อาหารบำรุงครรภ์ และตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 ถึง สัปดาห์ที่ 4

พัฒนาการตั้งครรภ์
JESSIE MUM

สำหรับคู่แต่งงานที่ต้องการมีลูก แต่ว่าไม่แน่ใจว่าอาการแบบไหนที่เรียกว่าแพ้ท้อง เพราะอาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดกับทุกคน ดังนั้น การตั้งครรภ์ในสัปดาห์แรกร่างกายของคุณแม่จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น จะมีอาการอย่างไร รวมไปถึงลูกน้อยด้วย วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลมาฝากค่ะ แถมด้วยอาหารที่บำรุงครรภ์ในแต่ละช่วง จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยค่ะ

อาการแพ้ท้อง

การแพ้ท้อง เกิดจากระดับฮอร์โมนที่มีชื่อว่า “Human Chorionic Gonadotropin – HCG” ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้คุณแม่รู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวลง่าย เครียดง่าย จิตใจอ่อนไหว
  • ประสาทการรับกลิ่นไวมากขึ้น เช่น เหม็นกลิ่นอาหาร และกลิ่นต่างๆ
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายถ้าเป็นมากก็จะอ่อนเพลีย
  • อยากทานอาหารแปลกๆ ซ้ำๆ และอาจเบื่ออาหารที่เคยทานแบบเดิมๆ

อายุครรภ์ 1 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

ในสัปดาห์แรกนี้ คุณแม่ที่ไม่ได้มีการวางแผนการตั้งครรภ์มาก่อน อาจจะไม่ค่อยได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่
แต่หากจะมีการวางแผน ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อเตรียมตัว เช่น งดแอลกอฮอล์ งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น และที่สำคัญคุณหมอจะให้คุณแม่ทานโฟลิคต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 สัปดาห์

โดยทั่วไปแล้วในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางท่านอาจจะยังไม่ค่อยทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณแม่สังเกตตัวเองว่าประจำเดือนขาดไปประมาณ 12 – 16 วัน (จะรู้เร็วถ้าคุณแม่เป็นคนที่ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือน) ถ้าแบบนี้เป็นไปได้ว่าคุณแม่กำลังจะมีข่าวดีค่ะ นอกจากนี้ให้คุณแม่สังเกตอาการอื่นร่วมด้วยนะคะ อาทิ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรือคัดตึงเต้านม เป็นต้น

ถ้าหากสงสัยว่าตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาทดสอบได้ค่ะ แนะนำให้ซื้อซัก 3 ยี่ห้อ เพื่อความแม่นยำนะคะ

แม่โน้ต

ของแม่โน้ตก็ใช้ 3 ยี่ห้อเหมือนกันค่ะ ขึ้น 2 ขีด ทั้ง 3 ยี่ห้อเลย วันรุ่งขึ้นไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์เลยค่ะ

อายุครรภ์ 2 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์

  • การตกไข่โดยมากมักเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป 14 วัน ซึ่งถ้าคุณแม่มีรอบเดือนอยู่ที่ 28 วัน วันที่ 14 น่าจะเป็นวันที่ไข่ตก ซึ่งน่าจะมีโอกาสตั้งท้องได้มากที่สุด
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย ขึ้น ๆ ลง ๆ
    คุณแม่บางท่านอาจเริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน จนคนรอบข้างรู้สึกได้ว่าคุณแม่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว
แม่โน้ต

พ่อเหมี่ยวสงสัยว่าแม่โน้ตตั้งครรภ์ก็เพราะอารมณ์แปรปรวนนี่แหละค่ะ จึงซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจ ถึงได้รู้ว่าแม่โน้ตตั้งครรภ์ อารมณ์แปรปรวนขนาดพ่อเหมี่ยวรู้สึกได้^^

  • เริ่มคัดตึงเต้านม
    เป็นอาการที่คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ คือ มีอาการคัดเต้านมเหมือนช่วงเวลาก่อนที่จะมีประจำเดือนเลยค่ะ และหัวนมก็จะค่อนข้างเปราะบาง อ่อนไหว และไวต่อความรู้สึกมากขึ้น
  • มีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด
    คุณแม่อาจพบว่ามีเลือดไหลออกมาเล็กน้อยจากช่องคลอด บางคนเรียกอาการอย่างนี้ว่า “เป็นเลือดล้างหน้าเด็ก” แต่ความจริงแล้วมันเกิดจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วกำลังฝังตัวเข้าไปที่ผนังมดลูก จึงอาจทำให้มีเลือดซึมออกมาได้ แต่เลือดที่ไหลออกมาเล็กน้อยนี้จะมีลักษณะจางกว่าและปริมาณน้อยกว่าประจำเดือน
  • ปวดเกร็งมดลูก
    อาการนี้จะมีลักษณะคล้ายช่วงที่จะมีประจำเดือนค่ะ เพราะเมื่อตั้งครรภ์นั้นในมดลูกจะมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมากขึ้น มดลูกหนักขึ้น จึงทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อยมากขึ้นนั่นเอง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 สัปดาห์

  • ไข่ที่สุกจะหลุดออกจากรังไข่และปากแตรจะดูดเข้าสู่ท่อนำไข่ ไข่จะเดินทางไปตามท่อรังไข่ไปยังโพรงมดลูก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 12 – 24 ชั่วโมง
  • ตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดก็จะว่ายผ่านปากมดลูกเข้าไปในมดลูกและเข้าไปถึงท่อรังไข่โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาทีนับจากมีการปล่อยอสุจิออกมา แต่…กว่าที่อสุจิจะเตรียมการเจาะเข้าไปปฏิสนธิจนเสร็จสิ้นก็จะใช้เวลาอีกกว่า 6 ชั่วโมง
  • การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นได้ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนไขจะตกไปจนถึง 24 ชั่วโมงหลังไข่ตกเท่านั้น เพราะอสุจิจะมีชีวิตรอดอยู่ในภายในท่อรังไข่ได้ประมาณ 72 ชั่วโมง ส่วนไข่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

อายุครรภ์ 3 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์

  • ในช่วงนี้คุณแม่บางท่านก็อาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์นะคะ เพราะในบางครั้งไข่ที่ปฏิสนธิแล้วกำลังเดินทางไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก อาจทำให้มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเล็กน้อย จะมีแบบนี้อยู่ประมาณ 1 – 2 วัน คุณแม่บางท่านอาจเข้าใจไปว่าเป็นประจำเดือนค่ะ
  • เยื่อบุโพรงมดลูกคุณแม่จะหนาขึ้น เนื่องจากมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงในบริเวณนี้มากขึ้น ผนวกกับฮอร์โมนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 สัปดาห์

  • ในสัปดาห์นี้จะเริ่มกำหนดเพศจากโครโมโซม 2 แท่ง จาก 46 แท่ง โครโมโซมทั้งสองนี้มาจากไข่และอสุจิอย่างละ 1 แท่ง โดยไข่เป็นโครโมโซม X และอสุจิมีทั้งโครโมโซม X และ Y หากอสุจิโครโมโซม X ผสมกับไข่ จะได้ลูกสาว แต่ถ้าอสุจิโครโมโซม Y ผสมกับไข่จะได้ลูกชาย
  • ไข่และอสุจิที่มีการปฏิสนธิกันเรียบร้อยแล้วก็จะกลายเป็นเซลล์เล็ก ๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเราจะเรียกว่า Zygote โดยจะเริ่มมีการแบ่งขยายเซลล์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลายเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่า Embryo หลังจากนั้นก็จะใช้เวลาเดินทางไปยังโพรงมดลูกใน 36 ชั่วโมง และไปฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์

  • ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 นี้ รกจะเริ่มสร้างฮอร์โมนของการตั้งครรภ์หรือ Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะทำให้รังไข่หยุดการตกไข่ชั่วคราว ซึ่งรังไข่จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ช่วยหล่อเลี้ยงการตั้งครรภ์แทน โดยฮอร์โมนนี้สามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือดและปัสสาวะ ดังนั้น ช่วงนี้คุณแม่จึงสามารถใชชุดตรวจสอยการตั้งครรภ์ได้นั่นเอง
  • ฮอร์โมน HCG จะไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้น ส่งผลให้โพรงมดลูกหนาขึ้น มีเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์มากขึ้น และเต้านมของคุณแม่ก็จะคัดมากขึ้น จึงเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงช่วงแรก ๆ ของแม่ตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 4 สัปดาห์

  • ช่วงนี้ถุงน้ำคร่ำที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ไปเลี้ยงดู สร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อส่งสารอาหารสำคัญต่าง ๆ รวมถึงออกซิเจนในทารกในครรภ์แต่เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ นะคะ ต่อมาเมื่อรกมีการพัฒนามากขึ้นก็จะทำหน้าที่นี้ต่อไป
  • ทารกในครรภ์ไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกเรียบร้อย และยังมีการแบ่งของเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ จนในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 4 นี้ ก็จะกลายเป็นกลุ่มเซลล์จำนวนมากที่รวมกันเป็นแท่งยาว
  • ตัวอ่อนในสัปดาห์นี้จะมีขนาดเพียง ¼ นิ้วเท่านั้น ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชนิด ชนิดแรกจะพัฒนาต่อไปเป็นผม เล็บ หูส่วนใน เลนส์ตา ชนิดที่สองจะพัฒนาต่อไปเป็นระบประสาท จอตา ต่อมใต้สมอง กล้ามเนื้อ กระดูก และเซลล์เลือด เซลล์น้ำเหลือง และชนิดที่สามจะพัฒนาไปเป็นปอด หลอดลม ระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

อาหารบำรุงครรภ์ 1 – 4 สัปดาห์

แน่นอนเลยค่ะการเตรียมตัวเป็นแม่ ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรพิถีพิถันในการเลือกกินอาหาร ดังนี้

  • เน้นกินโฟเลต ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตคือ จำพวกเนื้อสัตว์ ผักใบเขียว โฟเลตจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในเรื่องความปกติของพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทต่าง ๆ ของทารกในครรภ์
  • เน้นกินธาตุเหล็ก เพราะในธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงนี้เองจะเป็นตัวที่นำออกซิเจนจากปอดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ป้องกันภาวะโลหิตจาง อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่ ธัญพืช ถั่วตระกูลต่าง ๆ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียว และเนื้อสัตว์

ในช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1 – 4 นี้ หากคุณแม่รู้แล้วว่าตัวเองกำลังจะมีลูกน้อย สิ่งสำคัญที่สุดคือ การต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่รองเท้า อาหารการกิน และการพักผ่อน เพื่อให้ลูกน้อยได้เจริญเติบอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์นะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP