จะมีความยาวเพิ่มขึ้นค่ะ โดยรวมแล้วประมาณ 1.6 เซนติเมตร

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 9

มาสัปดาห์นี้ทารกจะเริ่มมีโครงสร้างหลัก ๆ ที่สมบูรณ์มากขึ้น อาทิ นิ้วมือและนิ้วเท้าก็เริ่มงอกออกมา ในขณะที่สมองและศีรษะยังคงมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าคุณแม่ไปอัลตร้าซาวน์ก็จะพบว่าร่างกายของทารกจะเริ่มมีการเคลื่อนไหว ขยับแขน ขยับขาอยู่ภายในท้องของคุณแม่ได้แล้ว แต่คุณแม่ยังไม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ได้จากภายนอกนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 10

ถ้าคุณแม่อยากทราบเพศของลูกน้อย ช่วงนี้แหละค่ะที่คุณแม่จะทราบได้แล้วจากการอัลตร้าซาวน์นะคะ แต่ในบางรายก็ยังอาจเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่สิ่งที่ชัดเจนเลยก็คือ เสียงหัวใจของลูกน้อยค่ะ คุณแม่จะได้ยินผ่านเครื่องช่วยฟังของคุณหมอ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11

เพราะลูกน้อยในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์จะมีความยาวเพิ่มขึ้นโดยรวมแล้วประมาณ 2 นิ้ว โดยที่ส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักและความยาวจะเป็นส่วนของศีรษะของลูกน้อย นอกจากนี้จะเริ่มมองเห็นโครงสร้างของใบหน้าที่เด่นชัดขึ้น สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คุณแม่จะสามารถรับการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้จากอาการสะอึกผ่านการอัลตร้าซาวน์นะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12

มาถึงสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสแรกกันแล้วค่ะ ช่วงนี้ลูกน้อยจะมีความยาวโดยรวมประมาณ 3 นิ้ว และจะเริ่มมีพัฒนาการในด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ด้านการขับถ่ายของเสียจากไต เสียง รวมถึงต่อมรับรส ที่สำคัญลูกน้อยเริ่มมีการขยับนิ้วมือ กำมือ และแบมือได้แล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13

สัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 2 ช่วงนี้โอกาสที่คุณแม่จะเสี่ยงแท้งนั้นก็ลดน้อยลงแล้วล่ะค่ะ เหลือเพียง 1-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ไม่ต้องเครียดหรือกังวลมากไปนะคะ ลูกน้อยในครรภ์ก็จะเริ่มได้ยินเสียงของคุณแม่แล้วค่ะ ส่วนคุณแม่เองมดลูกก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด บางรายอาจเจ็บที่ชายโครงบ้างบางครั้ง

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 14

ลูกน้อยในครรภ์เริ่มควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้บ้างแล้ว เริ่มมีการแสดงออกทางสีหน้า ไม่ว่าจะเป็นการยิ้มหรือการขมวดคิ้ว รวมถึงการขยับ แขน ขา การดูดนิ้วมือ และการขยับเท้า ในขณะที่ผมก็เริ่มงอกออกมาให้เห็น คุณแม่เองก็จะเริ่มกินเก่งขึ้น อาการแพ้ท้องน้อยลง ช่วงนี้หากต้องการออกกำลังกายก็สามารถทำได้นะคะ แต่เบา ๆ อย่างโยคะหรือพิลาทิสนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 15

ลูกน้อยสะอึกได้แล้วนะคะคุณแม่ ซึ่งอาการสะอึกนี้จะเกิดขึ้นในครรภ์ก่อนการที่ลูกจะหายใจได้เสียอีกค่ะ ร่างกายโดยรวมของลูกน้อยเริ่มชัดเจนและสมบูรณ์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ แต่คุณแม่อาจเป็นหวัดได้ง่าย เพราะภูมิคุ้มกันลดลง ต้องดูแลสุขภาพดี ๆ นะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 16

มาสัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์จะมีความยาวโดยรวมประมาณ 4-5 นิ้ว กระดูกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อย เปลือกตาและดวงตาของลูกสามารถจับแสงได้แล้วค่ะ เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกน้อยสามารถใช้ไฟจากไฟฉาย ส่องผ่านแบบปิด-เปิด ผ่านผนังหน้าท้องคุณแม่ได้แล้วนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17

ความยาวของลูกน้อยในครรภ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ โดยรวมประมาณ 5 นิ้วครึ่ง เยื่อไมอีลินที่มีลักษณะเหมือนเปลือกหุ้มเส้นใยประสาทจะถูกสร้างขึ้น เป็นส่วนสำคัญมากสำหรับระบบประสาทของทารก คุณแม่คนไหนที่ยังสวมส้นสูงอยู่ วางพักไว้ก่อนค่ะ เปลี่ยนมาใส่ส้นแบนแทนนะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18

พัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อยยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหู ลูกน้อยจะได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากขึ้น ดวงตาก็จะสามารถตรวจจับแสงได้ดียิ่งเช่นกัน คุณแม่ก็จะสามารถรับรู้ว่าลูกน้อยกำลังดิ้นก็ช่วงนี้แหละค่ะ นอกจากนี้ ความบวมก็เริ่มถามหา แต่ก็เป็นเรื่องปกตินะคะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 19

ไขทารกแรกเกิด (vernix caseosa) จะเริ่มมาปกคลุมร่างกาย เพื่อเป็นเกราะป้องกันรอยขีดข่วนให้กับทารก ที่สำคัญ พัฒนาการด้านการได้ยินของลูกน้อยจะยิ่งชัดมากขึ้นไปอีก ดังนั้น คุณพ่อคุณอย่าเผลอดุหรือเผลอสบถออกมานะคะ ลูกได้ยินนะจ๊ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 20

ช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มมีขี้เทา (mecomium) แล้วค่ะ โดยขี้เทานี้เกิดจากการกลืนน้ำคร่ำ ลงไปรวมกับน้ำย่อยและน้ำดี จึงเกิดเป็นก้อนเหนียวข้นสีดำ สัปดาห์นี้ทารกบางคนลืมตาได้แล้วนะคะ ส่วนคุณแม่ช่วงนี้จะเริ่มหลับไม่ค่อยสนิท เพราะยอดมดลูกเคลื่อนมาอยู่ที่ระดับเหนือสะดือจึงทำให้คุณแม่อึดอัดอยู่สักหน่อย

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31

ดวงตาของลูกน้อยสามารถตรวจจับแสงสว่างได้ดีมากขึ้น รวมถึงเรื่องของการโฟกัสก็ทำได้ดีมากขึ้นเช่นกันค่ะ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำงานได้ดี อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายยังคงมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนคุณแม่จะปัสสาวะบ่อย ในบางครั้งจู่ ๆ อาจมีอาการปวดหัวขึ้นมา เป็น ๆ หาย ๆ อาจมีอาการขี้ลืม เนื่องจากการหดตัวของเซลล์สมองแต่จะกลับมาเป็นปกติหลังจากคลอดลูกน้อยแล้วค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32

ระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น มีการพัฒนาที่เพียงพอต่อความสามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้เอง ระบบการย่อยอาหารก็พร้อมที่จะทำงานแล้วเช่นกัน กลับมาดูฝั่งคุณแม่กัน คุณแม่จะเริ่มมีอาการจุกแน่นกลางหน้าอก เนื่องจากถูกมดลูกดันขึ้นไปอยู่ใกล้กับกระบังลม ปวดหลังมากขึ้น ปวดอุ้งเชิงกราน เริ่มเจ็บหน้าอก ในบางครั้งอาจมีน้ำสีเหลืองซึมออกมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นส่วนของหัวน้ำนม (Colostrum) ที่เป็นส่วนที่ดีที่สุดของน้ำนมแม่

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33

ลูกน้อยสามารถแยกได้แล้วค่ะ ระหว่างกลางวันและกลางคืนโดยสังเกตได้จากโพรงมดลูก รวมถึงสามรถกระพริบตาเมื่อเจอแสงได้แล้ว ช่วงนี้ทารกเริ่มฝันได้แล้วนะคะ ขณะที่คุณแม่จะเริ่มนอนไม่หลับมากขึ้น ไม่สบายตัว ปวดหัว วิงเวียนศีรษะบ่อย ๆ เหนื่อยง่าย หายใจถี่ขึ้น เป็นคนขี้ลืม จนบางครั้งก็ซุ่มซ่าม

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34

เล็บมือและเล็บเท้าลูกน้อยเริ่มงอกมากขึ้น ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มทำงานได้ดี ปอดของลูกน้อยก็เริ่มพัฒนาใกล้จะสมบูรณ์เต็มที่ ส่วนคุณแม่ยังคงเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง ปัสสาวะเล็ดบ่อย บางครั้งรู้สึกได้ว่ายอดมดลูกมีอาการเกร็งและคลายเป็นช่วง ๆ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35

ลูกน้อยจะดิ้นน้อยแต่แรงขึ้นเรื่อย ๆ อวัยวะภายในยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตับและไต เริ่มพร้อมที่จะกำจัดของเสียในร่างกายได้แล้ว มาดูคุณแม่บ้างค่ะ ช่วงนี้มดลูกของคุณแม่จะมีการขยายตัวมากขึ้นไปจนถึงซี่โครง มีเลือดออกตามไรฟัน มีผื่นคันตามตัว บางครั้งมดลูกมีการหดตัว หรือที่เราคุ้นกันดีว่า “เจ็บท้องหลอก

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36

ลูกน้อยเริ่มผลัดผมได้แล้วและมีการปรับตำแหน่งของตัวเองโดยเคลื่อนตัวไปยังอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ ระบบการย่อยอาหารยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับคุณแม่ในช่วงนี้จะมีอาการปวดหน่วง ๆ มากขึ้น มีอาการท้องอืดและท้องผูกมากขึ้น บางรายอาจมีเลือดออกเล็กน้อยบริเวณช่องคลอด

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37

ตอนนี้ลูกน้อยกลับหัวมาอยู่ที่อุ้งเชิงกรานแล้วค่ะ อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของทารกเตรียมพร้อมที่จะทำงานแล้วเช่นกัน ในขณะที่คุณแม่จะมีอาการตกขาวมากขึ้น อาจมีมูกเลือดออกมาบริเวณช่องคลอดแสดงว่าลูกน้อยอยากจะลืมตามาดูโลกแล้วค่ะ รวมถึงคุณแม่จะมีอาการเจ็บเตือนบ่อย ๆ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38

สัปดาห์นี้ลูกน้อยจะมีความยาวโดยรวมประมาณ 18-20 นิ้ว อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มพัฒนาได้ดีเตรียมพร้อมทำงานแล้ว ยกเว้นปอดที่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่ เล็บของลูกน้อยงอกยาวเต็มที่แล้ว เซลล์ผิวหนังของลูกน้อยเริ่มหลุดออกมาปนในน้ำคร่ำ ส่วนคุณแม่…อาจมีอาการปวดหัวขั้นรุนแรง ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน แต่นี้คือ อาการเริ่มต้นของครรภ์เป็นพิษ ควรพบคุณหมอด่วนค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39

กะโหลกศีรษะของลูกน้อยเริ่มเข้ามาเกยที่กระดูกเชิงกรานแล้ว ใกล้คลอดเต็มที ในขณะที่คุณแม่ยังคงมีอาการเจ็บหลอกที่ถี่ขึ้น เพราะมดลูกจะบีบรัดตัวเป็นช่วง ๆ ทั้งนี้ ให้คุณแม่นับและจดบันทึกจำนวนครั้งและระยะเวลาที่เจ็บนี้ด้วยนะคะ ว่าแต่ละครั้งเจ็บนานกี่นาที เพื่อจะได้แจ้งคุณหมอค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40

ลูกน้อยอยากออกมาเจอหน้าคุณพ่อคุณแม่เต็มที่แล้วค่ะ คุณพ่อคุณแม่ก็เช่นกันเนอะ ช่วงนี้สมองของลูกน้อยจะมีน้ำหนักประมาณ 340 กรัม ช่วงนี้ถ้าคุณแม่รู้สึกว่ามดลูกเปิดกว้างและเหมือนมีน้ำไหลออกออกมา แสดงว่าถุงน้ำคร่ำแตก ซึ่งเป็นสัญญาณบอกคุณแม่ว่าได้เวลาคลอดแล้วล่ะค่ะ

อุแว๊ ๆ” สิ้นสุดการรอคอย…หลังจากนี้คุณแม่ยิ่งต้องดูแลรักษาร่างกายและจิตใจให้ดีนะคะ เพราะยังมีอีกหนึ่งชีวิตน้อย ๆ ที่รอความรักและการดูแลจากคุณแม่ค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP