อาหารบำรุงครรภ์ และตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 5 ถึง สัปดาห์ที่ 8

อาหารบำรุงครรภ์ และตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 5 – 8
พัฒนาการตั้งครรภ์

เข้าสัปดาห์ที่ 5 แล้ว คุณแม่และลูกจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อย่าช้า ไปดูกันเลยค่ะ

อายุครรภ์ 5 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์

  • คุณแม่จะเริ่มเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก จมูกไวขึ้น ปัสสาวะบ่อย และยังมีอารมณ์แปรปรวยอยู่
  • บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาเจียน อยากกินแต่อาหารแปลก ๆ
  • ช่วงนี้หากประจำเดือนขาด คาดว่าตั้งครรภ์แล้วใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์หากผลเป็นลบ ค่อยเว้นระยะห่างซัก 2-3 วันแล้วค่อยทดสอบใหม่ หากเป็นบวกก็เป็นไปได้มากว่าตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ต้องคอยระวังเรื่องอาการแทรกซ้อนที่อาจขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้แท้ง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและสบายใจ ให้คุณแม่ไปพบหมอเพื่อตรวจอีกครั้งแล้วฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ คุณหมอก็จะดูแลในทุกเรื่องรวมไปถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 5 สัปดาห์

  • ในสัปดาห์นี้ลูกเริ่มมีรูปร่างเกือบเหมือนท่อนเหล็กยกน้ำหนัก มีร่องตามหลังซึ่งจะปิดสนิทและกลายเป็นท่อของระบบประสาท
  • เกิดเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “ปล้อง” ขึ้นทั้ง 2 ด้านของท่อนี้ ซึ่งภายหลังจะเติบโตเป็นกล้ามเนื้อและโครงสร้างอื่น ๆ อีกทั้งจะเริ่มเกิดรอยโป่งขึ้น เพื่อเป็นที่อยู่ของหัวใจและหลอดเลือดขั้นต้น ในขั้นนี้ถุงไข่แดงจะทำหน้าที่ให้อาหาร ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ และเลือด

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์

  • คุณแม่เองจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
  • ยังคงมีอาการแพ้ท้องอยู่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่าย บางรายอาจเป็นลมได้ง่าย เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้ามีอาการเช่นนี้บ่อย ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์นะคะ โดยเฉพาะหากคุณแม่ตั้งครรภ์มาแล้ว 6 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยาวของลูกอยู่ที่ 2-4 มม.
  • ถุงน้ำคร่ำมีปริมาตรประมาณ 2.5 มล.
  • หัวใจของลูกยังมีลักษณะยาวเป็นท่อ แต่ก็เริ่มเต้นแล้วประมาณ 180 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเร็วกว่าคุณแม่ 2 เท่า
  • เริ่มมีพัฒนาการของไขสันหลัง สมองเติบโตอยู่ภายในศีรษะ แขนและขาเริ่มเป็นปุ่มให้เห็น ลำตัวจะโค้งงอ ตับ ตับอ่อน ต่อมไทรอยด์ ปอด คอ และขากรรไกรเริ่มพัฒนา

อายุครรภ์ 7 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์

  • ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มหงุดหงิดขึ้น เพราะไม่สบายเต้านม อาจรู้สึกชาในบางครั้ง อาจเหนื่อยง่ายขึ้นทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายอะไรมาก ทั้งนี้เป็นเพราะฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนสูงขึ้นนั่นเอง
  • เริ่มปัสสาวะบ่อยขึ้น มีน้ำลายมากขึ้น และมีเมือกออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น
  • ขนาดของมดลูกขยายตัวเป็นสองเท่า จึงทำให้คุณแม่รู้สึกหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย ในบางครั้งอาจมีเจ็บบริเวณปีกมดลูก เนื่องจากมดลูกโตขึ้น ปีกมดลูกจึงถูกดึงรั้งนั่นเองค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 สัปดาห์

  • ลูกจะเริ่มยาวขึ้นอยู่ที่ 4-5 มม.
  • เริ่มมีลักษณะของใบหน้าให้เห็น ตาเริ่มเป็นแผ่น รูจมูกเริ่มเปิดเล็กน้อย ปากเป็นรอยเว้า ปุ่มแขนและขาเริ่มยาวออกมามากขึ้น เห็นข้อศอก ไหล่ เท้า และมือ
  • สมองแบ่งออกเป็นส่วน ๆ
  • ตับของทารกในครรภ์เริ่มผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่ใช้สำหรับการช่วยย่อยอาหาร ส่วนลำไส้ก็เริ่มก่อตัวเป็นโพรง เพื่อทำการส่งถ่ายเลือดและออกซิเจน รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ ไปเลี้ยงร่างกายของทารกเอง

อายุครรภ์ 8 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์

  • บางรายยังคงมีอาการแพ้ท้องหนักอยู่โดยเฉพาะในช่วงเช้า แต่พอเข้าสัปดาห์ที่ 14 คุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการดีขึ้น แต่ก็ยังเป็นๆ หายๆ อยู่ หากยังมีอาการแพ้อยู่ให้ลองทานแครกเกอร์ธัญพืช ทานมื้อละน้อย ๆ แต่แบ่งเป็นหลายมือแทน และลองดื่มน้ำขิงร้อนๆ ดูค่ะ จะพอบรรเทาอาการลงได้
  • คุณแม่จะเหนื่อยมากขึ้น อ่อนเพลียมากขึ้น เนื่องจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น จึงรู้สึกได้ว่าตัวเองทำอะไรช้าลง อืดอาดมากขึ้น
แม่โน้ต

คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนท้องที่อุ้ยอ้ายมากขึ้น เพราะความที่ทั้งเพลีย อยากนอน ถ้าคุณแม่ท่านไหนที่สามารถงีบหลับได้ก็ให้นอนพักนะคะ เพราะการพักผ่อนของแม่ตั้งครรภ์สำคัญมากค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 สัปดาห์

  • ความสูงของลูกจะอยู่ที่ 1.6 ซ.ม. อวัยวะทุกส่วนเริ่มเห็นชัดมากขึ้น โดยเฉพาะนิ้วมือ
  • ระบบทางเดินหายใจเริ่มต่อยาวจากลำคอไปที่ปอดได้แล้ว
  • เซลล์ประสาทต่าง ๆ ในสมองของทารกเริ่มมีการพัฒนาได้มากขึ้น

อาหารบำรุงครรภ์ 5 – 8 สัปดาห์

  • สารอาหารที่สำคัญสำหรับช่วงนี้คือ โปรตีน ที่มีมากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา เป็ด ไก่ ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้ นม โยเกิร์ต ชีส และพืชตระกูลถั่ว
  • ไม่ควรอดอาหารเด็ดขาดนะคะ เพราะคุณแม่บางรายมีอาการแพ้ท้องมาก และนาน จึงทำให้ไม่อยากอาหาร แต่ทางที่ดี ควรแบ่งอาหารเป็นหลายมื้อ มื้อละน้อย ๆ พร้อมกับจิบน้ำขิงอุ่น ๆ และดื่มน้ำผลไม้สดแทนค่ะ
  • เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ซึ่งจะช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการทางสมองที่ดี ฉลาด และระบบประสาทด้านการมองเห็นดี นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด ข้ออักเสบ โอเมก้า 3 จะอยู่ในอาหารจำพวก น้ำมันปลา
  • โฟเลตก็ยังคงต้องกินอยู่นะคะ กินอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำค่ะ

ช่วงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 5 – 8 นี้ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย อยากแต่จะนอนมากขึ้น เหตุเพราะฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนนั่นเอง อย่างที่บอกค่ะ การพักผ่อนของแม่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ได้ และสิ่งนี้จะส่งต่อไปยังลูกน้อยด้วยนะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

ตั้งครรภ์มาได้ 6 สัปดาห์แล้ว ทำไมรู้สึกอยากแต่จะนอนอย่างเดียว? ก็เพราะฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงนั่นเองค่ะ และยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีก ติดตามได้ที่นี่ คลิกเลย

บางครั้งรู้สึกเหมือนลูกสะอึก ไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า? อาการลูกสะอึก สามารถเกิดได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งครรภ์ค่ะ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่คุณแม่คิดไม่ถึงอีก คลิกที่นี่

การตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงในด้านไหนบ้าง? ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มหงุดหงิดง่าย อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ส่วนทารกในครรภ์จะพัฒนาไปอย่างไร ติดตามได้ที่นี่ คลิกเลยค่ะ

มดลูกบีบตัวเป็นระยะ ๆ เลย แบบนี้คือใกล้คลอดแล้วหรือยัง? บางครั้งการบีบตัวของมดลูกก็ไม่ได้แปลว่าจะคลอดเสมอไป ต้องมีอาการอื่นร่วมด้วย อาการที่ว่าคืออะไร คลิกที่นี่

ลูกจะเริ่มดิ้นสัปดาห์ที่เท่าไหร่? ทารกบางคนถ้าดิ้นแรงจนคุณแม่สามารถรับรู้ได้ก็จะเริ่มจากอายุครรภ์ที่... ติดตามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ตั้งครรภ์ได้ 13 สัปดาห์แล้ว แบบนี้ยังจะต้องกินโฟเลตอยู่ไหม? โฟเลต ควรกินเป็นประจำทุกวันค่ะ ปกติแพทย์จะให้คุณแม่มาอยู่แล้วหลังจากการฝากครรภ์ ยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกที่สำคัญ มีอะไรบ้าง คลิกที่นี่ค่ะ

ตั้งครรภ์ช่วงไหนนะที่เค้าเรียกว่ามีอาการบวมน้ำ จะใช่อาการครรภ์เป็นพิษหรือเปล่า? อาการบวมน้ำมกจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่.... ติดตามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก ต้องดูแลเรื่องอะไรมากเป็นพิเศษบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในการหยุดเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ไปดูกันค่ะ

ถ้ารู้สึกเจ็บท้อง แบบนี้คือจะคลอดจริงแล้วใช่ไหม? การเจ็บท้องก็คือการที่มดลูกมีการหดเกร็ง ซึ่งบางครั้งอาจแค่เป็นแค่การเจ็บเตือน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนเจ็บเตือน แบบไหนเจ็บจริง คลิกที่นี่

ลูกก็ใกล้คลอดแล้ว คงไม่ต้องบำรุงอะไรกันมากก็ได้มั้ง? คิดผิดถนัดเลยค่ะ อย่าลืมนะคะว่ากะโหลกของทารกนั้นยังไม่ปิดทั้งหมด ยังต้องการสารอาหารอีกมากมาย จะมีอะไรบ้าง คลิกที่นี่


แม่โน้ต

3,322,839 views

Mommy Blogger ที่มียอดวิวในเว็บไซต์ simplymommynote.net มากกว่า 200,000 วิว ต่อเดือน ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ Tradigital รักการเขียน มีลูกสาว และครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราว ชอบเรียนรู้เรื่องจิตวิทยา และสิ่งใหม่ ๆ IG : notepatsita Facebook

Profile

บทความแนะนำ